Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 ED ตั้ง กรอบเวลาตามแผนงาน คือจะตั้ง NBN Co ให้ได้ภายในปีนี้ และนำทรัพย์สินโครงข่ายร่วมของทีโอทีและแคทเข้ามารวมได้ในปีหน้า ก่อนเริ่มขยายโครงข่ายเพิ่ม โดยได้รับเงินสนับสนุนการลงทุนจากรัฐบาล ตั้งเป้าให้พื้นที่บริการบรอดแบนด์ครอบคลุม 95% ของประชากรในปี 2563

ประเด็นหลัก


ขณะที่ทรัพย์สินที่จะนำมารวมตั้งเป็น NBN Co นั้น จะมาจากในส่วนของกระทรวงดีอี คือโครงข่ายอินเทอร์เน็ตหมู่บ้าน มูลค่า 15,000 ล้านบาท กับส่วนของโครงข่ายภายในประเทศของ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคมที่จะต้องนำมารวมกันตามมติของคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่ให้ทั้ง 2 บริษัท รวมทรัพย์สินตั้งบริษัทร่วมทุนกัน เพื่อให้เกิดการบูรณาการโครงข่าย โดย NBN Co จะทำธุรกิจค้าส่งโครงข่ายในประเทศ ในลักษณะโอเพ่นแอ็กเซส ที่ผู้ให้บริการทุกรายเข้ามาเชื่อมต่อเพื่อนำไปให้บริการลูกค้ารายย่อยได้ โดยจะมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้กำกับราคาค่าเช่า เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดหรือเอาเปรียบกับผู้ประกอบการ


สำหรับกรอบเวลาตามแผนงาน คือจะตั้ง NBN Co ให้ได้ภายในปีนี้ และนำทรัพย์สินโครงข่ายร่วมของทีโอทีและแคทเข้ามารวมได้ในปีหน้า ก่อนเริ่มขยายโครงข่ายเพิ่ม โดยได้รับเงินสนับสนุนการลงทุนจากรัฐบาล ตั้งเป้าให้พื้นที่บริการบรอดแบนด์ครอบคลุม 95% ของประชากรในปี 2563 ด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 30 Mbps และเพื่อให้การดำเนินการของ NBN Co ยั่งยืน จะต้องเปิดรับการระดมทุนจากภาคเอกชน อาทิ การตั้งเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ควรเป็นโมเดลที่รัฐจะถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51%






________________________________________


ตั้งกองทุนดิจิทัลไทยแลนด์2หมื่นล. ฟื้นบรอดแบนด์แห่งชาติรวมเน็ตเวิร์กทีโอที-แคท

กระทรวง "ดีอี" ประเดิมโครงการเร่งด่วนตั้งกองทุนดิจิทัลไทยแลนด์ 2 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าระดมทุนปี 60 ดึงโครงข่ายเน็ตหมู่บ้านเป็นทุนตั้งต้น เตรียมสรุปผลการศึกษาของ "ดีลอยท์ฯ" ปั้นโมเดล "NBN Co" รวบโครงข่ายบรอดแบนด์ "ทีโอที-แคท" ตามมติ คนร. ร่วมแจม ปักธง "ปตท." เป็นต้นแบบบริหารงาน

นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไทยแลนด์ เป็นหนึ่งในโครงการเร่งด่วนที่กระทรวงดีอีต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จภายใน 1 ปี 6 เดือนจากนี้ เนื่องจากการตั้งกองทุนได้ระบุไว้ใน พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งขณะนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กำลังพิจารณา ซึ่งกองทุนนี้จะนำการลงทุนของภาครัฐในอดีตที่เป็นทรัพย์สินของ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม เข้ามาเป็นทรัพย์สินของกองทุน แต่ในเบื้องต้นจะใช้โครงการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านกับโครงการยกระดับเกตเวย์ระหว่างประเทศ รวมงบประมาณทั้งปี 2559 และปี 2560 รวมกันราว 20,000 ล้านบาท เป็นประเดิมก่อน เพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่เอกชนสามารถเข้ามาร่วมได้ เพราะงบประมาณภาครัฐไม่ได้มีมาก การระดมทุนเพื่อนำมาสร้างขยายโครงข่ายต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษา "ดีลอยท์ฯ" ทำแผนโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติอยู่ คาดว่าปีหน้าจะเปิดระดมทุนได้

ด้านนายวิษณุ ชุติมาชูทิศ ผู้จัดการอาวุโส บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ที่ปรึกษา จำกัด เปิดเผยว่า ผลจากการศึกษาโครงการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ในประเทศไทยและโครงการสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติ ตามที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวง พบว่า โมเดลที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติในประเทศไทย คือการตั้งองค์กรกลางจัดการโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติ (NBN Co) ที่จะมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่มีการบริหารจัดการพิเศษเพื่อไม่ให้มีข้อจำกัดในการบริหารงานตามกฎระเบียบของภาครัฐที่อาจจะเป็นอุปสรรคในการขยายโครงข่าย โดยมี บมจ.ปตท.เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการ

ขณะที่ทรัพย์สินที่จะนำมารวมตั้งเป็น NBN Co นั้น จะมาจากในส่วนของกระทรวงดีอี คือโครงข่ายอินเทอร์เน็ตหมู่บ้าน มูลค่า 15,000 ล้านบาท กับส่วนของโครงข่ายภายในประเทศของ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคมที่จะต้องนำมารวมกันตามมติของคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่ให้ทั้ง 2 บริษัท รวมทรัพย์สินตั้งบริษัทร่วมทุนกัน เพื่อให้เกิดการบูรณาการโครงข่าย โดย NBN Co จะทำธุรกิจค้าส่งโครงข่ายในประเทศ ในลักษณะโอเพ่นแอ็กเซส ที่ผู้ให้บริการทุกรายเข้ามาเชื่อมต่อเพื่อนำไปให้บริการลูกค้ารายย่อยได้ โดยจะมีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้กำกับราคาค่าเช่า เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดหรือเอาเปรียบกับผู้ประกอบการ

สำหรับกรอบเวลาตามแผนงาน คือจะตั้ง NBN Co ให้ได้ภายในปีนี้ และนำทรัพย์สินโครงข่ายร่วมของทีโอทีและแคทเข้ามารวมได้ในปีหน้า ก่อนเริ่มขยายโครงข่ายเพิ่ม โดยได้รับเงินสนับสนุนการลงทุนจากรัฐบาล ตั้งเป้าให้พื้นที่บริการบรอดแบนด์ครอบคลุม 95% ของประชากรในปี 2563 ด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 30 Mbps และเพื่อให้การดำเนินการของ NBN Co ยั่งยืน จะต้องเปิดรับการระดมทุนจากภาคเอกชน อาทิ การตั้งเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ควรเป็นโมเดลที่รัฐจะถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51%

"ทีมวิจัยได้เปิดรับฟังความเห็นสาธารณะครบถ้วนตามข้อกำหนดของกระทรวงแล้ว จากนี้จะสรุปผลการศึกษา และทางกระทรวงจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเห็นด้วยกับโมเดลนี้มากน้อยแค่ไหน"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1474721349

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.