Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2559 ยืนยันแล้ว “Didi ซื้อ Uber China” โดยในสายตานักวิเคราะห์ Didi เป็นบริการแอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซีที่มีภาษีดีกว่า Uber ในจีนหลายเท่าตัว ในขณะที่ Uber ไม่เปิดเผยสถิติ Didi กลับประกาศว่า มีผู้ขับรถในระบบมากกว่า 15 ล้านคน ท่ามกลางผู้ใช้บริการมากกว่า 300 ล้านคนในจีน

ประเด็นหลัก





ในสายตานักวิเคราะห์ Didi เป็นบริการแอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซีที่มีภาษีดีกว่า Uber ในจีนหลายเท่าตัว ในขณะที่ Uber ไม่เปิดเผยสถิติ Didi กลับประกาศว่า มีผู้ขับรถในระบบมากกว่า 15 ล้านคน ท่ามกลางผู้ใช้บริการมากกว่า 300 ล้านคนในจีน สถิติงานจ้างแท็กซี่ คือ 40 ล้านเที่ยวต่อสัปดาห์ เฉลี่ยแล้วตก 150 ล้านเที่ยวต่อเดือน
เบื้องต้น Uber China ถูกประเมินว่า มีมูลค่าบริษัทราว 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ Didi มีมูลค่าราว 2.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
การประกาศซื้อขายกิจการ Uber จีน ก่อเกิดเป็นคำถามมากมายหลายแง่มุม โดยเฉพาะมุมมองอนาคตของ Uber เนื่องจากดีลที่เกิดขึ้นถูกมองว่า อาจมีผลต่อการแข่งขันของแอปพลิเคชันเรียกแท็กซีในตลาดอื่นที่นอกจากจีนด้วย
ยกตัวอย่างเช่น หากเกิดกรณีที่ซีอีโอ Uber กลายเป็นส่วนหนึ่งของกรรมการบริหาร Didi ขณะที่ซีอีโอ Didi เป็นกรรมการบริหาร Uber กรณีน่าสนใจมาก เพราะปัจจุบัน Didi มีส่วนลงทุนในคู่แข่งหลักของ Uber ในหลายตลาด เช่น บริการลิฟต์ (Lyft) ในสหรัฐฯ, โอลา (Ola) ในอินเดีย หรือแกร็บ (Grab) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งความชัดเจนในขณะนี้มีเพีงถ้อยแถลงของ Didi ที่ระบุว่า บริษัทจะประสานงานกับพันธมิตรธุรกิจในระดับโลก หลังจากดีลควบรวม Uber ในจีน แล้วเสร็จ







____________________________________________







ยืนยันแล้ว “Didi ซื้อ Uber China” คาดคงแบรนด์ Uber ต่อไปในจีน


เป็นไปตามที่สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานไว้ว่า บริการแอปพลิเคชันรับจ้างรถแท็กซีพันธุ์ใหม่สัญชาติจีน “ตีตี ชูซิง” (Didi Chuxing) จะซื้อกิจการของคู่แข่งอย่าง “อูเบอร์” (Uber) ในประเทศจีน เพื่อปิดฉากสงครามราคา หลังจากทั้งคู่ไล่บี้กันมานานจนเจ็บตัวทั้ง 2 ฝ่าย คาดทั้ง 2 แบรนด์จะคงชื่อแบรนด์ แอปพลิเคชัน และหน่วยธุรกิจดั้งเดิมไว้ในฉากหน้า แต่ระบบหลังบ้านจะถูกรวมเป็นเนื้อเดียวเพื่อร่วมกันให้บริการชาวจีนอย่างแข็งขัน
Didi ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ในจีน แถลงยืนยันการซื้อกิจการ Uber China ว่า บริษัทจะรวมความเชี่ยวชาญ และเทคนิคโดดเด่นของทั้ง 2 ทีมงาน เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด โดยเปิดเผยว่า หลังการควบรวม Uber จะได้รับจัดสรรหุ้นรวม 17.7% ใน Didi Chuxing ขณะที่นักลงทุนดั้งเดิมใน Uber China ซึ่งมีเจ้าพ่อเสิร์ชเอนจิ้นจีนอย่าง ไป่ตู้ (Baidu) รวมอยู่ด้วย จะได้รับหุ้น 2.3% ในบริษัทใหม่
ด้านซีอีโอ Uber “ทราวิส คาลานิก” (Travis Kalanick) ให้ความเห็นตรงไปตรงมาว่า การซื้อขายกิจการครั้งนี้เป็นไปเพื่อจบศึกที่ทำให้ทั้ง Didi และ Uber ต่างเจ็บตัว โดยระบุว่า ทั้งสองบริษัทต่างลงทุนในตลาดจีนเป็นเงินหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ แต่กลับไม่สามารถกำไรกลับมา ดังนั้น การทำให้ธุรกิจกลับมามีกำไรได้ จึงเป็นทางเดียวที่จะทำให้ธุรกิจแอปพลิเคชันรับจ้างรถแท็กซีเกิด และเติบโตขึ้นได้ในจีนอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทั้งผู้โดยสาร ผู้ขับขี่ และเมืองจีนในระยะยาว
น่าเสียดายที่รายละเอียดเม็ดเงินในดีลนี้ไม่ถูกเปิดเผยอย่างชัดเจน แม้จะมีการคาดการณ์ว่า มูลค่าดีลอาจสูงแตะระดับหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดย Bloomberg ระบุว่า ส่วนหนึ่ง Didi จะใช้วิธีลงทุนใน Uber ระดับโลกราว 1 พันล้านเหรียญ
ในสายตานักวิเคราะห์ Didi เป็นบริการแอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซีที่มีภาษีดีกว่า Uber ในจีนหลายเท่าตัว ในขณะที่ Uber ไม่เปิดเผยสถิติ Didi กลับประกาศว่า มีผู้ขับรถในระบบมากกว่า 15 ล้านคน ท่ามกลางผู้ใช้บริการมากกว่า 300 ล้านคนในจีน สถิติงานจ้างแท็กซี่ คือ 40 ล้านเที่ยวต่อสัปดาห์ เฉลี่ยแล้วตก 150 ล้านเที่ยวต่อเดือน
เบื้องต้น Uber China ถูกประเมินว่า มีมูลค่าบริษัทราว 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ Didi มีมูลค่าราว 2.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
การประกาศซื้อขายกิจการ Uber จีน ก่อเกิดเป็นคำถามมากมายหลายแง่มุม โดยเฉพาะมุมมองอนาคตของ Uber เนื่องจากดีลที่เกิดขึ้นถูกมองว่า อาจมีผลต่อการแข่งขันของแอปพลิเคชันเรียกแท็กซีในตลาดอื่นที่นอกจากจีนด้วย
ยกตัวอย่างเช่น หากเกิดกรณีที่ซีอีโอ Uber กลายเป็นส่วนหนึ่งของกรรมการบริหาร Didi ขณะที่ซีอีโอ Didi เป็นกรรมการบริหาร Uber กรณีน่าสนใจมาก เพราะปัจจุบัน Didi มีส่วนลงทุนในคู่แข่งหลักของ Uber ในหลายตลาด เช่น บริการลิฟต์ (Lyft) ในสหรัฐฯ, โอลา (Ola) ในอินเดีย หรือแกร็บ (Grab) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งความชัดเจนในขณะนี้มีเพีงถ้อยแถลงของ Didi ที่ระบุว่า บริษัทจะประสานงานกับพันธมิตรธุรกิจในระดับโลก หลังจากดีลควบรวม Uber ในจีน แล้วเสร็จ
นอกจากนี้ ยังมีคำถามเรื่องโครงสร้างการถือหุ้นใน Uber โดย Didi มีนักลงทุนยักษ์ใหญ่อยู่เบื้องหลัง ทั้งอาลีบาบา (Alibaba), แอปเปิล (Apple), กลุ่มทุนดีเอสที (DST), ซอฟต์แบงก์ (Softbank) และเท็นเซนต์ (Tencent) ซึ่งทั้งหมดคาดว่าจะต้องรอความชัดเจนหลังจากมีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการต่อไป

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000076382&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+2-8-59&utm_campaign=20160801_m133294332_MGR+Morning+Brief+2-8-59&utm_term=_E0_B8_A2_E0_B8_B7_E0_B8_99_E0_B8_A2_E0_B8_B1_E0_B8_99_E0_B9_81_E0_B8_A5_E0_B9_89_E0_B8_A7+_E2_80_9C

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.