Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤศจิกายน 2559 กสทช.แนะควรตั้งหน่วยงานดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ โดยต้องเร่ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องดำเนินการทั้ง 2 ส่วน คือ 1.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมแบบมีสาย ผ่านสายไฟเบอร์ ออปติก ทั้งระดับคอร์ เน็ตเวิร์ก และลาส ไมล์ 2.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมไร้สายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

ประเด็นหลัก
นายฐากร กล่าวว่า ในการผลักดันให้ประเทศไทยมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรม ต้องอาศัยการประสานความร่วมมือและฉันทมติร่วมกัน (Commitment) ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยต้องยอมรับว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังหลอมรวมโลกในแบบเดิมๆ ให้กลายเป็นโลกดิจิทัลที่ทุกภาคส่วนมีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้น การพัฒนาประเทศในยุคดิจิทัลอย่างมีทิศทาง ทุกภาคส่วนต้องดึงศักยภาพและจุดแข็งของตนออกมาปรับใช้แบบบูรณาการอย่างเป็นระบบ และที่สำคัญต้องยึดถือเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันในการเดินหน้าประเทศไทย
“คำถามคือ วันนี้ประเทศไทยพร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง มีพื้นที่เพียงพอให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดอนาคตของประเทศเพื่อให้เผชิญหน้าต่อความเปลี่ยนแปลง และเพิ่มศักยภาพของตนเองให้ชาญฉลาดเท่าทันนวัตกรรมหรือไม่ และเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างเต็มศักยภาพหรือยัง ซึ่งสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นหัวใจสำคัญของการมุ่งสู่ความสำเร็จ คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้แข็งแรง และครอบคลุมมากที่สุด”
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องดำเนินการทั้ง 2 ส่วน คือ 1.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมแบบมีสาย ผ่านสายไฟเบอร์ ออปติก ทั้งระดับคอร์ เน็ตเวิร์ก และลาส ไมล์ 2.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมไร้สายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งจำเป็นต้องยกระดับความเร็วการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เร็วขึ้นจากเดิม 10 เท่า มีความเสถียร และครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทั่วประเทศด้วยราคาที่เหมาะสม ซึ่งแน่นอนว่าเพื่อเป็นการรองรับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น และให้เกิดความครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ แต่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็เพื่อให้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทยมีมาตรฐานสากล และไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรม และธุรกิจดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ ของผู้ประกอบการรุ่นใหม่
____________________________________ กสทช.แนะควรตั้งหน่วยงานดูแลความปลอดภัยไซเบอร์

“ฐากร” แนะตั้งหน่วยงานดูแลข้อมูลส่วนบุคคลและหน่วยงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ให้ภาคธุรกิจ และประชาสังคมมีส่วนร่วมในการดำเนินการ เชื่อจะเป็นปัจจัยหนุนไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างแท้จริง ชี้หัวใจสำคัญต้องเร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้แข็งแรง และครอบคลุมมากที่สุดทั้งแบบมีสาย และไร้สาย
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การจะทำให้ประเทศขับเคลื่อนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ หรือก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างแท้จริง ภาครัฐ และเอกชนจะต้องร่วมกันหาจุดสมดุลระหว่างการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยอาจดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและหน่วยงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security Agency : CSA) ที่จะต้องมีความเป็นอิสระ และคล่องตัวในการบริหารจัดการ ตลอดจนจะต้องมีกลไกให้ภาคธุรกิจ และประชาสังคมมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้บริการดิจิทัลให้แก่ผู้ใช้บริการ
โดยส่วนตัวเป้าหมายหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม คือ การมุ่งสู่การปรับเปลี่ยนประเทศไทยให้มีความโดดเด่นด้านการเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม เช่นเดียวกับในหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นประเทศนวัตกรรมอันดับต้นๆ ของโลกมาอย่างยาวนาน อันเนื่องมาจากภาครัฐส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในสินค้าและบริการที่สร้างสรรค์ (Creative goods and services) ที่มุ่งเน้นนวัตกรรมที่มีคุณภาพ มากกว่าปริมาณนวัตกรรมที่ผลิตได้
ในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศในลักษณะดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน เช่น ความมีประสิทธิภาพของรัฐบาล ความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ การใช้งบประมาณด้านการศึกษาในระดับต่างๆ สาขาวิชาต่างๆ และการวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้อง การสร้างสรรค์รูปแบบธุรกิจด้านไอซีที สัดส่วนรายได้ของประเทศจากสินค้า และบริการด้านวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ สัดส่วนการลงทุนที่เกิดจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน จำนวนธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้น และการเข้าถึงและใช้บริการไอซีทีผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้นักคิดนักพัฒนาเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อผลิตนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการแข่งขันในระบบนิเวศของไอซี ทีอย่างเหมาะสม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน สู่ความสามารถในการแข่งขันกับภายนอก ทำให้ทุกคนก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้โดยที่ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังเพียงลำพัง
นายฐากร กล่าวว่า ในการผลักดันให้ประเทศไทยมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรม ต้องอาศัยการประสานความร่วมมือและฉันทมติร่วมกัน (Commitment) ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยต้องยอมรับว่าปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังหลอมรวมโลกในแบบเดิมๆ ให้กลายเป็นโลกดิจิทัลที่ทุกภาคส่วนมีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้น การพัฒนาประเทศในยุคดิจิทัลอย่างมีทิศทาง ทุกภาคส่วนต้องดึงศักยภาพและจุดแข็งของตนออกมาปรับใช้แบบบูรณาการอย่างเป็นระบบ และที่สำคัญต้องยึดถือเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันในการเดินหน้าประเทศไทย
“คำถามคือ วันนี้ประเทศไทยพร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง มีพื้นที่เพียงพอให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดอนาคตของประเทศเพื่อให้เผชิญหน้าต่อความเปลี่ยนแปลง และเพิ่มศักยภาพของตนเองให้ชาญฉลาดเท่าทันนวัตกรรมหรือไม่ และเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างเต็มศักยภาพหรือยัง ซึ่งสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นหัวใจสำคัญของการมุ่งสู่ความสำเร็จ คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้แข็งแรง และครอบคลุมมากที่สุด”
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องดำเนินการทั้ง 2 ส่วน คือ 1.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมแบบมีสาย ผ่านสายไฟเบอร์ ออปติก ทั้งระดับคอร์ เน็ตเวิร์ก และลาส ไมล์ 2.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมไร้สายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งจำเป็นต้องยกระดับความเร็วการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เร็วขึ้นจากเดิม 10 เท่า มีความเสถียร และครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทั่วประเทศด้วยราคาที่เหมาะสม ซึ่งแน่นอนว่าเพื่อเป็นการรองรับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น และให้เกิดความครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ แต่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็เพื่อให้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทยมีมาตรฐานสากล และไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรม และธุรกิจดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ ของผู้ประกอบการรุ่นใหม่

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000107358&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+27-10-59&utm_campaign=20161026_m135131775_MGR+Morning+Brief+27-10-59&utm_term=_E0_B8_81_E0_B8_AA_E0_B8_97_E0_B8_8A__E0_B9_81_E0_B8_99_E0_B8_B0_E0_B8_84_E0_B8_A7_E0_B8_A3_E0_B8_95

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.