Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2559 Marketbuzzz (มาร์เก็ตบัซซ) ได้สำรวจผู้บริโภคบนฐานข้อมูลของบัซซี่บีส์ ในหัวข้อ "คุณทำอะไรกับมือถือขณะที่ช็อปปิ้งในร้านค้า" แหล่งข้อมูลที่ใช้ขณะที่อยู่ในร้านค้าส่วนใหญ่ตอบว่าใช้โซเชียลมีเดีย 61% ตามด้วยเครื่องมือสืบค้น (Search Engines) 35%, เว็บไซต์ร้านค้า 29%, แอปพลิเคชั่นร้านค้า 28% และเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นร้านค้าอื่น ๆ อีก 27%

ประเด็นหลัก
แหล่งข้อมูลที่ใช้ขณะที่อยู่ในร้านค้าส่วนใหญ่ตอบว่าใช้โซเชียลมีเดีย 61% ตามด้วยเครื่องมือสืบค้น (Search Engines) 35%, เว็บไซต์ร้านค้า 29%, แอปพลิเคชั่นร้านค้า 28% และเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นร้านค้าอื่น ๆ อีก 27%

ผลสำรวจเชิงลึกยังพบว่า ขณะที่ผู้บริโภคกำลังช็อปปิ้งและใช้มือถือในร้านค้า มีนักช็อป 77% อ้างว่ายังคงค้นหาสินค้าอื่น ๆ ไปด้วย โดย 56% ใช้เพื่อเปรียบเทียบราคา อีก 47% ส่งรูปภาพสินค้าที่คิดว่าจะซื้อให้เพื่อนดู 47% ติดต่อร้านค้าหรือแบรนด์สินค้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก

จากผลสำรวจแสดงให้เห็นว่านักช็อปพยายามใช้ประโยชน์จากมือถืออย่างเต็มที่ ขณะที่ร้านค้าหรือแบรนด์สินค้ามองข้ามความสำคัญในการใช้มือถือขณะที่อยู่ในร้านค้า

และพบว่ามีเพียง 19% ของนักช็อปที่ได้รับคำแนะนำจากร้านค้าในขณะที่ตนอยู่ในร้าน และ 15% ได้รับข้อเสนอที่เหมาะสมจากร้านค้าใกล้เคียงผ่าน GPS และนักช็อปอีก 15% เลือกชำระค่าสินค้าผ่านมือถือที่จุดแคชเชียร์

"ร้านค้าและแบรนด์ควรตระหนักถึงโอกาสธุรกิจที่ขยายตัวได้จากช่องทางการตลาดบนมือถือ หากมีการให้ข้อมูล โปรโมชั่นสินค้าราคาพิเศษที่มีในร้าน, สินค้าที่เกี่ยวข้องกันที่มีขายในร้านค้า, ที่ตั้งร้านค้าที่มีสินค้านั้นที่ใกล้ที่สุด และราคาของสินค้าในร้านค้าใกล้เคียง"

ชัดเจนว่ามือถือนำไปสู่กระบวนการซื้อ โดยเฉพาะการค้นหาระหว่างเดินทางหรือแม้แต่อยู่ในร้าน เป็นเรื่องการเชื่อมต่อระหว่างร้านค้าและนักช็อปในช่วงเวลาที่เหมาะสม ทำให้แบรนด์และร้านค้าต้องปรับรูปแบบการค้าเพื่อขยายโอกาสและเพิ่มประสบการณ์ธุรกิจใหม่ ๆ
_______________________________________________ เจาะลึกพฤติกรรม "นักช็อป" สมาร์ทโฟนเพิ่มโอกาสการขาย

มีบทบาทเพิ่มขึ้นทุกทีสำหรับสมาร์ทโฟนกับการช็อปปิ้ง โดย Marketbuzzz (มาร์เก็ตบัซซ) ได้สำรวจผู้บริโภคบนฐานข้อมูลของบัซซี่บีส์ ในหัวข้อ "คุณทำอะไรกับมือถือขณะที่ช็อปปิ้งในร้านค้า" โดยสำรวจผู้ใช้สมาร์ทโฟน 1,000 คนในประเทศไทยเมื่อ พ.ค. 2559 ที่ผ่านมา พบว่า 99% ยอมรับว่าใช้มือถือขณะช็อปปิ้งในร้านค้า โดย 7 ใน 10 ของกลุ่ม 99% ระบุว่า ใช้มือถือทั้งก่อนช็อปปิ้งและขณะที่ช็อปปิ้ง

เมื่อเจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคที่สนใจหมวดสินค้าในแต่ละประเภทที่แตกต่างกันเพื่อวิเคราะห์ว่ามือถือมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในแต่ละหมวดสินค้ามากน้อยเพียงใด โดยต้องการทราบถึงตัวเลขสถิติในกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้มือถือทั้งก่อนช็อปปิ้งและในขณะที่ช็อปปิ้งมีอัตราส่วนเท่าใดพบว่าหมวดสินค้าบ้านและสวนมีผู้ใช้มือถือทั้งก่อนและขณะที่อยู่ในร้านค้ามากที่สุด 80%, หมวดเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งบ้าน 78%, หมวดสุขภาพและยาบำรุงรักษาโรค 77%, หมวดเครื่องประดับ และหมวดของใช้ส่วนตัว และสินค้าสำหรับเด็กอยู่ที่ 76% เท่ากัน, หมวดท่องเที่ยวเดินทาง, หมวดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 75% เท่ากัน, หมวดสินค้ากีฬาและงานอดิเรก 74%, หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 72%, หมวดคอมพิวเตอร์ 70%, หมวดหนังสือ ดนตรี แฟชั่นและเครื่องประดับ 69%

"แกรนท์ บาร์โทลี่" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Marketbuzzz บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด กล่าวว่า อัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันมาก แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นสินค้าหมวดหมู่ใด บรรดานักช็อปก็ใช้มือถือเป็นตัวช่วย สิ่งที่สำคัญและน่าจับตามองคือ บทบาทของมือถือกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทรงอิทธิพลมากจนทำให้พฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งหมายรวมถึงนักช็อปเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ซึ่งในยุคดิจิทัลการเชื่อมโยงเข้าถึงข้อมูลเป็นเรื่องง่าย จึงเป็นโอกาสของร้านค้าและแบรนด์สินค้าในการสร้างอิทธิพลที่มีต่อพฤติกรรมในการช็อปปิ้ง

แหล่งข้อมูลที่ใช้ขณะที่อยู่ในร้านค้าส่วนใหญ่ตอบว่าใช้โซเชียลมีเดีย 61% ตามด้วยเครื่องมือสืบค้น (Search Engines) 35%, เว็บไซต์ร้านค้า 29%, แอปพลิเคชั่นร้านค้า 28% และเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นร้านค้าอื่น ๆ อีก 27%

ผลสำรวจเชิงลึกยังพบว่า ขณะที่ผู้บริโภคกำลังช็อปปิ้งและใช้มือถือในร้านค้า มีนักช็อป 77% อ้างว่ายังคงค้นหาสินค้าอื่น ๆ ไปด้วย โดย 56% ใช้เพื่อเปรียบเทียบราคา อีก 47% ส่งรูปภาพสินค้าที่คิดว่าจะซื้อให้เพื่อนดู 47% ติดต่อร้านค้าหรือแบรนด์สินค้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก

จากผลสำรวจแสดงให้เห็นว่านักช็อปพยายามใช้ประโยชน์จากมือถืออย่างเต็มที่ ขณะที่ร้านค้าหรือแบรนด์สินค้ามองข้ามความสำคัญในการใช้มือถือขณะที่อยู่ในร้านค้า

และพบว่ามีเพียง 19% ของนักช็อปที่ได้รับคำแนะนำจากร้านค้าในขณะที่ตนอยู่ในร้าน และ 15% ได้รับข้อเสนอที่เหมาะสมจากร้านค้าใกล้เคียงผ่าน GPS และนักช็อปอีก 15% เลือกชำระค่าสินค้าผ่านมือถือที่จุดแคชเชียร์

"ร้านค้าและแบรนด์ควรตระหนักถึงโอกาสธุรกิจที่ขยายตัวได้จากช่องทางการตลาดบนมือถือ หากมีการให้ข้อมูล โปรโมชั่นสินค้าราคาพิเศษที่มีในร้าน, สินค้าที่เกี่ยวข้องกันที่มีขายในร้านค้า, ที่ตั้งร้านค้าที่มีสินค้านั้นที่ใกล้ที่สุด และราคาของสินค้าในร้านค้าใกล้เคียง"

ชัดเจนว่ามือถือนำไปสู่กระบวนการซื้อ โดยเฉพาะการค้นหาระหว่างเดินทางหรือแม้แต่อยู่ในร้าน เป็นเรื่องการเชื่อมต่อระหว่างร้านค้าและนักช็อปในช่วงเวลาที่เหมาะสม ทำให้แบรนด์และร้านค้าต้องปรับรูปแบบการค้าเพื่อขยายโอกาสและเพิ่มประสบการณ์ธุรกิจใหม่ ๆ

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1469695954

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.