Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 สิงหาคม 2559 ทีมวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และศูนย์วิจัยและพัฒนา Microsoft Research ตั้งชื่อแท็ตทูนี้ว่า “ดูโอสกิน” (DuoSkin) จุดเด่นของแท็ตทูนี้ คือ การใช้วัสดุกึ่งทองคำเปลวมาประยุกต์ใช้กับการกดติดกับผิวหนังผู้ใช้ จนทำให้ผิวของผู้ใช้สามารถเป็นอินเทอร์เฟส (on-skin interface) สำหรับอุปกรณ์นานาชนิด

ประเด็นหลัก




ไม่เพียงแค่ดูเท่ห์เก๋ แต่แท็ตทูไฮเทคจากทีมวิจัยสถาบันเอ็มไอที และไมโครซอฟท์รีเสิร์ชนั้น สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์มากมายในอนาคตแน่นอน โดยแท็ตทูนี้สามารถเปลี่ยนผิวของผู้ใช้ให้เป็นพื้นที่ทัชสกรีนสำหรับควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ลื่นไหล
ทีมวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และศูนย์วิจัยและพัฒนา Microsoft Research ตั้งชื่อแท็ตทูนี้ว่า “ดูโอสกิน” (DuoSkin) จุดเด่นของแท็ตทูนี้ คือ การใช้วัสดุกึ่งทองคำเปลวมาประยุกต์ใช้กับการกดติดกับผิวหนังผู้ใช้ จนทำให้ผิวของผู้ใช้สามารถเป็นอินเทอร์เฟส (on-skin interface) สำหรับอุปกรณ์นานาชนิด



________________________________


MIT จับมือ Microsoft คลอดแท็ตทู “ทองเปลว” ไฮเทคควบคุมแก็ดเจ็ต


ไม่เพียงแค่ดูเท่ห์เก๋ แต่แท็ตทูไฮเทคจากทีมวิจัยสถาบันเอ็มไอที และไมโครซอฟท์รีเสิร์ชนั้น สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์มากมายในอนาคตแน่นอน โดยแท็ตทูนี้สามารถเปลี่ยนผิวของผู้ใช้ให้เป็นพื้นที่ทัชสกรีนสำหรับควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ลื่นไหล
ทีมวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และศูนย์วิจัยและพัฒนา Microsoft Research ตั้งชื่อแท็ตทูนี้ว่า “ดูโอสกิน” (DuoSkin) จุดเด่นของแท็ตทูนี้ คือ การใช้วัสดุกึ่งทองคำเปลวมาประยุกต์ใช้กับการกดติดกับผิวหนังผู้ใช้ จนทำให้ผิวของผู้ใช้สามารถเป็นอินเทอร์เฟส (on-skin interface) สำหรับอุปกรณ์นานาชนิด
เบื้องต้น ดูโอสกินถูกสาธิตรูปแบบการทำงานที่ต่างกันไว้ 3 แบบ แบบแรก คือ การใช้เป็นเครื่องมือป้อนข้อมูล หรือ input เพื่อควบคุมอุปกรณ์พกพา และคอมพิวเตอร์ โดยผิวของผู้ใช้สามารถแปลงร่างเป็น แทรกแพด (trackpad) ที่เมื่อเลื่อนนิ้วมือไปตามผิว เมาส์บนหน้าจอก็จะเลื่อนตามไปด้วย ขณะที่หากแตะ หรือถูผิว ระบบจะสามารถแสดงผลเหมือนถูกกดปุ่ม หรือเลื่อนหน้าจอขึ้นลง
แบบที่ 2 คือ การเปลี่ยนผิวของผู้ใช้ให้เป็นปัจจัยในการแสดงผล เช่น กรณีที่ระบบสามารถแสดงหน้าจอสีใหม่ตามอุณหภูมิร่างกายของผู้ใช้ที่เปลี่ยนไป ขณะที่แบบที่ 3 คือ แท็ตทูนี้สามารถเก็บข้อมูลที่สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ NFC อื่นสามารถอ่านค่าได้
Cindy Hsin-Liu Kao หนึ่งในผู้นำทีมนักวิจัย ระบุว่า ข้อดีของ DuoSkin คือ การผลิตที่ไม่ซับซ้อน โดยสามารถใช้ซอฟต์แวร์กราฟฟิกใดก็ได้ในการสร้างแพตเทิร์น หรือรูปแบบของวงจรไฟฟ้าก่อนจะปิดทับด้วยทองเปลวในชั้นบนสุดเพื่อผลในการนำไฟฟ้าที่ลื่นไหล
แน่นอนว่า นอกเหนือ DuoSkin โลกนี้มีงานวิจัยมากมายที่พยายามสร้างแท็ตทูไฮเทคที่เสนอตัวเป็นสินค้าไอทีสวมใส่ได้ หรือแวร์เอเบิลสำหรับคนหมู่มาก แต่ต้องยอมรับว่า DuoSkin มีความโดดเด่นเกินใครในด้านความเก๋ และน่าใช้งาน

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000081485&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+16-8-59&utm_campaign=20160815_m133529902_MGR+Morning+Brief+16-8-59&utm_term=MIT+_E0_B8_88_E0_B8_B1_E0_B8_9A_E0_B8_A1_E0_B8_B7_E0_B8_AD+Microsoft+_E0_B8_84_E0_B8_A5_E0_B8_AD_E0_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.