Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 สิงหาคม 2559 กสทช.ได้วางแผนคลื่นความถี่ในช่วง 5 ปีจากนี้ ลำดับแรกคลื่นความถี่ 2.6 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)ที่อยู่ในครอบครองของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ อยู่ระหว่างการเจรจาเรียกคืนคลื่นทั้งหมด 1900 MHz

ประเด็นหลัก


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวถึงการเตรียมการจัดสรรคลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคมว่า ผลการจากประมูลคลื่นความถี่ 1800 และ 900 MHz ได้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจถึง 1.3 ล้านล้านบาท ภายในเวลา 5 ปี

อย่างไรก็ความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นทำให้มีความจำเป็นต้องจัดสรรคลื่นความถี่ให้เพียงพอกับการใช้งาน โดยกสทช.ได้วางแผนคลื่นความถี่ในช่วง 5 ปีจากนี้ ลำดับแรกคลื่นความถี่ 2.6 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)ที่อยู่ในครอบครองของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ อยู่ระหว่างการเจรจาเรียกคืนคลื่นทั้งหมด 190 MHz โดยร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาและคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายนจะเปิดโอกาสให้มีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ถือครองคลื่นความถี่ ทั้งนี้ในจำนวนคลื่นทั้งหมด 190 MHz คลื่นจำนวน 70 MHz จะถูกนำมาจัดสรรคในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในปี 2560 โดยกสทช.คาดว่าจะออกใบอนุญาตได้ 3-4 ใบ ใบละ 20-25 MHz เพื่อให้บริการเทคโนโลยี 4G เป็นอย่างต่ำ

สำหรับคลื่น 1800 และ 850 MHz จำนวน 45  และ 10 MHz ตามลำดับ จะคงอยู่ในสัญญาสัมปทานจนกว่าจะหมดอายุสัมปทานในปี 2561 โดย กสทช.มีแผนนำคลื่นนี้มาทำการจัดสรรล่วงหน้าใหม่อย่างน้อย 6 เดือนก่อนสัญญาสัมปทานหมดอายุหรือประมาณไตรมาสแรกของปี 2561 โดยจะเริ่มเตรียมการประมูลตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 โดยจัดสรรคลื่นย่าน 1800 MHz  ออกเป็น 3 ใบอนุญาต และคลื่น 850 MHz 1ใบอนุญาต ส่วนคลื่นย่าน 700 MHz  ที่ประชุมระดับโลกว่าด้วยวิทยุโทรคมนาคมได้เห็นชอบแนวนโยบายที่ประเทศไทยจะนำคลื่นส่วนนี้มาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยกสทช.วางแผนที่จะจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz  ที่มีคลื่นความถี่รวม 45 MHz ออกเป็น 3 ใบอนุญาตโดยคาดว่าจะทำการประมูลได้อย่างเร็วที่สุดในปี 2563 ทั้งนี้การประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 5 ย่านข้างต้นถึงเป็นภารกิจที่ท้าทายกสทช.ในการสนับสนุนเครือข่ายโทรคมนาคมไทยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด



____________________________________________


5 ส.ค.59 พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า หลังจากการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และ 1800 MHz ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ถูกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีโมบายบรอดแบนด์ อย่างเต็มรูปแบบและ กสทช. มีเป้าหมายว่า ประเทศไทยจะต้องก้าวไปสู่อันดับที่ 2 ของอาเซียน ในการพัฒนาด้าน ICT ภายในปี 2017 และจะต้องเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน ภายในปี 2020

ดังนั้น แรงผลักระลอกแรกให้ประเทศไทยไปสู่อันดับที่ 2 ของอาเซียน คือการจัดสรรคลื่นความถี่ 4G 1800 และ 900 ครั้งที่ผ่านมา และระลอกต่อไปคือ การประมูลคลื่นความถี่ 1800 หลังจากหมดสัญญาสัมปทานในช่วงปลายปี 2561 เพื่อจะได้ผลักให้ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 1 ด้านไอซีที ของ อาเซียนภายในปี 2020 ในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้คาดว่า MIS Report 2016 ตัวเลขดัชนีขีดความสามารถด้านไอซีที ของประเทศไทยจะถูกดันให้สูงขึ้นจากผลพวงของการประมูลคลื่น 4G ในย่าน 900MHz และ 1800 MHz อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาหลังการประมูลคลื่น 3G ของประเทศไทย ทำให้การลงทุนในด้าน ICT เพิ่มมูลค่าให้กับระบบเศรษฐกิจของไทยในอัตราที่มากกว่าภาคส่วนอื่นๆ นอกจากผลประโยชน์ทางตรงที่มีต่อประชาชนและบรรดาบริษัทสัญชาติไทยแล้ว เทคโนโลยีไอซีที ยังส่งผลบวกทางอ้อมแก่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศในภาพรวม

อย่างไรก็ตามเราจึงสามารถเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นว่าประเทศไทยสามารถแสวงหาประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที ได้อย่างก้าวกระโดด อันดับแรกคือ ทำให้ตลาดภายในประเทศเกิดขึ้นใหม่ในการให้บริการดิจิตอล (Digital service) และ นักธุรกิจหน้าใหม่ (Start up ) จะส่งผลให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นผลิตซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับอุปสงค์ทางด้านดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล นอกจากนี้เทคโนโลยี ICT สามารถที่จะทำให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งในเชิงยุทธศาสตร์ในการเป็น Hub ด้าน Data center ไปจนถึงศูนย์กลางการเป็นอินเทอร์เน็ตเกตเวย์  ของอาเซียน ต่อไป

ซึ่งขณะนี้ กสทช. โดยบอร์ดกทค. กำลังดำเนินการผลักดันให้ใบอนุญาตการประกอบกิจการ Data center และ International Internet Gateway แก่บริษัทภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งถือว่าเป็นโครงการใหญ่ระดับหมื่นล้านขึ้นไป โดยขณะนี้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมดังกล่าว ได้เริ่มดำเนินการลงทุนแล้ว

สำหรับการผลักดันของ กสทช. ในครั้งนี้จะเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลและจะยังเป็นการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น ASEAN ICT Hub อย่างเป็นรูปธรรม

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวถึงการเตรียมการจัดสรรคลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคมว่า ผลการจากประมูลคลื่นความถี่ 1800 และ 900 MHz ได้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจถึง 1.3 ล้านล้านบาท ภายในเวลา 5 ปี

อย่างไรก็ความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นทำให้มีความจำเป็นต้องจัดสรรคลื่นความถี่ให้เพียงพอกับการใช้งาน โดยกสทช.ได้วางแผนคลื่นความถี่ในช่วง 5 ปีจากนี้ ลำดับแรกคลื่นความถี่ 2.6 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)ที่อยู่ในครอบครองของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ อยู่ระหว่างการเจรจาเรียกคืนคลื่นทั้งหมด 190 MHz โดยร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาและคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายนจะเปิดโอกาสให้มีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ถือครองคลื่นความถี่ ทั้งนี้ในจำนวนคลื่นทั้งหมด 190 MHz คลื่นจำนวน 70 MHz จะถูกนำมาจัดสรรคในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในปี 2560 โดยกสทช.คาดว่าจะออกใบอนุญาตได้ 3-4 ใบ ใบละ 20-25 MHz เพื่อให้บริการเทคโนโลยี 4G เป็นอย่างต่ำ

สำหรับคลื่น 1800 และ 850 MHz จำนวน 45  และ 10 MHz ตามลำดับ จะคงอยู่ในสัญญาสัมปทานจนกว่าจะหมดอายุสัมปทานในปี 2561 โดย กสทช.มีแผนนำคลื่นนี้มาทำการจัดสรรล่วงหน้าใหม่อย่างน้อย 6 เดือนก่อนสัญญาสัมปทานหมดอายุหรือประมาณไตรมาสแรกของปี 2561 โดยจะเริ่มเตรียมการประมูลตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 โดยจัดสรรคลื่นย่าน 1800 MHz  ออกเป็น 3 ใบอนุญาต และคลื่น 850 MHz 1ใบอนุญาต ส่วนคลื่นย่าน 700 MHz  ที่ประชุมระดับโลกว่าด้วยวิทยุโทรคมนาคมได้เห็นชอบแนวนโยบายที่ประเทศไทยจะนำคลื่นส่วนนี้มาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยกสทช.วางแผนที่จะจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz  ที่มีคลื่นความถี่รวม 45 MHz ออกเป็น 3 ใบอนุญาตโดยคาดว่าจะทำการประมูลได้อย่างเร็วที่สุดในปี 2563 ทั้งนี้การประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 5 ย่านข้างต้นถึงเป็นภารกิจที่ท้าทายกสทช.ในการสนับสนุนเครือข่ายโทรคมนาคมไทยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด




http://www.naewna.com/business/229027

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.