Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 ขั้นตอนของการยกร่าง พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระ 2 ซึ่งเป็นการพิจารณาเป็นรายมาตรา และกำลังขอขยายเวลาการพิจารณาออกไปเป็นรอบที่ 3

ประเด็นหลัก




พล.อ.ต.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการกสทช. เปิดเผยว่า ขั้นตอนของการยกร่าง พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระ 2 ซึ่งเป็นการพิจารณาเป็นรายมาตรา และกำลังขอขยายเวลาการพิจารณาออกไปเป็นรอบที่ 3

สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่ ที่จะมีผลกระทบกับสำนักงาน กสทช. จะมีในส่วนของการกำหนดให้นำเงินรายได้ที่เกิดจากการประมูลคลื่นความถี่ และรายได้ประจำของสำนักงาน กสทช. ที่มาจากเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ 25% นำส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่จะตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช. เช่นกัน)






_________________________________________






สำนักงาน กสทช. ยันร่าง พ.ร.บ.ใหม่ ยังคงให้เป็นหน่วยงานอิสระตามที่ รธน. กำหนด



ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อช่วงเช้าวันที่ 4 ต.ค. 2559 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) จัดเสวนา “เปิดร่าง พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่ กับอนาคตของสำนักงาน กสทช.”

พล.อ.ต.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการกสทช. เปิดเผยว่า ขั้นตอนของการยกร่าง พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระ 2 ซึ่งเป็นการพิจารณาเป็นรายมาตรา และกำลังขอขยายเวลาการพิจารณาออกไปเป็นรอบที่ 3

สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่ ที่จะมีผลกระทบกับสำนักงาน กสทช. จะมีในส่วนของการกำหนดให้นำเงินรายได้ที่เกิดจากการประมูลคลื่นความถี่ และรายได้ประจำของสำนักงาน กสทช. ที่มาจากเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ 25% นำส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่จะตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช. เช่นกัน)

ทั้งนี้ การดำเนินงานของ กสทช. จะต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แต่ยังคงความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านการลงประชามติ

ขณะที่ส่วนอื่นๆ จะเกี่ยวข้องกับบอร์ด กสทช. อาทิ กระบวนการสรรหา จำนวนคณะกรรมการที่จะเหลือ 7 คน จากเดิมที่มี 11 คน และรวมการทำงานเป็นบอร์ดชุดเดียว ไม่ต้องแยกฝั่งกิจการโทรคมนาคมและบรอดแคสต์เหมือนในปัจจุบัน


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1475558804

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.