Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กันยายน 2559 บริษัท อาร์เอฟอี เซอร์วิส จำกัด เปิดเผยว่า บริษัททำธุรกิจรับส่งสินค้าให้กับกลุ่มธุรกิจสื่อสาร เช่น เอไอเอส,ดีแทค,ทรู และ เจมาร์ท รวมไปถึงกลุ่มไอที และ สถาบันการเงิน เป็นต้น มีศูนย์กระจายสินค้า 30 แห่งทั่วประเทศ มีรถขนส่ง 60 ล้อจำนวน 100 คัน ,4 ล้อจำนวน 400 คัน และ มอเตอร์ไซค์จำนวน 50 คัน

ประเด็นหลัก



ขณะที่ นายนริศ พิมพา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อาร์เอฟอี เซอร์วิส จำกัด เปิดเผยว่า บริษัททำธุรกิจรับส่งสินค้าให้กับกลุ่มธุรกิจสื่อสาร เช่น เอไอเอส,ดีแทค,ทรู และ เจมาร์ท รวมไปถึงกลุ่มไอที และ สถาบันการเงิน เป็นต้น
นอกจากนี้บริษัทยังมี “ปอลอ” ทำหน้าที่รับส่งสินค้าให้กับผู้บริโภคทั่วประเทศ มีสาขา 40 แห่ง ส่วน อาร์เอฟอี มีศูนย์กระจายสินค้า 30 แห่งทั่วประเทศ มีรถขนส่ง 60 ล้อจำนวน 100 คัน ,4 ล้อจำนวน 400 คัน และ มอเตอร์ไซค์จำนวน 50 คัน ปริมาณรับ-ส่งอยู่ที่ 3 หมื่นชิ้นต่อวันแบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรม 80% และ ประชาชนทั่วไป 20%


“การแข่งขันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจัยเกิดจากธุรกิจมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกลยุทธ์ของเราคือเน้นคุณภาพและบริการ ไม่กลัวคู่แข่งเพราะอยู่ในธุรกิจนี้มานานนับกว่า 10 ปี ปีนี้ตั้งเป้ารายได้ที่ 400 ล้านบาท ”




_________________________






ธุรกิจโลจิสติกส์แข่งเดือด กลุ่มทุนไทยวิ่งสู้ฟัดต่างชาติ



ถึงตอนนี้ต้องบอกว่าการแข่งขันธุรกิจโลจิสติกส์กำลังแข่งขันกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาของ “เคอรี่ เอ็กซ์เพรส” ทำให้กลุ่มทุนไทยต้องปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับ-ส่ง พัสดุภัณฑ์ รายใหญ่ในประเทศต้องปรับตัว ไม่ต่างกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ เช่นเดียวกัน


ธุรกิจที่ให้บริการรับ-ส่งสินค้า
ธุรกิจที่ให้บริการรับ-ส่งสินค้า
ปี 60 ปณท ลุยเต็มสูบ

เป็นเพราะ ปณท มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ในตลาดโลจิสติกส์ โดยผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 2559 ปรากฏว่า ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรก ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน ไปรษณีย์ไทยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 12,200 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,677 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 ถึง 22.6% โดยการเติบโตส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้เป็นอันดับ 1 คือ 42% ขณะที่ธุรกิจบริการไปรษณียภัณฑ์มีสัดส่วนรายได้ 37 % ธุรกิจบริการระหว่างประเทศมีรายได้ 14 % และธุรกิจค้าปลีกและการเงิน 6% ส่วนสิ้นปีมีรายได้อยู่ที่ 24,300 ล้านบาท และ ผลกำไรสุทธิประมาณ 3,000 ล้านบาท

ขณะที่ นางสมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปณท กล่าวว่า ภายในปี 2560 ไปรษณีย์ไทยได้วางแผนออกผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่เพิ่มเติม อาทิ บัตรเดบิตภายใต้ชื่อ “Thailand Post Card ” แต่ขณะนี้ได้เริ่มทดสอบการส่ง อี-เอ็มเอส แบบ ว+1 (ส่งวันนี้ไม่ว่าจะกี่โมงปลายทางได้รับของในวันรุ่งขึ้น) ที่จังหวัดเชียงใหม่ และ เตรียมขยายขอบเขตมายังพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภายในไตรมาสที่ 4


ไม่เพียงเท่านี้เตรียมเปิดตัวแอพพลิเคชันภายใต้ชื่อพร้อมโพสต์ เป็นแอพพลิเคชันฝากส่ง-ล่วงหน้า และ เมสเซนเจอร์ โพสต์ (Messenger Post) ลูกค้าสามารถเรียกใช้บริการรับของฝากและส่งล่วงหน้า เพื่อเชื่อมผู้ประกอบการทางด้านอี-คอมเมิร์ซ ที่จำหน่ายสินค้าผ่านอินสตาแกรม หรือ ไอจี และ เฟซบุ๊ก โดยจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และ จัดการกล่องพร้อมส่งราคาเริ่มต้นใบละ 40 บาทบวกเพิ่มปริมาณน้ำหนักเป็นต้น

“เราอย่าไปกลัวเราแข่งด้วยบริการ แม้คู่แข่งจะรุกหนักตลาดในพื้นที่กรุงเทพฯ ก็ตามแต่ไปรษณีย์ไทยมีศูนย์บริการทั่วประเทศ 1,300 แห่ง”

นิ่มซี่เส็งฯปรับโครงสร้าง

ส่วนทางด้าน นิ่มซี่เส็ง ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขนส่งและกระจายสินค้ารายใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้มีการปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันเช่นเดียวกัน โดยนางปิยะนุช สัมฤทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิ่มซี่เส็ง โลจิสติกส์ จำกัด เปิดเผยว่า ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ บจก.นิ่มซี่เส็งขนส่ง 1988 ให้บริการขนส่งและกระจายสินค้า 8 จังหวัดภาคเหนือ , 2.บจก.นิ่มซี่เส็งโลจิสติกส์ ให้บริการขนส่งและกระจายสินค้า”ทั่วประเทศไทย”และให้บริการเป็นที่ปรึกษาการลดต้นทุนการขนส่ง และ 3.บจก.นิ่มซี่เส็งเอกซ์เพรส ให้บริการขนส่งและกระจายสินค้าด่วน ทั่วประเทศไทย

” เราทำหลากหลายธุรกิจเพราะต้นกำเนิดธุรกิจของ นิ่มซี่เส็ง มาจากงานด้านขนส่ง และ กระจายสินค้า และได้พัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง”

พร้อมสู้ศึก

นางปิยะนุช ยังกล่าวต่ออีกว่า การปรับโครงสร้างทั้ง 3 บริษัทครั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า หากบริษัททำให้ลูกค้าพึงพอใจได้ก็สามารถแข่งขันได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ การบริการต้องตามทันกับความต้องการของลูกค้าเสมอ

ส่วนสินค้าที่รับส่งแบบอีเอ็มเอสนั้นลูกค้าจะได้รับภายใน 1 วัน หากส่งในพื้นที่เดียวกันเพื่อแข่งกับคูแข่งอย่าง เคอรี่เอ็กซ์เพรสโดยตรง ขณะที่ปริมาณสินค้าที่รับ-ส่ง แต่ละวันจำนวน 2 พันตัน มีรถขนส่งจำนวนทั้งสิ้น 1 พันคัน

“จุดแข็งของเรา คือ ชื่อเสียง ,ความรับผิดชอบ ,การสร้างบริการใหม่ๆและสุดท้าย คือ ความสามารถในการยืดหยุ่นการทำงานให้กับลูกค้า ส่วนบริษัทต่างชาติรูปแบบการบริการถูกกำหนดจากบริษัทแม่ ดังนั้นเทคนิคการบริการ ลูกเล่นการขายเพื่อตอบการแข่งขันให้เหมาะกับลูกค้าท้องถิ่นอาจจะแพ้ผู้ประกอบการท้องถิ่น”

ขณะที่รายได้ครึ่งปีแรกนั้นไม่เติบโตขึ้น แต่ยังโชคดีราคาน้ำมันไม่แกว่งตัวมากนักแต่ขณะนี้ราคาน้ำมันเริ่มปรับตัวขึ้นเริ่มมีความกังวลเหมือนกัน ขณะที่สิ้นปีตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ตัวเลข 2 หลัก

ยุคทองโลจิกติกส์

นางปิยะนุช ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ปีนี้ถือว่าเป็นยุคทองของธุรกิจโลจิกติกส์ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไป เนื่องจากสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ หรือ อี-คอมเมิร์ซเพิ่มมากขึ้นตามลำดับทำให้ธุรกิจขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นภายในปีนี้บริษัทเตรียมพัฒนาแอพพลิเคชันขึ้นมาเพื่อรองรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

“พฤติกรรมผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนแปลงไป สั่งซื้อสินค้าผ่านไลน์ และ เฟซบุ๊กฯ จึงเป็นที่มาที่เราต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี”

แข่งขันของอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์เรียกได้ว่าเป็น extreme red ocean (การแข่งขันรุนแรง) ในอดีตเพราะการกำเนิดผู้ประกอบการนั้นง่ายเกินไปทำให้เกิด supply (การจัดหา) มากขึ้นเรื่อยๆแต่คุณภาพแตกต่างกันมากมายส่วนที่เกิดใหม่ก็เกิดไป ส่วนที่ตายก็ตายไปส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการของอุตสาหกรรมฯเพราะมุ่งเน้นแต่สร้างสงครามราคาปัจจุบัน ผู้ประกอบการไทยนอกจากจะแข่งขันกันเองแล้วยังมีคู่แข่งหน้าใหม่ๆและหน้าเก่าๆที่แข่งขันกันมานานมากแล้วด้วย

ดังนั้นในอนาคตหากผู้ประกอบการยังให้บริการรูปแบบเดิมๆ ด้วยเครื่องมือเดิมๆ ไม่มีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานย่อมส่งผลต่ออนาคตคือ องค์กรเหล่านั้นอาจเป็นได้แค่ subcontractor (ผู้รับเหมาช่วง) หรือเลิกกิจการไป

รายเล็กไม่หวั่น

ขณะที่ นายนริศ พิมพา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อาร์เอฟอี เซอร์วิส จำกัด เปิดเผยว่า บริษัททำธุรกิจรับส่งสินค้าให้กับกลุ่มธุรกิจสื่อสาร เช่น เอไอเอส,ดีแทค,ทรู และ เจมาร์ท รวมไปถึงกลุ่มไอที และ สถาบันการเงิน เป็นต้น
นอกจากนี้บริษัทยังมี “ปอลอ” ทำหน้าที่รับส่งสินค้าให้กับผู้บริโภคทั่วประเทศ มีสาขา 40 แห่ง ส่วน อาร์เอฟอี มีศูนย์กระจายสินค้า 30 แห่งทั่วประเทศ มีรถขนส่ง 60 ล้อจำนวน 100 คัน ,4 ล้อจำนวน 400 คัน และ มอเตอร์ไซค์จำนวน 50 คัน ปริมาณรับ-ส่งอยู่ที่ 3 หมื่นชิ้นต่อวันแบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรม 80% และ ประชาชนทั่วไป 20%

“การแข่งขันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจัยเกิดจากธุรกิจมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกลยุทธ์ของเราคือเน้นคุณภาพและบริการ ไม่กลัวคู่แข่งเพราะอยู่ในธุรกิจนี้มานานนับกว่า 10 ปี ปีนี้ตั้งเป้ารายได้ที่ 400 ล้านบาท ”

นักวิชาการชี้หนีการแข่งขันไม่พ้น

อย่างไรก็ตาม “ฐานเศรษฐกิจ” ได้สอบถามความคิดเห็นในเรื่องนี้จากนักวิชาการเพื่อสะท้อนมุมมองในเรื่องนี้ โดยนายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ที่ผ่านมาแม้ไปรษณีย์ไทย จะค่อนข้างกุมตลาดได้ส่วนแบ่งมากที่สุด และพยายามพัฒนาบริการสม่ำเสมอ แต่ก็หนีภาวะการแข่งขันด้านบริการไม่ได้อกชนที่เข้ามาใหม่หลายรายรุก และค่อยๆตีกินมาจากการรับส่งภาคธุรกิจ ในขณะที่เป็นที่ทราบดีว่า รายย่อยหรือบุคคล เรามักใช้บริการของ ไปรษณีย์ไทยมากกว่า

จุดแข็งของไปรษณีย์ไทยคือ เครือข่ายการให้บริการ ที่มีมากและกระจายกว้างไกลกว่า จากฐานของที่ทำการไปรษณีย์เดิม และความคุ้นเคยของผู้ใช้บริการ แต่จุดอ่อนหากเทียบกับผู้ใหญ่บริการรายใหม่ๆที่พยายามรุกเข้ามาเรื่อยๆคือการบริหารต้นทุน ที่ต้องยอมรับว่า ปณท มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าจากพนักงาน สถานที่ และค่าดำเนินการ แบบองค์กรขนาดใหญ่มาก

ทั้งหมดนี่คือ การปรับทัพของกลุ่มทุนไทย ที่จะรับมือกับกลุ่มทุนข้ามชาติ


http://www.thansettakij.com/2016/09/12/95845

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.