Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤศจิกายน 2559 รัฐเห็นชอบร่างแผนดิจิทัล ขับเคลื่อนเห็นผลใน 5 ปี ตั้งเป้าให้หมู่บ้านในประเทศไทย เข้าถึงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไม่น้อยกว่า 93%

ประเด็นหลัก
นอกจากนี้พล.อ.อ.ประจิน ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการฯ กำหนดไว้ 4 ส่วน คือ 1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ก้าวทันเวทีโลก โดยให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาสูงสุด 25 อันดับแรก มีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีให้ดีขึ้นเป็น 35 อันดับแรก และสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิตอลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 18.2% ส่วนที่ 2 คือ ตั้งเป้าให้หมู่บ้านในประเทศไทย เข้าถึงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไม่น้อยกว่า 93% , 3ใ มีการพัฒนาทุนมนุษย์สู่ยุคดิจิตอล โดยประชาชนทุกคน 50% มีความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ สัดส่วนการจ้างงานบุคลากรด้านดิจิตอลต่อการจ้างงานทั้งหมดเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า3% และ 4. ปฏิรูปภาครัฐเปิดเผยข้อมูลภาครัฐดีขึ้นจะทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่การเป็นดิจิตอลไทยแลนด์และไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างเต็มรูปแบบ
_____________________________________________________________________ รัฐเห็นชอบร่างแผนดิจิทัล ขับเคลื่อนเห็นผลใน 5 ปีหวังรองรับไทยแลนด์4.0

คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารายยุทธศาสตร์ ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี เน้นเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันพัฒนาทุนมนุษย์สู่ยุคดิจิตอล ปฏิรูปภาครัฐเพื่อก้าวสู่การเป็นดิจิตอลไทยแลนด์อย่างเต็มรูปแบบ


พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดท.)เปิดเผยเกี่ยวกับการนำเสนอ (ร่าง) แผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารายยุทธศาสตร์ ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2560-2564) ต่อที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ครั้งที่ 2/2559 โดยมี พล.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐเป็นประธานว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารายยุทธศาสตร์ของประเทศในระยะยาว 20 ปี ไปสู่การปฏิบัติในระยะ 5 ปี และจะใช้เป็นแผนอ้างอิงสำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ในการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิตอลของหน่วยงานและจัดทำคำของบประมาณประจำปีต่อไป

อย่างไรก็ตามแผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นโดยมีกระบวนการจัดทำ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารายยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่มีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วน ซึ่งได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาชน เพื่อกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และกิจกรรมขับเคลื่อนของแผนปฏิบัติการ 2. การวิเคราะห์ระบบนิเวศรายยุทธศาสตร์ เพื่อระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ เป็นต้น, 3. การรวบรวมข้อมูลโครงการได้ขอความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอิสระดำเนินการรายงานข้อมูล, 4. การกำหนด (ทอน) เป้าหมาย จากเป้าหมายระยะ 10 ปีตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สู่เป้าหมายระยะ 5 ปี ของแผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้ และ 5) การกำหนดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารายยุทธศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลที่หน่วยงานต่างๆ ส่งเข้ามาวิเคราะห์ช่องว่างของสิ่งที่ต้องดำเนินการ และบูรณาการกิจกรรมเพื่อลดความซ้ำซ้อนของการลงทุนด้วยเงินงบประมาณเป็นต้น

นอกจากนี้พล.อ.อ.ประจิน ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการฯ กำหนดไว้ 4 ส่วน คือ 1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ก้าวทันเวทีโลก โดยให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาสูงสุด 25 อันดับแรก มีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีให้ดีขึ้นเป็น 35 อันดับแรก และสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิตอลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 18.2% ส่วนที่ 2 คือ ตั้งเป้าให้หมู่บ้านในประเทศไทย เข้าถึงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไม่น้อยกว่า 93% , 3ใ มีการพัฒนาทุนมนุษย์สู่ยุคดิจิตอล โดยประชาชนทุกคน 50% มีความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ สัดส่วนการจ้างงานบุคลากรด้านดิจิตอลต่อการจ้างงานทั้งหมดเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า3% และ 4. ปฏิรูปภาครัฐเปิดเผยข้อมูลภาครัฐดีขึ้นจะทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่การเป็นดิจิตอลไทยแลนด์และไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างเต็มรูปแบบ

Advertisement
นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้รับทราบสถานะและความคืบหน้าเรื่องต่างๆ อาทิ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์2559 ที่แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนขององค์ประกอบคณะกรรมการฯ พร้อมทั้งแจ้งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ (พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง) และแต่งตั้งผู้ทรงวุฒิในคณะกรรมการฯ จำนวน 8 ราย การรายงานความก้าวหน้าของกฎหมาย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,207 วันที่ 6 – 9 พฤศจิกายน 2559

http://www.thansettakij.com/2016/11/05/111584

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.