Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 กรกฎาคม 2559 TOT ช่วง 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) ขาดทุนสุทธิ 6,572 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 212 ล้านบาท เมื่อช่วงเดียวกันของปี’58 สาเหตุมาจากรายได้จากการให้บริการ 10,336 ล้านบาท ลดลง 7 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ทั้งปีคาดว่าจะมีรายได้ 51,507 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 11,252 ล้านบาท

ประเด็นหลัก


ผู้สื่อข่าวรายงานจากบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)ว่า เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้บริหารทีโอที ได้รายงานให้คณะกรรมการ(บอร์ด)ที่มีพล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานบอร์ด ได้รับทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ( ม.ค.-พ.ค.59) โดยมีความกังวล ถึงกระแสเงินสดที่ลดลงอย่างมาก ณ สิ้นเดือน พ.ค.กระแสเงินสดอยู่ที่ 1,241 ล้านบาท และเมื่อรวมเงินสดสำรอง 12,570 ล้านบาท เงินสำรองเพื่อไถ่ถอนหนี้ 24,210 ล้านบาท จะทำให้มีเงินสดคงเหลือ 38,021 ล้านบาท แต่หากไม่รวมเงินสำรองเพื่อไถ่ถอนหนี้แล้วจะทำให้ปี’59 อาจมีกระแสเงินสดไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน

ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้กระแสเงินสดลง เนื่องจากทีโอที มีภาระค่าใช้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 3.75% วงเงิน 763 ล้านบาท โครงการลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ (เออร์ลี่รีไทร์) 715 ล้านบาท มีภาระลงทุนและหนี้สิน 2,764 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากการถูกประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) ของบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จากการจ่ายค่าส่วนแบ่งรายได้อีก 2,938 ล้านบาท







___________________________________________________________



ผู้สื่อข่าวรายงานจากบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)ว่า เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้บริหารทีโอที ได้รายงานให้คณะกรรมการ(บอร์ด)ที่มีพล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานบอร์ด ได้รับทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ( ม.ค.-พ.ค.59) โดยมีความกังวล ถึงกระแสเงินสดที่ลดลงอย่างมาก ณ สิ้นเดือน พ.ค.กระแสเงินสดอยู่ที่ 1,241 ล้านบาท และเมื่อรวมเงินสดสำรอง 12,570 ล้านบาท เงินสำรองเพื่อไถ่ถอนหนี้ 24,210 ล้านบาท จะทำให้มีเงินสดคงเหลือ 38,021 ล้านบาท แต่หากไม่รวมเงินสำรองเพื่อไถ่ถอนหนี้แล้วจะทำให้ปี’59 อาจมีกระแสเงินสดไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน

ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้กระแสเงินสดลง เนื่องจากทีโอที มีภาระค่าใช้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 3.75% วงเงิน 763 ล้านบาท โครงการลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ (เออร์ลี่รีไทร์) 715 ล้านบาท มีภาระลงทุนและหนี้สิน 2,764 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากการถูกประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) ของบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จากการจ่ายค่าส่วนแบ่งรายได้อีก 2,938 ล้านบาท

ส่วนผลการดำเนินงานในช่วง 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) ขาดทุนสุทธิ 6,572 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 212 ล้านบาท เมื่อช่วงเดียวกันของปี’58 สาเหตุมาจากรายได้จากการให้บริการ 10,336 ล้านบาท ลดลง 7 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ทั้งปีคาดว่าจะมีรายได้ 51,507 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 11,252 ล้านบาท

ทั้งนี้หากแยกรายได้ตามกลุ่มธุรกิจ โดยกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมมีรายได้ 923 ล้านบาท กลุ่มอินเตอร์เนตเกตเวย์ระหว่างประเทศ มีกำไร 119 ล้านบาท กลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ขาดทุน 3,638 ล้านบาท กลุ่มบริการด้านไอที,ไอดีซี และคลาวด์ ขาดทุน 129 ล้านบาท ขณะที่รายได้ที่คาดหวังว่าจะได้จากการให้เอไอเอสเช่าเสาโทรคมนาคม 3,600 ล้านบาท รายได้จากการเช่าอุปกรณ์โทรคมนาคม 2 จี วงเงิน 2,000 ล้านบาท ก็ยังไม่สามารถลงนามในสัญญาได้

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา สหภาพรัฐวิสาหกิจทีโอทีได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อกดดันฝ่ายบริหารอย่างหนักหลังจากเห็นว่าโครงการลงทุนต่างๆ ของทีโอทีไม่มีความคืบหน้า และ มีการทำเอกสารร่อนภายในองค์กรจี้ให้บอร์ดและฝ่ายบริหารลงมาชี้แจงเกี่ยวกับอนาคตองค์กรทีโอที

ทั้งนี้ในแผนฟื้นฟูที่สหภาพเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารเร่งให้ความกระจ่างก็คือ การลงนามในสัญญาร่วมทุนกับพันธมิตรธุรกิจคือบริษัท เอไอเอส ที่คาดว่าจะทำให้ทีโอทีมีรายได้จากการนำเอาทรัพย์สิน เสา และอุปกรณ์โทรคมนาคม 2 จี และ 3 จีไปใช้ ที่จะทำให้มีรายได้รวมกว่าปีละ 9,000-10,000 ล้านบาทหรือคิดเป็น 50% ของค่าสัมปทานที่ทีโอทีเคยได้รับ

http://www.naewna.com/business/226754

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.