Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 กันยายน 2559 CTH จะเลิกจ้างพนักงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องออกทั้งหมดตั้งแต่ระดับสูงจนไปถึงพนักงานทั่วไปเกือบ 100 คน โดยการเลิกจ้างพนักงานครั้งนี้ เป็นชุดสุดท้ายที่ซีทีเอชได้กระทำ

ประเด็นหลัก






ต่อเรื่องนี้แหล่งข่าวจากบมจ. ซีทีเอช กล่าวยืนยันกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วันที่ 31 สิงหาคมนี้ ซีทีเอชจะเลิกจ้างพนักงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องออกทั้งหมดตั้งแต่ระดับสูงจนไปถึงพนักงานทั่วไปเกือบ 100 คน โดยการเลิกจ้างพนักงานครั้งนี้ เป็นชุดสุดท้ายที่ซีทีเอชได้กระทำ จากก่อนหน้านี้ที่ทยอยเลิกจ้างพนักงานตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ช่วงที่ซีทีเอชขยายงานและจับมือเป็นพันธมิตรกับแกรมมี่ ถือเป็นช่วงที่มีพนักงานมากที่สุดคือราว 400-500 คน ก่อนที่จะลดคนเพื่อลดต้นทุน จากปัญหาด้านสภาพคล่องและการทำงานที่ไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้






______________________________________________


ก๊อก2‘CTH’เลิกจ้างพนักงานยันผู้บริหาร


“ซีทีเอช” ประกาศเลิกจ้างพนักงานร่วม100 ชีวิต 31 สิงหาคมนี้ จ่ายชดเชยให้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ชี้สมัยรุ่งเรืองมีทีมงาน 400-500 คนก่อนทยอยออกเพื่อรักษาสภาพคล่อง ด้านบอร์ดกสทช.สั่งขึ้นแบล็กลิสต์ .ยกเป็นตัวอย่างผู้ประกอบการที่ไม่ดี ทำผิด ปิดกิจการหนี ลอยแพผู้บริโภค


หลังจากบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) ประกาศยุติการให้บริการนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นไป ล่าสุดพบว่า ซีทีเอชได้ประกาศเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดเกือบ 100 คนโดยให้ปฏิบัติงานวันสุดท้ายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ โดยซีทีเอชจะมีการจ่ายเงินชดเชยให้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ขณะที่พนักงานบางส่วนที่เหลือ (ฝ่ายธุรกิจและฝ่ายสตูดิโอ) ยังคงทำงานต่อเนื่องอีก 3 เดือนเพื่อจัดการปัญหาที่ค้างอยู่

ต่อเรื่องนี้แหล่งข่าวจากบมจ. ซีทีเอช กล่าวยืนยันกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วันที่ 31 สิงหาคมนี้ ซีทีเอชจะเลิกจ้างพนักงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องออกทั้งหมดตั้งแต่ระดับสูงจนไปถึงพนักงานทั่วไปเกือบ 100 คน โดยการเลิกจ้างพนักงานครั้งนี้ เป็นชุดสุดท้ายที่ซีทีเอชได้กระทำ จากก่อนหน้านี้ที่ทยอยเลิกจ้างพนักงานตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ช่วงที่ซีทีเอชขยายงานและจับมือเป็นพันธมิตรกับแกรมมี่ ถือเป็นช่วงที่มีพนักงานมากที่สุดคือราว 400-500 คน ก่อนที่จะลดคนเพื่อลดต้นทุน จากปัญหาด้านสภาพคล่องและการทำงานที่ไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้

อย่างไรก็ดี การยุติการให้บริการของซีทีเอช ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสมาชิกที่มีอยู่เกือบ 5 หมื่นรายนั้น ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์หรือกสท. กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า กสทช. จะขึ้นบัญชีดำหรือแบล็กลิสต์กับบมจ.ซีทีเอช เพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่าง ไม่ให้ผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ทำผิดและเอาเปรียบผู้บริโภคเช่นเดียวกับหลายองค์กรในอดีตที่ปิดกิจการทันทีโดยไม่คำถึงความรู้สึกของผู้บริโภค โดยกสทช. จะนำเสนอมาตรการในการจัดการต่อซีทีเอช ในวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคมนี้


“ที่ผ่านมาเมื่อผู้ประกอบกิจการไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ส่วนใหญ่ก็จะหนีปัญหาโดยการเลือกปิดกิจการทันทีและไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้บริโภค และกสทช.ก็ทำได้แค่ตักเตือน ซึ่งไม่เพียงพอ และเป็นกฎข้อบังคับที่อ่อนมาก ดังนั้นส่วนตัวมองว่าจากนี้กสทช.ต้องปรับกฎระเบียบ หรือข้อบังคับใหม่ เช่นการติดแบล็กลิสต์”

สำหรับการขึ้นแบล็กลิสต์ดังกล่าวเป็นการบังคับให้ผู้ประกอบการระวังการทำผิดและการเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งผู้ประกอบการรายใดที่ติดแบล็กลิสต์ในบันทึกของกสทช.จะไม่สามารถประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้ได้อีกต่อไป รวมถึงจะเสียเครดิตประกอบกิจการต่างๆด้วย ขณะเดียวกันจะมีการเสนอให้กสทช. คัดเกณฑ์การให้ใบอนุญาตประกอบกิจการมากขึ้น เช่น ผู้ประกอบการรายใดที่ต้องการใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์จะต้องมีหลักทรัพย์มาวางค้ำไว้ก่อนเพื่อกันไม่ให้ผู้ประกอบการทำผิดและทิ้งผู้บริโภคไปทันที

ด้านพ.อ. ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธาน กสท. กล่าวว่า ที่ผ่านมาซีทีเอชได้ส่งแผนเยียวยามาแล้วต่อเนื่อง แต่เนื่องจากในคณะทำงานยังมีความเห็นในเรื่องแผนเยียวยาไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะเรื่องการชดเชยสำหรับการยุติการให้บริการ ซึ่งมองว่าแผนเยียวยาที่เหมาะสมควรต้องเห็นใจทุกฝ่ายทั้งในด้านของผู้ประกอบการและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคน้อยที่สุด

ขณะที่นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การประกาศยุติการให้บริการช่องรายการในทุกแพลตฟอร์มของซีทีเอช บริษัทต้องออกมารับผิดชอบต่อผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคขณะเดียวกันยังขอเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)เข้ามาช่วยเป็นตัวแทนผู้บริโภคฟ้องซีทีเอชต่อศาล เป็นการฟ้องร้องในลักษณะที่เจ้าทุกข์เป็นกลุ่ม ส่วนเรื่องอำนาจของกสทช.มองว่ากรณีนี้คือการเยียวยาในส่วนของการยกเลิกกิจการ ซึ่งกสทช.มีอำนาจตรวจสอบเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบได้

อนึ่ง บริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นรายย่อย ตั้งขึ้นในปี 2553 ก่อนที่จะขยายธุรกิจโดยมีนายวิชัย ทองแตง นักลงทุนรายใหญ่เข้าถือหุ้น และเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 50 ล้านบาท เป็น 1,000 ล้านบาท พร้อมแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 3 ราย ได้แก่ นายวิชัย ทองแตง นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล และที่เหลือเป็นผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่น ซีทีเอช เดินหน้าสรรหาคอนเทนต์ใหม่ๆ เพื่อสร้างเป็นจุดขายให้กับสมาชิก ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าร่วมประมูลลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกอังกฤษ ลีกฟุตบอลอันดับ 1 ของโลกที่มีผู้ชมจำนวนมาก รวมถึงประเทศไทย โดยซีทีเอช ตั้งเป้าที่จะใช้พรีเมียร์ลีก เป็นคอนเทนต์หัวหอกในการขยายสมาชิกให้เพิ่มขึ้น 100% จาก 3.5 ล้านรายเป็น 7 ล้านบาท พร้อมกับใช้เป็นฐานในการสร้างชื่อ “ซีทีเอช” ให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ จึงยอมทุ่มเงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาทเพื่อคว้าลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก ตัดหน้าทรู วิชั่นส์ เจ้าของลิขสิทธิ์เดิมที่ผูกขาดมาเกือบ 10 ปี

แต่แล้วเส้นทางธุรกิจของซีทีเอช ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จำนวนสมาชิกไม่ได้เพิ่มขึ้นดังคาด ขณะที่เม็ดเงินลงทุนกับลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก กลับไม่ได้รับผลตอบรับด้านรายได้ มีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นสปอนเซอร์ในการถ่ายทอดน้อย ส่งผลให้ต้องประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้น จนปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 6 ปี โดยพบว่าในปี 2557 ซีทีเอช มีทรัพย์สินรวม 9,228 ล้านบาท หนี้สินรวม 14,195 ล้านบาท รายได้ 2,671 ล้านบาท ขาดทุน 4,455 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2558 และ 2559 พบว่า ซีทีเอชยังมีการลงทุนทั้งในเรื่องของคอนเทนต์ โครงข่ายเคเบิลทีวี ฯลฯ ทำให้คาดการณ์ว่าจนถึงปัจจุบันซีทีเอช มีหนี้สินรวมเกือบ 2 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,181 วันที่ 7 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

http://www.thansettakij.com/2016/08/09/79963

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.