Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2559 มีการเปิดตัว API สำหรับเช็กสถานะของแบตเตอรี่ใน HTML5 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเบราเซอร์อย่างไฟร์ฟ็อกซ์ (Firefox) โอเปร่า (Opera) และโครม (Chrome) ในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา ความสามารถของ API

ประเด็นหลัก




ทั้งนี้ มีการเปิดตัว API สำหรับเช็กสถานะของแบตเตอรี่ใน HTML5 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเบราเซอร์อย่างไฟร์ฟ็อกซ์ (Firefox) โอเปร่า (Opera) และโครม (Chrome) ในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา ความสามารถของ API ดังกล่าวทำให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถเข้าถึงข้อมูลแบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟน-อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเข้าเว็บไซต์ได้มากมาย เช่น เหลือแบตเตอรี่อีกกี่เปอร์เซ็นต์ หรือหากตัวเครื่องเสียบสายชาร์จอยู่ จะใช้เวลาอีกนานเท่าไรจึงจะถอดสายชาร์จได้ เป็นต้น
โดยนักวิจัยด้านซีเคียวริตีที่ออกมาให้ความเห็น คือ Steve Engelhard และ Arvind Narayanan จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ซึ่งพวกเขาได้ทำการโมดิไฟล์เว็บไซต์ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ และเขียนสคริปต์เพื่อใช้ API ดังกล่าวทำหน้าที่แยกแยะความแตกต่างของอุปกรณ์แต่ละตัวออกมาได้




________________________________________________

ข้อมูล “สถานะแบตเตอรี่” สามารถใช้สะกดรอยได้

นักวิจัยด้านซีเคียวริตีออกโรงเตือนถึงการใช้ข้อมูลสถานะของแบตเตอรี่ในการสะกดรอยผู้ใช้งานแต่ละรายได้แล้ว
ทั้งนี้ มีการเปิดตัว API สำหรับเช็กสถานะของแบตเตอรี่ใน HTML5 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเบราเซอร์อย่างไฟร์ฟ็อกซ์ (Firefox) โอเปร่า (Opera) และโครม (Chrome) ในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา ความสามารถของ API ดังกล่าวทำให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถเข้าถึงข้อมูลแบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟน-อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเข้าเว็บไซต์ได้มากมาย เช่น เหลือแบตเตอรี่อีกกี่เปอร์เซ็นต์ หรือหากตัวเครื่องเสียบสายชาร์จอยู่ จะใช้เวลาอีกนานเท่าไรจึงจะถอดสายชาร์จได้ เป็นต้น
โดยนักวิจัยด้านซีเคียวริตีที่ออกมาให้ความเห็น คือ Steve Engelhard และ Arvind Narayanan จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ซึ่งพวกเขาได้ทำการโมดิไฟล์เว็บไซต์ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ และเขียนสคริปต์เพื่อใช้ API ดังกล่าวทำหน้าที่แยกแยะความแตกต่างของอุปกรณ์แต่ละตัวออกมาได้
หากมองในแง่ดี ความสามารถดังกล่าวช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเน็ตได้มากมาย เช่น หากทราบว่าแบตเตอรี่ของผู้เข้าเยี่ยมชมกำลังจะหมด ก็สามารถส่งเว็บไซต์เวอร์ชันที่สิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่าให้ใช้งานได้
แต่ถ้าหากมองในแง่ร้าย เช่น ที่นักวิจัยด้านซีเคียวริตีหลายคนกำลังเป็นห่วง ความสามารถนี้ก็เหมาะสำหรับใช้ในการสะกดรอยผู้ใช้งานอยู่ไม่ใช่น้อย เนื่องจากมันสามารถสะท้อนตัวตน และรูปแบบการใช้งานสมาร์ทโฟนของผู้ใช้แต่ละรายได้เป็นอย่างดี

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000076880&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+4-8-59&utm_campaign=20160803_m133338433_MGR+Morning+Brief+4-8-59&utm_term=_E0_B8_82_E0_B9_89_E0_B8_AD_E0_B8_A1_E0_B8_B9_E0_B8_A5+_E2_80_9C_E0_B8_AA_E0_B8_96_E0_B8_B2_E0_B8_99

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.