Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 กรกฎาคม 2559 CAT และ TOT ระบุ พนักงานจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการนำไปสู่การตั้งบริษัทลูกนั้นจะไม่ใช่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่จะเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนได้ ซึ่งหากมาร่วมลงทุนในสัดส่วน 51% เท่ากับเป็นการขายทรัพย์สินของชาติให้เอกชน

ประเด็นหลัก




โดยที่ในช่วงเช้าของวันที่ 11ก.ค.ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของทั้ง 2 บริษัท คือ ทีโอที และ กสท ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการปรับโครงสร้างรูปแบบดังกล่าว โดย นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพฯ กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า พนักงานไม่เห็นด้วยต่อการนำทรัพย์สินของทั้ง 2 บริษัทมาตั้งเป็นบริษัทลูก เนื่องจากทั้งคู่ต่างมีธุรกิจที่ต้องประกอบกิจการ และถือว่าเป็นผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมของประเทศ ถามว่าทั้ง 2 บริษัทมีการลงทุนที่ซ้ำซ้อนกันหรือไม่ ก็ไม่ใช่ เพราะ กสท โทรคมนาคม มีเคเบิลใต้น้ำ ขณะที่ ทีโอที ไม่มี หรือจะบอกว่ามีโครงข่ายแบ็กโบนเหมือนกันก็ต้องบอกว่าทั้งคู่ก็มีลูกค้าที่ต้องให้บริการ เพราะทั้งคู่ก็คือผู้ประกอบการ แต่หากรัฐบาลจะกำหนดถึงโครงข่ายที่สร้างใหม่ ไม่นำทรัพย์สินที่รัฐวิสาหกิจมีอยู่ก็อีกเรื่องหนึ่ง ตนเองยอมรับได้
ทั้งนี้ พนักงานจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการนำไปสู่การตั้งบริษัทลูกนั้นจะไม่ใช่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้วนำทรัพย์สินไปให้เอกชน พนักงานจะได้รับความเดือดร้อนหรือไม่ ระยะยาวบริษัทลูกจะไปรอดหรือเปล่า ซึ่งตนเองทราบมาว่า การตั้งบริษัทลูกจะเป็นรูปแบบรัฐวิสาหกิจก่อน 3 ปี จากนั้นจะเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนได้ ซึ่งหากมาร่วมลงทุนในสัดส่วน 51% เท่ากับเป็นการขายทรัพย์สินของชาติให้เอกชน






__________________________________________________________________




สหภาพฯ กสท ประสานเสียงทีโอทีไม่เอาบริษัทลูก


สหภาพฯ กสท โทรคมนาคม จับมือสหภาพฯ ทีโอที ยื่นหนังสือถึง “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี ค้านนำทรัพย์สินมารวมกันเพื่อตั้งบริษัทลูก แฉเกาไม่ถูกที่คัน หวั่นเอื้อประโยชน์ทรูฯ ชี้ทรัพย์สินโทรคมนาคมต้องเป็นของรัฐ อย่าชำแหละให้เอกชน นับวันรอไอซีทีชี้แจงหากตอบไม่ได้ว่าทำเพื่อชาติ พนักงานพร้อมลุกสู้
จากการที่ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คนร. เปิดเผยผลการประชุม คนร. ครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า คนร. ได้รับทราบการปรับโครงสร้างของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ด้วยการจัดตั้งบริษัทลูก 3 บริษัท เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินของทีโอที และ กสท ได้แก่ 1.บริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์ภายในประเทศ (NBN CO) 2.บริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศ (NGN CO) และ 3.บริษัทศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (IDC CO) โดยให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กำกับให้ทีโอที และ กสท จัดทำรายละเอียดของแผนการดำเนินกิจการของทั้ง 3 บริษัท และดำเนินการสื่อสารทำความเข้าใจต่อพนักงานของทีโอที และ กสท ต่อไป
โดยที่ในช่วงเช้าของวันที่ 11ก.ค.ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของทั้ง 2 บริษัท คือ ทีโอที และ กสท ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการปรับโครงสร้างรูปแบบดังกล่าว โดย นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพฯ กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า พนักงานไม่เห็นด้วยต่อการนำทรัพย์สินของทั้ง 2 บริษัทมาตั้งเป็นบริษัทลูก เนื่องจากทั้งคู่ต่างมีธุรกิจที่ต้องประกอบกิจการ และถือว่าเป็นผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมของประเทศ ถามว่าทั้ง 2 บริษัทมีการลงทุนที่ซ้ำซ้อนกันหรือไม่ ก็ไม่ใช่ เพราะ กสท โทรคมนาคม มีเคเบิลใต้น้ำ ขณะที่ ทีโอที ไม่มี หรือจะบอกว่ามีโครงข่ายแบ็กโบนเหมือนกันก็ต้องบอกว่าทั้งคู่ก็มีลูกค้าที่ต้องให้บริการ เพราะทั้งคู่ก็คือผู้ประกอบการ แต่หากรัฐบาลจะกำหนดถึงโครงข่ายที่สร้างใหม่ ไม่นำทรัพย์สินที่รัฐวิสาหกิจมีอยู่ก็อีกเรื่องหนึ่ง ตนเองยอมรับได้
ทั้งนี้ พนักงานจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการนำไปสู่การตั้งบริษัทลูกนั้นจะไม่ใช่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้วนำทรัพย์สินไปให้เอกชน พนักงานจะได้รับความเดือดร้อนหรือไม่ ระยะยาวบริษัทลูกจะไปรอดหรือเปล่า ซึ่งตนเองทราบมาว่า การตั้งบริษัทลูกจะเป็นรูปแบบรัฐวิสาหกิจก่อน 3 ปี จากนั้นจะเปิดให้เอกชนมาร่วมลงทุนได้ ซึ่งหากมาร่วมลงทุนในสัดส่วน 51% เท่ากับเป็นการขายทรัพย์สินของชาติให้เอกชน
“ผมว่าผู้ใหญ่ที่ดูเรื่องนี้ไม่เข้าใจโครงสร้างการทำงานของธุรกิจโทรคมนาคม ไม่เข้าใจวัฒนธรรมองค์กรของทั้ง 2 บริษัท การตั้งบริษัทลูกไม่ใช่การแก้ปัญหา ทำไมเขาไม่แก้ที่ปัญหาภายใน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบอร์ดที่ไร้ประสิทธิภาพ การทำงานยังเป็นการทำงานแบบราชการ จะทำอะไรแต่ละอย่างก็มีขั้นตอนเยอะ ทำให้ฝ่ายบริหารทำงานลำบาก ทั้งๆ ที่เรามีแผน และมีความพร้อมในการเดินหน้าทำธุรกิจ ผลประกอบการเรามีกำไร และผมก็ไม่เข้าใจ นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ตอนที่เป็นบอร์ดซึ่งดูแลเรื่องนี้โดยตรงทำไมไม่มีความเห็นอะไร แต่พอได้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีไอซีที กลับเร่งทำเพื่อให้มีผลงานหรือไม่ คนในกระทรวงเองก็ไม่มีความเข้าใจในการแก้ปัญหา ตอนนี้บอกเลยว่าคนจากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เข้าไปนั่งเป็นที่ปรึกษาเรื่องนี้ในฐานะสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 6-7 คน คงไม่ต้องบอกก็รู้ว่ามันมีผลประโยชน์ทับซ้อน และใครจะได้ผลประโยชน์จากทรัพย์สินของเรา ขอเถอะครับอย่าเอารถยนต์ของเราไปชำแหละขายให้คนอื่นเลย”
นายสังวรณ์ กล่าวย้ำว่า พนักงานทั้งหมดยังรอให้กระทรวงไอซีทีเข้ามาชี้แจง หากตอบคำถามไม่ได้ว่า มันไม่ได้นำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ พนักงานต้องไม่เดือดร้อน และบริษัทลูกในอนาคตอยู่รอดหรือไม่ ความชัดเจนในการบริหารงานเป็นรูปแบบไหน หากต้องมีบอร์ดจะมาจากที่ไหนบ้าง และแนวคิดการตั้งบริษัทลูกต้องไม่ใช่การนำทรัพย์สินไปขายให้เอกชน ไม่เช่นนั้นพนักงานทั้งหมดไม่ยอมแน่นอน
“ถ้ารูปแบบการได้มาของบอร์ดยังเป็นเหมือนเดิมมันก็ไม่รอด เห็นได้ชัดที่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ตั้งบริษัทลูกเกี่ยวกับลอจิสติกส์ ก็ยังไปไม่รอดเลย นอกจากนี้ ที่ผ่านมาทีโอที กับ กสท โทรคมนาคม ก็เคยทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือร่วมกันแต่ก็ไม่รอด เพราะวัฒนธรรมองค์กรของทั้ง 2 ต่างกัน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลมีความชัดเจน และเสนอให้แก้ปัญหาด้วยการสร้างศักยภาพให้แก่รัฐวิสาหกิจ เพราะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างโทรคมนาคมรัฐต้องเป็นผู้ลงทุน และดูแล ทั้งนี้ เพื่อความมั่นคงของประเทศ ส่วนเอกชนต้องไม่ลงทุนซ้ำซ้อนกับรัฐ ควรสร้างเสริมจากโครงสร้างหลักที่รัฐลงทุนไปแล้ว ไม่ใช่พูดว่าแข่งกับเอกชนไม่ได้ก็ไม่ต้องแข่ง เพราะนั่นคือคำพูดที่นายทุนเขาพูดกัน”
นายสังวรณ์ กล่าวว่า ก่อนหน้าที่ คนร.จะประชุม และมีมติดังกล่าวออกมาเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2559 สหภาพฯ ได้ออกแถลงการณ์ภายในเพื่อคัดค้านแนวคิดดังกล่าวด้วย แต่เนื่องจากขณะนี้มี นายสุรพันธ์ เมฆนาวิน กรรมการ และรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ จึงไม่กล้าตัดสินใจใดๆ เพราะทำหน้าที่เพียงรักษาการเท่านั้น
ขณะที่ นายอนุชิต ธูปเหลือง รองประธานสหภาพฯ ทีโอที กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาให้ถูกจุด เพราะที่ผ่านมา ทีโอทีมีการปรับโครงสร้างรอบที่ 2 ตามที่ คนร.ได้แบ่งกลุ่มธุรกิจให้แล้ว แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่าทีโอทีจะอยู่รอดได้อย่างไร พนักงานไม่เชื่อในสิ่งที่ผู้บริหารทำ ซึ่งเมื่อวันที่ 6 ก.ค.2559 สหภาพฯ ได้ทำหนังสือขอนัดหมายกับ นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที เพื่อขอความชัดเจนในการขับเคลื่อนทีโอที ตามการปรับโครงสร้างใหม่ รวมถึงเรื่องแผนธุรกิจต่างๆ ที่บอกว่าจะทำแต่ก็ไม่คืบหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเป็นพันธมิตรกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กับคลื่น 2100 MHz หรือแม้แต่ที่เมื่อเร็วๆ นี้ ที่มีการถ่ายรูปเช่าสัญญาณกันกับเอไอเอสก็ไม่ชัดเจนว่ารายได้ที่ได้มาสมเหตุสมผลหรือไม่ ตลอดจนเรื่องการส่งมอบทรัพย์สินต่างๆ ของเอไอเอสมีความคืบหน้าอย่างไร โดยขณะนี้วันเวลาที่นัดคุยกันตั้งแต่แรกคือ วันที่ 7 ก.ค.นั้นทั้ง 2 ฝ่ายยังว่างไม่ตรงกัน จึงขอนัดคุยกันในวันที่ 14 ก.ค. ที่จะถึงนี้


http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000069375&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+10-7-59&utm_campaign=20160712_m132827304_MGR+Morning+Brief+10-7-59&utm_term=_E0_B8_AA_E0_B8_AB_E0_B8_A0_E0_B8_B2_E0_B8_9E+_E0_B8_AF_E0_B8_81_E0_B8_AA_E0_B8_97+_E0_B8_9B_E0_B8_A

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.