Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กันยายน 2559 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ชี้ สำหรับโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่ภายใต้งบประมาณ 13,000 ล้านบาท และ โครงการเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงเชื่อมต่อระหว่างประเทศ งบประมาณ 2,000 ล้านบาท ยังคงเดินหน้าต่อ โดยในส่วนของเน็ตหมู่บ้านแม้ว่าโครงการจะล่าช้าไป 3-4 เดือน

ประเด็นหลัก



สำหรับโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่ภายใต้งบประมาณ 13,000 ล้านบาท และ โครงการเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงเชื่อมต่อระหว่างประเทศ งบประมาณ 2,000 ล้านบาท ยังคงเดินหน้าต่อ โดยในส่วนของเน็ตหมู่บ้านแม้ว่าโครงการจะล่าช้าไป 3-4 เดือน แต่ก็เพื่อความโปร่งใส มีใครท้วงติงอะไรมา ก็ต้องรับมาพิจารณา ภายใน 2-3 เดือนนี้ จะตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบโครงการนี้อีกครั้ง ซึ่งแนวทางของของทีโออาร์อาจจะยึดแบบเดิม หรือ แก้ไขเพิ่มเติม ต้องพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าอีก 2-3 เดือน จะสามารถลงนามสัญญาจ้างได้ ยืนยันว่าจะต้องเสร็จทันภายปี 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




________________________________________




รอง"ประจิน" แง้ม นั่งรักษาการรัฐมนตรีกระทรวงดีอี 1 เดือน
ส่วนรัฐมนตรีคนใหม่ต้องให้นายกฯ ตัดสิน ระบุ เน้นคนเก่งไม่ต้องตรงสายก็ได้ ส่วนโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านคาดเซ็นสัญญาจ้างภายใน 2-3 เดือนนี้ และต้องเสร็จภายในปี 2560

วันนี้ (20 ก.ย.) เวลา 14.00 น. ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และในฐานะรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับผู้บริหารกระทรวง เรื่องการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวง ภายใต้พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 ซึ่งมีผู้บริหารจากหน่วยงานในสังกัดเข้าร่วม และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า หลังจากได้รับฟังการรายงานแผนราชการของส่วนต่างๆ แล้ว ต่อจากนี้ ในเวลา 1 เดือน กระทรวงดีอี จะต้องประชาสัมพันธ์ให้เกิดความเข้าใจในการสนับสนุนนโยบายที่ช่วยขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของชาติ เพราะรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ดำเนินการในแผนงานจนครบถ้วนแล้ว ต่อจากนี้คือ ช่วงที่หน่วยงานจะต้องบูรณาการทุกภาคส่วน โดย 1-3 เดือนแรก จะเป็นการพัฒนาบุคลากรและการบรรจุอัตราเพิ่มเพื่อเติมเต็มในส่วนงานที่ตั้งขึ้นใหม่และในหน่วยงานที่ยังขาดกำลังคน ทั้งนี้ ตนจะตรวจสอบแผนงานกระทรวงและทำงานให้ดีที่สุดภายใน 1 เดือนต่อจากนี้

อย่างไรก็ตาม กระทรวงดีอี ที่ต้องดำเนินการภายในกรอบเวลา 1 ปี 6 เดือน จากนี้ จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ, การรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, การรองรับการพัฒนาทางสังคม และการสร้างระบบบริการภาครัฐด้วยเทคโนโลยี โดยมีโครงการสำคัญ อาทิ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าสู่ทุกหมู่บ้าน, อินเทอร์เน็ตสาธารณะฟรีครอบคลุมทุกตำบล, เพิ่มช่องทางสื่อสารอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ 2 เท่า, จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไทยแลนด์, บ่มเพาะผู้ประกอบการรายใหม่, พัฒนาเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ สนับสนุนการพัฒนามาตรฐานข้อมูลภาครัฐ, การออกกฎหมายหลักที่ครอบคลุมถึงนโยบายและแผนยุทธศาสตร์รัฐบาลดิจิทัล, การรองรับบริการดิจิทัลของภาครัฐ, การดูแลความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ, การติดตามแผนปฎิบัติงานและแผนงาน และร่วมถึงการพัฒนาโครงสร้างฟื้นฐานกลางของภาครัฐ

สำหรับโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่ภายใต้งบประมาณ 13,000 ล้านบาท และ โครงการเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงเชื่อมต่อระหว่างประเทศ งบประมาณ 2,000 ล้านบาท ยังคงเดินหน้าต่อ โดยในส่วนของเน็ตหมู่บ้านแม้ว่าโครงการจะล่าช้าไป 3-4 เดือน แต่ก็เพื่อความโปร่งใส มีใครท้วงติงอะไรมา ก็ต้องรับมาพิจารณา ภายใน 2-3 เดือนนี้ จะตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบโครงการนี้อีกครั้ง ซึ่งแนวทางของของทีโออาร์อาจจะยึดแบบเดิม หรือ แก้ไขเพิ่มเติม ต้องพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าอีก 2-3 เดือน จะสามารถลงนามสัญญาจ้างได้ ยืนยันว่าจะต้องเสร็จทันภายปี 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ส่วนตัวย่อของกระทรวงฯ ที่ใช้ในหนังสือราชการ "ดท." นั้น ตนเองคงยังจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่องานสารบรรณและงานเอกสารของราชการ ส่วนรัฐมนตรีคนใหม่จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็คงต้องให้พิจารณาเอง สำหรับรัฐมนตรีกระทรวงดีอีท่านใหม่นั้น ต้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งส่วนตัวมองว่าจะต้องมีความสามารถและไม่จำเป็นต้องตรงกับสายงานก็ได้

ด้านนางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงดีอี กล่าวว่า ช่วงเดือน มิ.ย.-ส.ค. 2559 เป็นช่วงทำทีโออาร์ ซึ่งกระทรวงก็ต้องทำงานอย่างรอบคอบเพราะเป็นวงเงินที่มีมูลค่ามหาศาล เป็นโครงการที่เกี่ยวกับเรื่องทางเทคนิค และต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอย่างการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)  และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่ต้องมีการประสานงานเรื่องการพาดสายโทรคมนาคมด้วย ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบของสำนักงานอัยการสูงสุด ส่วนประเด็นการทำงานซับซ้อนกับกสทช.หรือไม่ ต้องบอกว่าโครงการของกระทรวงต่างกับโครงการยูโซ่ของกสทช. ซึ่งโครงการกระทรวงต้องเปิดกว้างให้เอกชนมาเชื่อมต่อปลายสายกับสายหลักได้ แต่โครงการยูโซ่คือใครได้โครงการไปคนนั้นก็ต้องทำปลายสายด้วย
 ... อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/525117


http://www.dailynews.co.th/it/525117

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.