Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤศจิกายน 2559 กสทช. เฮ! ศาลปกครองยกฟ้องคดี TRUE ฟ้องเพิกถอนคำสั่งห้ามกำหนดวันหมดอายุบริการพรีเพด โดยศาลชี้ กสทช.ได้มีการกำหนดเวลาเติมเงินไว้อยู่ชัดเจนแล้ว

ประเด็นหลัก
โดยศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า กสทช. มีอำนาจตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และมาตรา 51 วรรคหนึ่ง (10) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ออกประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีได้กำหนดรายการส่งเสริมการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจาก กทค. เป็นการล่วงหน้า ตามข้อ 11 ของประกาศดังกล่าว จึงเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไข และ กสทช. มีอำนาจกำหนดค่าปรับทางทางปกครองได้ ขณะที่ดุลพินิจในการกำหนดค่าปรับเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนค่าปรับทางปกครองกับประมาณการรายได้ของผู้ฟ้องคดีที่ได้รับจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะดังกล่าวแล้ว เห็นว่าเป็นมาตรการที่ไม่กระทบต่อผู้ฟ้องคดีจนเกินไป จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุที่จะต้องเพิกถอนแต่อย่างใด


_____________________________________________________________________ กสทช. เฮ! ศาลปกครองยกฟ้องคดีทรูมูฟฟ้องเพิกถอนคำสั่งห้ามกำหนดวันหมดอายุบริการพรีเพด
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2559 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในคดีที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ยื่นฟ้อง เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จำนวน 2 คดี


คดีแรก คดีหมายเลขดำที่ 55/2556 คดีหมายเลขแดงที่ 2168/2559 ระหว่าง บริษัท ทรู มูฟ จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) กับ เลขาธิการ กสทช. (ผู้ถูกฟ้องคดี) เพื่อขอเพิกถอนคำสั่งกำหนดค่าปรับทางปกครอง ลว. 31 พ.ค. 2555 ที่เรียกเก็บค่าปรับจากบริษัทวันละ 1 แสนบาท จากกรณีที่ฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ที่ระบุว่า การให้บริการโทรคมนาคมในลักษณะที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการเป็นการล่วงหน้า(บริการแบบพรีเพด) จะต้องไม่มีข้อกำหนดอันมีลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่ผู้ให้บริการจะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเป็นการล่วงหน้า

โดยศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า กสทช. มีอำนาจตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และมาตรา 51 วรรคหนึ่ง (10) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ออกประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีได้กำหนดรายการส่งเสริมการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจาก กทค. เป็นการล่วงหน้า ตามข้อ 11 ของประกาศดังกล่าว จึงเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไข และ กสทช. มีอำนาจกำหนดค่าปรับทางทางปกครองได้ ขณะที่ดุลพินิจในการกำหนดค่าปรับเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนค่าปรับทางปกครองกับประมาณการรายได้ของผู้ฟ้องคดีที่ได้รับจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะดังกล่าวแล้ว เห็นว่าเป็นมาตรการที่ไม่กระทบต่อผู้ฟ้องคดีจนเกินไป จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุที่จะต้องเพิกถอนแต่อย่างใด

คดีที่สอง คดีหมายเลขดำที่ 706/2555 คดีหมายเลขแดงที่ 2167/2559 ระหว่าง บริษัท ทรู มูฟ จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) กับ เลขาธิการ กสทช. และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเลขาธิการ กสทช. ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ทช 7300/3825 ลงวันที่ 25 เมษายน 2554 เรื่อง การห้ามผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้ากำหนดรายการส่งเสริมการขายในลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด และเพิกถอนมติของ กทค. เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 ที่มีมติยืนตามคำสั่งของเลขาธิการ กสทช. ที่ให้ผู้ฟ้องคดีระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนและปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 8 กันยายน 2549

คดีดังกล่าวศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า ตามมาตรา 51 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ให้อำนาจ กสทช. ในการออกประกาศกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของสัญญาและเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้บริการโทรคมนาคม ย่อมทำให้ผู้ให้บริการไม่อาจกำหนดข้อสัญญาให้บริการอันมีลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องเร่งรีบใช้บริการภายในกำหนดเวลา อันอาจทำให้ต้องใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เกินความจำเป็น ตามเจตนารมณ์ให้การประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นกิจการที่จะต้องมีการกำกับดูแลโดยองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระเพื่อให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมและคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการ จึงเป็นการออกประกาศโดยชอบด้วยกฎหมาย

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1477567777

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.