Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2559 AIS หยุดขายบัตรเติมเงินกับ 7/11 ถ้าเพิ่มเปอร์เซ็นต์ เอไอเอสม่เอา (จาก 5% เพิ่มเป็น 7%) เพราะ เอไอเอส ก็มีช่องทางอื่นๆเยอะมาก ที่ผ่านมาลูกค้าวัน-ทู-คอล เติมเงินผ่าน เซเว่นฯ คิดเป็นสัดส่วน 7% เท่านั้น แต่กว่า 10% เติมเงินผ่านช่องทางหลัก เติมเงินปกติ จากร้านค้า หรือ รีฟิลออนโมบาย อยู่ที่ 70% และเติมเงินผ่านจากพวกลูกตู้ เป็นต้น

ประเด็นหลัก



เซเว่นฯ หยุดขายกระทบหรือไม่

เป็นเรื่องของช่องทางการเติมเงินเป็นนโยบายของ เซเว่นฯ ไม่สั่งซื้อสินค้า ยังกล่าวไม่ได้ว่า เซเว่นฯ เป็นของ ทรู (บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) แม้ ทรู เป็นของ ซีพี หรือ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ซึ่ง เอไอเอส ไม่กังวลมากเพราะมีช่องทางเติมเงินมีถึง 5 แสนช่องทาง



ตอนนี้ก็มีการคุยกันเรื่อยๆ ก็ไ แต่ถ้าเพิ่มเปอร์เซ็นต์ เอไอเอสม่เอา (จาก 5% เพิ่มเป็น 7%) เพราะ เอไอเอส ก็มีช่องทางอื่นๆเยอะมาก ที่ผ่านมาลูกค้าวัน-ทู-คอล เติมเงินผ่าน เซเว่นฯ คิดเป็นสัดส่วน 7% เท่านั้น แต่กว่า 10% เติมเงินผ่านช่องทางหลัก เติมเงินปกติ จากร้านค้า หรือ รีฟิลออนโมบาย อยู่ที่ 70% และเติมเงินผ่านจากพวกลูกตู้ เป็นต้น




___________________________________________________________







‘เอไอเอส’ตัดขาด‘เซเว่นฯ’ ไม่กังวลหยุดขายวัน-ทู-คอล

ผ่านไปแล้วกว่า 1 เดือนเมื่อร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ตัดสินใจหยุดจำหน่ายบัตรเติมเงินวัน-ทู-คอล การหยุดขายครั้งนี้หลายคนตั้งข้อสังเกตว่ามีผลกระทบไม่มากก็น้อย


อย่างไรก็ตาม “ฐานเศรษฐกิจ” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาดของเอไอเอส ณ เมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง เอไอเอส ได้เชิญสื่อมวลชนกว่า 30 ฉบับ ซึ่งหนึ่งในนั้นมี “ฐานเศรษฐกิจ” รวมอยู่ด้วย เพื่อร่วมเดินทางไปสัมผัสประสบการณ์การมอบสิทธิพิเศษทางด้านการเดินทาง (AIS Trip) ให้ลูกค้าเอไอเอส ณ เมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ติดตามอ่านได้จากบรรทัดถัดจากนี้

เซเว่นฯ หยุดขายกระทบหรือไม่

เป็นเรื่องของช่องทางการเติมเงินเป็นนโยบายของ เซเว่นฯ ไม่สั่งซื้อสินค้า ยังกล่าวไม่ได้ว่า เซเว่นฯ เป็นของ ทรู (บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) แม้ ทรู เป็นของ ซีพี หรือ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ซึ่ง เอไอเอส ไม่กังวลมากเพราะมีช่องทางเติมเงินมีถึง 5 แสนช่องทาง

Advertisement

ตอนนี้ก็มีการคุยกันเรื่อยๆ แต่ถ้าเพิ่มเปอร์เซ็นต์ เอไอเอส ก็ไม่เอา (จาก 5% เพิ่มเป็น 7%) เพราะ เอไอเอส ก็มีช่องทางอื่นๆเยอะมาก ที่ผ่านมาลูกค้าวัน-ทู-คอล เติมเงินผ่าน เซเว่นฯ คิดเป็นสัดส่วน 7% เท่านั้น แต่กว่า 10% เติมเงินผ่านช่องทางหลัก เติมเงินปกติ จากร้านค้า หรือ รีฟิลออนโมบาย อยู่ที่ 70% และเติมเงินผ่านจากพวกลูกตู้ เป็นต้น

เติมผ่านตู้บุญเติมเยอะไหม

ตู้เติมเงินบุญเติม เป็นรายใหญ่ที่สุด แม้ ตู้บุญเติม ตั้งอยู่หน้า เซเว่นฯ แต่บริเวณใกล้เคียงของร้านเซเว่นฯ ห่างออกไป 500 เมตร มีตู้เติมเงินอื่น ๆ อีกกว่า 20 ยี่ห้อที่ลูกค้ายังสามารถเติมเงินได้

ลูกค้าที่เติมเงินไม่ได้ แต่ เอไอเอส มีจุดเติมเงินมากมาย เมื่อได้ยินว่า เอไอเอส ไม่สามารถเติมเงินได้ คิดว่ามีผลกระทบ แต่นั้นเป็นการตัดสินใจจากความรู้สึกมากกว่า ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่ามีผลกระทบหรือไม่อย่างไร

การแข่งขันในอนาคต

การแข่งขันรุนแรงต่อเนื่องอีกระยะภายในสิ้นปีนี้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4จี ของ เอไอเอส จะติดตั้งเครือข่าย 98% ครอบคลุมพื้นที่ประชากร แซงผู้ประกอบการทุกรายเดิม ทรูมูฟ เอช ติดตั้งไป 97%

แผนธุรกิจปีหน้า

งบประมาณตลาดปีละ 8,000 ล้านบาท แบ่งสัดส่วน 50% งบโฆษณาประชาสัมพันธ์ และ อีก 50% จัดกิจกรรมด้านการตลาดโดยเฉพาะเรื่องของโทรศัพท์เคลื่อนที่ และจะเพิ่มสัดส่วนโฆษณาออนไลน์จาก 10% เพิ่มเป็น 20%

ส่วนที่ 2 คือ ในปีหน้าการแข่งขันเน้นเรื่องคุณภาพ ดังนั้น เอไอเอส จะยกระดับให้บริการหน้าร้าน เช่น ร้านเทเลวิซ จะยกระดับขึ้นเป็นร้าน เอไอเอส จำนวน 250 ร้านค้าจากร้านเทเลวิซ ทั้งหมดจำนวนกว่า 400 ร้าน

วางเป้าหมาย 2 ปีข้างหน้าจะยกระดับให้เป็น “AIS shop” ให้ได้ทั้งหมด แต่ร้านเทเลวิซรอบนอกอาจจะคงชื่อเป็นเทเลวิซ เอาไว้ก่อนเพราะกลัวว่าหากยกระดับขึ้นไปภาพลักษณ์อาจจะสูงเกินไป ดังนั้นร้านเทเลวิซในเมืองจะยกระดับขึ้นไปก่อน

ส่วนที่ 3 คือ ร้านค้า เอไอเอส บัดดี้ เราจะเห็นตามต่างจังหวัด ร้านค้ารายย่อยที่เป็นแฟรนไชส์ ซึ่ง เอไอเอส บัดดี้ปกติเกิดจากคนทำร้านค้ามือถือ และเอามาอยู่ในโครงการ ตอนนี้มีประมาน 800 ร้าน ซึ่ง เทเลวิซช้อปนั้น ลงทุนประมาณ 2-3 ล้านบาท แต่ เอไอเอส บัดดี้ จำนวน 1 หมื่นบาท

นอกจากนี้แล้วในส่วนของระบบออนไลน์ เอไอเอส จะถูกเน้นให้เป็นช่องทางหลักเพิ่มมากขึ้น โดยจะสร้าง เอไอเอส แอพ ขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าไปสัมผัสและเลือกสินค้ารวมถึงโปรโมชันได้ด้วยตัวเอง

ยุทธศาสตร์เซเรเนดปี 2560

ขณะที่นางบุษยา สถิรพิพัฒน์กุล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานบริหารลูกค้าและการบริการ ของ เอไอเอส กล่าวว่า ในปี 2560 ได้งบประมาณปีละ 2,000 ล้านบาท จำนวนฐานลูกค้ามีทั้งหมด 40 ล้านรายแบ่งเป็น เอไอเอส เซเรเนด จำนวน 2,95 ล้านราย คิดเป็น 7% แบ่งเป็นลูกค้าแพลทินัม 3.4% ของ 2.95 ล้านรายหรือประมาณ 1 แสนราย, ลูกค้าระดับโกลด์จำนวน 1 ล้านราย และเซเรเนด เอมเมอรัลด์ จำนวน 1.85 ล้านราย ส่วนประเภทสินค้าที่ใช้มากที่สุด คือ กาแฟ , ภาพยนตร์ และ ที่จอดรถ เป็นต้น

บุษยา สถิรพิพัฒน์กุล
บุษยา สถิรพิพัฒน์กุล
ส่วนวิกฤติเรื่องคอลล์เซ็นเตอร์มีการนำข้อมูลลูกค้าไปเปิดเผย ทำให้ เอไอเอส ปรับข้อมูลลูกค้าไม่ให้พนักงานเห็นเลยปิดหมดเลย ซึ่งได้แก้ปัญหาไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกแน่นอน ปัจจุบันมีพนักงานคอลล์เซ็นเตอร์อยู่ที่ 3,000 คน

นอกจากนี้จะเปิดคอลล์เซ็นเตอร์เป็นแห่งที่ 2 ที่ จ.นครราชสีมา พื้นที่จำนวน 10 ไร่ เดิมคอลล์เซ็นเตอร์ที่ โคราช มี 2 แห่ง เหตุผลที่เปิดเพราะเป็นจังหวัดที่เจริญ ซึ่งพนักงานเอไอเอสอยากได้คนต่างจังหวัด และนักศึกษามหาวิทยาลัยสามารถทำงานได้ เปิดตัวเดือนกรกฎาคม ปีหน้า ลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท มีพนักงานประมาณ 1,000 คน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,218 วันที่ 15-17 ธันวาคม 2559

http://www.thansettakij.com/2016/12/14/119577

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.