Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 กันยายน 2559 penguinsim อ้อนขอร่วมใช้โครงข่าย 4G อ้าง กสทช.ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ชนะประมุลโทรศัพท์เคลื่อนที่ในคลื่น 2100-1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ จะต้องกันความถี่ส่วนหนึ่งอย่างน้อย 10% ให้กับ MVNO

ประเด็นหลัก






“เอ็มวีเอ็นโอ” อ้อนขอร่วมใช้โครงข่าย4จี

ขณะที่ดร.ชัยยศ จิรบวรกุล ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบไม่มีโครงข่ายของตนเอง หรือ MVNO (Mobile Virtual Network Operator) ภายใต้ชื่อแบรนด์ “เพนกวิน” กล่าวว่า สำหรับ เพนกวิน แล้วตามเงื่อนของ กสทช.ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ชนะประมุลโทรศัพท์เคลื่อนที่ในคลื่น 2100-1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ จะต้องกันความถี่ส่วนหนึ่งอย่างน้อย 10% ให้กับ MVNO ซึ่ง เพนกวิน อยากจะเห็นพัฒนาการในส่วนนี้โดยผู้ที่ได้ใบอนุญาติคลื่นความถี่จาก กสทช. เพื่อให้บริการระบบ 4 จี จัดสรร Capacity (ความสามารถของเครือข่าย) ในส่วนนี้ให้กับผู้ประกอบการ MVNO เช่นเดียวกันเพื่อต้องการให้ตลาดยอมรับเพิ่มมากขึ้น


“เราเป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่เล็กกว่า 3 รายเดิม (หมายถึง เอไอเอส-ดีแทค และ ทรู) และเป็นเพียงผู้ประกอบรายที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีเช่าใช้โครงข่ายของ แคทเทเลเคอม เพราะฉนั้นหาก MVNO ได้รับความถี่เพิ่มเติมจากผู้ประกอบการรายใหญ่ทำให้ลูกค้าได้รู้จัก และ ถือว่าเป็นทางการเลือกอีกทางหนึ่งเพราะสุดท้ายหากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นผลประโยชน์ตกอยู่ที่ผู้บริโภค”






______________________________________________




มือถือในยุค 4จี จุดเปลี่ยนและความท้าทาย


หลังจากประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จีย่านความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ได้ปิดฉากลงไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดย เอดับบิวเอ็น หรือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิรค์ จำกัดในเครือ เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) ชนะไปในราคา 75,654 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ก็คว้าประมูลในราคา 76,298 ล้านบาท


นั่นจึงเป็นที่มาที่หนังสือพิมพ์”ฐานเศรษฐกิจ” ได้จัดสัมมนาโต๊ะกลมภายใต้หัวข้อเรื่อง “มือถือในยุค 4จี จุดเปลี่ยนและความท้าทาย” เมื่อวันพุธที่ 10 สิงหาคม 2559 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมกองบรรณาธิการ นสพ.ฐานเศรษฐกิจ อาคารฐานการพิมพ์ชั้น 4

มือถือในยุค 4จี จุดเปลี่ยนและความท้าทาย
มือถือในยุค 4จี จุดเปลี่ยนและความท้าทาย
โดยมีผู้ร่วมสัมมนา ได้แก่ นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ, ดร.ชัยยศ จิรบวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะ ไวท์สเปซ จำกัด , นายธีระชาติ ก่อตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามสแควร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น สต็อกเรดาร์ และ นายภูริช อักษรทับ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ผู้ก่อตั้ง บริษัท กอล์ฟดิกก์ จำกัด ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น กอล์ฟดิกก์ ร่วมถ่ายทอดมุมมองไว้อย่างน่าสนใจ

แข่งกันที่คุณภาพเครือข่าย-บริการ


เริ่มจาก นายสืบศักดิ์ สืบภักดี ในฐานะนักวิชาการมองว่า หลังประมูล 4 จีเสร็จสิ้นลงแล้ว สิ่งที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะแข่งขันกันต่อไปนี้ คือเรื่องของคุณภาพของการให้บริการ แล้วก็เรื่องค่าบริการ คำว่าคุณภาพของการให้บริการ หมายความว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมด 77 จังหวัด ยังไงก็ไม่ขยายไปกว่านี้ ไม่หดไปกว่านี้ จริงอยู่อาจจะมีผู้ประกอบการบางรายก่อนหน้านี้ได้เข้าสู่ตลาดบริการ 4จี ก่อนผู้ประกอบการรายอื่น แต่ถึงที่สุดแล้วผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประมูลความถี่กันมาได้ ก็จะขยายเครือข่ายได้ครบ 77จังหวัดเหมือนกัน

“พอขยายทันกันที่ 77จังหวัดเหมือนกัน จะแข่งกันที่อะไร ก็จะแข่งกันที่คุณภาพ ใครสามารถที่จะทำเครือข่ายได้ดีที่สุด ให้บริการครอบคลุมได้มากที่สุด ใช้แล้วไม่ติดขัดได้มากที่สุด สปีดหรือว่าดาต้าเร็ว เป็นไปตามที่เขาโฆษณา รื่นไหลได้มากที่สุด ผู้ใช้บริการก็จะเทไปทางนั้น ในทางกลับกัน เมื่อเน็ตเวิร์คเท่ากัน คุณภาพใกล้เคียงกัน ค่าบริการก็เป็นอีกตัวหนึ่ง คือผู้ประกอบการแต่ละราย ก็จะแข่งกันออกแพ็คเกต ที่จะสามารถตอบสนองแต่ละกลุ่มลูกค้าของตัวเองได้มากขึ้น เนื่องจากว่าผู้ใช้บริการปัจจุบันมีความต้องการที่หลากหลายไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะยังใช้วอยซ์อยู่ ต้องยอมรับ ในต่างจังหวัดนะครับ บางคนอาจจะใช้วอยซ์กับดาต้าผสมผสานกัน แข่งขันกันเรื่องราคาก็จะเป็นธรรมต่อผู้บริโภคอย่างเรา เป็นจุดหมายปลายทางที่คิดว่าน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของการที่จะมีเทคโนโลยี 4จี”

“เอ็มวีเอ็นโอ” อ้อนขอร่วมใช้โครงข่าย4จี

ขณะที่ดร.ชัยยศ จิรบวรกุล ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบไม่มีโครงข่ายของตนเอง หรือ MVNO (Mobile Virtual Network Operator) ภายใต้ชื่อแบรนด์ “เพนกวิน” กล่าวว่า สำหรับ เพนกวิน แล้วตามเงื่อนของ กสทช.ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ชนะประมุลโทรศัพท์เคลื่อนที่ในคลื่น 2100-1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ จะต้องกันความถี่ส่วนหนึ่งอย่างน้อย 10% ให้กับ MVNO ซึ่ง เพนกวิน อยากจะเห็นพัฒนาการในส่วนนี้โดยผู้ที่ได้ใบอนุญาติคลื่นความถี่จาก กสทช. เพื่อให้บริการระบบ 4 จี จัดสรร Capacity (ความสามารถของเครือข่าย) ในส่วนนี้ให้กับผู้ประกอบการ MVNO เช่นเดียวกันเพื่อต้องการให้ตลาดยอมรับเพิ่มมากขึ้น

“เราเป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่เล็กกว่า 3 รายเดิม (หมายถึง เอไอเอส-ดีแทค และ ทรู) และเป็นเพียงผู้ประกอบรายที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีเช่าใช้โครงข่ายของ แคทเทเลเคอม เพราะฉนั้นหาก MVNO ได้รับความถี่เพิ่มเติมจากผู้ประกอบการรายใหญ่ทำให้ลูกค้าได้รู้จัก และ ถือว่าเป็นทางการเลือกอีกทางหนึ่งเพราะสุดท้ายหากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นผลประโยชน์ตกอยู่ที่ผู้บริโภค”

จับตลาดเติมเงิน

ในเมื่อเป็นผู้ประกอบการายเล็กในตลาด ดร.ชัยยศ บอกว่า ต้องวางตำแหน่งสินค้าให้ชัดเจน เพราะไม่สามารถแข่งกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ ดังนั้น ซิมเพนกวิน วางตัวเองเป็น (ECO Operater) เน้นลูกค้าระบบเติมเงินเป็นหลัก ตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1มีนาคมฯที่ผ่านมามีลูกค้ารู้จักแบรนด์เพนกวิน ในระดับนึง ฐานลูกค้าก็เริ่มขยายเพิ่มมากขึ้นตอนนี้มีผู้ใช้อยู่ประมาณ 2 แสนกว่าแล้ว

ดร.ชัยยศ ยังกล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้เชื่อว่า กสทช.พยายามที่จะปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ พอสมควร แต่ก็ยังมีกฎระเบียบที่เชื่อว่าจะต้องมีความพยายามที่จะผลักดัน ให้สมเหตุสมผลเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเล็กที่ให้บริการในลักษณะ MVNO เพราะว่ากฎระเบียบต่างๆที่เคยออกมาในอดีตที่ผ่านมานั้นความจริงก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิด แต่ว่าออกมาในยุคที่มีผู้เล่นเฉพาะรายใหญ่ยังไม่มี MVNO เกิดขึ้นในตลาดมากนัก แต่พอตอนนี้มันเริ่มมี MVNO เพิ่มมากยิ่งขึ้น

“เพราะฉนั้นในภาพ ใหญ่แล้ว ผมเองอยากจะเห็นว่า ตัวบริษัทmvno สามารถเกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมบ้านเรา เทคโนโลยีบ้านเราไม่แพ้ของต่างประเทศจาก 2จี เป็น 3จี เร็วมาก จาก 3จี เป็น 4จี ผมว่าเราก็เร็วมากเหมือนกันนะครับ แต่ว่ามันไม่ใช่แค่ตัวเทคโนโลยีอย่างเดียวนะครับ มันต้องพูดถึงตัวการกำกับดูแล การที่จะทำให้เข้าถึงเทคโนโลยีพวกนั้นเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ อย่างสตาร์ทอัพหลังๆ เกิดขึ้นมาก และ บิสสิเนสโมเดลก็มาจากโมบายและสมาร์ทโฟน”

4จีมาความเร็วเกิด

ขณะที่ในมุมมองสตาร์ทอัพฯนั้นเชื่อว่าการมาของ 4 จีเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ สำหรับ ภูริช อักษรทับ ซีอีโอ จาก กอล์ฟดิกก์ สะท้อนในเรื่องนี้ว่า เมื่อเทคโนโลยี 4จี เข้ามา บริษัทฯมีการคิดเรื่องคอนเทนต์มากขึ้น เช่นเรื่องภาพ และ วิดีโอ เพราะจะช่วยให้ระบบของกอล์ฟดิกก์ดีขึ้นด้วย และ อีกอย่างก็คือ กอล์ฟดิกก์ มีระบบเพย์เม้นท์ในตัวแอพลิเคชันด้วย

สำหรับธุรกิจของกอล์ฟดิกก์ วางยุทธศาสตร์ไว้ 3 เรื่อง เรื่องแรก คือ สนามกอล์ฟก่อน และเรื่องที่ 2 คือ อุปกรณ์กอล์ฟ และเรื่องที่ 3 เป็นเรื่องเทคนิค อย่างเช่น อาจจะเป็นพวกโปรที่สอนกอล์ฟ เพราะฉนั้นถ้าจะมีการให้เห็นภาพว่า ตียังไงอะไรอย่างนี้ ก็อาจจะต้องมีเรื่องวิดีโอขึ้นมา แต่ถามว่าตอนนี้กอล์ฟดิกคิดก์จะเริ่มทำหรือไม่ ตอนนี้ศึกษาไว้แล้วแต่ยังไม่ลงรายละเอียด ดังนั้นจะเน้นไปที่การจองสนามกอล์ฟเป็นหลัก ตอนนี้ลูกค้าของกอล์ฟดิกมีประมาณ 3 หมื่นคนที่ได้ดาวน์โหลดแอพกอล์ฟดิกก์ไปใช้งานแล้ว

ส่วนทางด้านธีระชาติ ก่อตระกูล ซีอีโอ ของ สต็อกเรดาร์ กล่าวว่า สปีด หรือ ความเร็ว ของเครือข่ายจะดีขึ้น เนื่องจากถนนกว้างขึ้นทำให้สามารถพัฒนาตัวแอพฯได้มากขึ้นในสายตาผู้พัฒนาคอนเท้นต์ ดังนั้นเรื่องของหุ้นกับข้อมูลข่าวสารทางด้านข่ายไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อความเร็วของเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นบริษัทฯก็ต้องพาร์เนอร์และหาข้อมูลข่าวสารเข้ามาใส่ในแอพฯเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเมื่อ 4 จีเพิ่มสปีดได้มากขึ้นสต็อกเรดาร์กำลังเพตรียมแผนการทำวิดีโอไลฟ์ (การถ่ายทอดสดหุ้นผ่านแอพฯสต็อกเรดาร์) เพราะคนส่วนใหญ่บริโคภคอนเท้นต์มากขึ้นเพราะดูคอนเท้นต์ผ่านมือถือเห็นหลัก เริ่มมีสัญญาณหลายอย่างที่จะบอกว่าสื่อหลักอย่างทีวี อาจจะไม่ได้มีน้ำหนักมากเท่าเดิม เพราะว่าคนมีสื่อใหม่ ที่อยู่ในมือของแต่ละคน กลับกันถือว่าเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง

“และผมเชื่อว่ากลุ่มสตาร์อัพทฯที่เกิดใหม่ทุกวันนี้ กำลังคิดบิซิเนสโมเดลที่เกี่ยวข้องกับโมบาย ที่เกี่ยวข้องกับพวกสมาร์ทโฟน ที่เกี่ยวข้องกับออนไลน์ ที่เกี่ยวข้องกับโซเชียลมีเดีย มันเป็นอีโคซิสเต็มส์ ที่มันไปอยู่รอบๆ เน็ตเวิร์ค โครงสร้างเครือข่ายพื้นฐาน ถ้าเน็ตเวิรค์เหล่านี้เปิดพวกน้องๆสตาร์ทอัพ เขาสามารถได้ลอง ลองผิดลองถูก”

ภาครัฐมองบวก

สำหรับสิ่งที่ท้าทายในยุค 4 จีนั้น นายสืบศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลฯมีความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้น ทิศทางไปทางบวก เปรียบเทียบสมัยก่อนไม่มีมีการผลักดันเป็นนโยบายแต่ในยุคนี้รัฐบาลมีความเข้าใจมากขึ้นผลักดันนโยบายไปถึงหน่วยงานทุกระดับ ค่อนข้างทำได้ดี แต่ว่าก็ต้องให้เวลาข้าราชการในการปรับตัวด้วย เพราะห่วงโซ่ของระบบอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมันไม่ได้มีแค่ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยังมี MVNO และ สตาร์ทอัพฯ ที่ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานระบบโทรคมนาคม เพราะฉะนั้นถ้าดูแลต้องดูแลให้ดี

ขณะที่ดร.ชัยยศ กล่าวว่าสิ่งที่ท้ายสำหรับ เพนกวิน ปัจจุบันให้บริการบนเครือข่าย 3 จี ซึ่ง เพนกวิน มีความประสงค์ที่ให้บริการระบบ 4จี และ ในอนาคตหวังว่าจะได้ใช้โครงข่าย 4จีเพื่อให้บริการกับลูกค้าเช่นเดียวกัน ส่วนจุดยืนเรื่อง ECO ก็ยังไม่เปลี่ยน และ เชื่อว่า กสทช.จะผลักดันมากขึ้น

ส่วน ภูริ มองว่าไม่ได้เป็นสิ่งที่ท้าทาย เป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ยิ่งมีเทคโนโลยีใหม่ยิ่งทำให้บริการของ กอล์ฟดิกก์ ดีขึ้น คือต้องบอกว่าวงการกอล์ฟตอนนี้มันกำลังแย่ลง บริษัทไนกี้ ก็เลิกทำอุปกรณ์กอล์ฟ และ อุปกรณ์กอล์ฟที่จำหน่ายในประเทศขายได้น้อยลง เศรษฐกิจในวงการกอล์ฟก็ดรอปลง ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อก่อนสนามกอล์ฟมี 3,000ก ว่าสนามตอนนี้ก็เหลือแค่ 2,500 สนาม

“ยุคสมัยเปลี่ยนไปแต่ว่าเรามองว่าตรงนี้มันเป็นโอกาสของกอล์ฟดิกก์ เพราะว่าเหมือนเราช่วยทำให้นักกอล์ฟตอบโจทย์ อยากตีแต่งบน้อย”

ส่วนธีระชาติ บอกว่า อยากให้รัฐสนับสนุนยกเว้นภาษีให้กับสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทกฯ เพราะจะได้แข่งขันกับนักลงทุนจากต่างประเทศได้ เพราะนักลงทุนที่เข้ามาในประเทศส่วนใหญ่จดทะเบียนในต่างประเทศแต่มาลงทุนในประเทศไทย ทำให้ได้เปรียบมากกว่านักลงทุนในประเทศ เพราะการทำสตาร์ทอัพฯทางด้านฟินเทกนั้นมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ดังนั้นอยากให้รัฐบาลสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น

ทั้งหมดนี่คือหลากหลายความคิดจากเสวนาโต๊ะกลม “มือถือในยุค 4จี จุดเปลี่ยนและความท้าทาย”

http://www.thansettakij.com/2016/08/17/84583

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.