Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 กรกฎาคม 2559 CAT ระบุ แผนลดขนาดองค์กร และลดจำนวนพนักงานจำนวนรวมหลายพันคน จนอาจถึง 10,000 คน ด้วยข้ออ้างว่า เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายขององค์กร ซึ่งสวนทางกับนโยบายของภาครัฐ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ) และการปรับลดพนักงานโดยไม่คำนึงถึงการเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

ประเด็นหลัก









ผลกระทบจากการปรับลดพนักงานด้านระบบโทรคมนาคม เป็นการลดโอกาสการพัฒนาองค์กร สร้างภาระต่อสังคม รวมถึงรัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาอนาคตประเทศไทยไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0 และ Digital Economy ที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถของทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยี แต่แนวทางแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ และแผนของกระทรวงไอซีทีในการปรับโครงสร้างองค์กร กสท มิได้นำบุคลากรเหล่านี้ไปพัฒนาให้เป็นกำลังสำคัญในระบบเศรษฐกิจใหม่ (ซึ่งบุคลากรเหล่านี้มีทักษะในการทำงานต่างๆ เป็นบุคลากรที่มีความสามารถในด้านการสื่อสาร ด้านโทรคมนาคม ไอที หลากหลายสาขามายาวนาน องค์ความรู้เหล่านี้จะหายไปเมื่อถูกออกจากงาน)

โดยแผนลดขนาดองค์กร และลดจำนวนพนักงานจำนวนรวมหลายพันคน จนอาจถึง 10,000 คน ด้วยข้ออ้างว่า เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายขององค์กร ซึ่งสวนทางกับนโยบายของภาครัฐ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ) และการปรับลดพนักงานโดยไม่คำนึงถึงการเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ที่จะได้รับการปฏิบัติ และพัฒนาอย่างยุติธรรม มีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า พึ่งพาตัวเองได้ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ในที่สุดก็จะเกิดปัญหาการว่างงานโดยพนักงานไม่มีความผิด และปัญหาครอบครัวก็จะตามมา จะย้อนกลับไปเป็นภาระการดูแลของรัฐอยู่นั่นเอง








________________________________________



“สหภาพฯ” วัดพลัง “ไอซีที” ต้านหักคอแปรรูป


ไอซีที ส่งหนังสือด่วนเชิญประธานสหภาพฯ 2 รัฐวิสาหกิจ กสท-ทีโอที ชี้แจงแผนปรับองค์กรร่วมกัน 28 ก.ค.นี้ ด้าน “สังวรณ์” ประธานสหภาพฯ กสท กางบทวิเคราะห์แจงมีผลเสียหลายด้าน เตรียมนัดพนักงานชุมนุมชี้แจงในวันเดียวกันหลังเข้าพบกระทรวงไอซีที
นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ทำหนังสือด่วนถึงตนเอง และประธานสหภาพฯ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ขอนัดประชุมหารือร่วมกัน เรื่องแผนการแก้ไขปัญหาของทั้ง 2 บริษัท ในวันที่ 28 ก.ค. เวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุม 702 ชั้น 7 สำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที เพื่อหารือชี้แจงทำความเข้าใจกรอบแนวทางการดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาของ ทีโอที และ กสท โดยเชิญประธานสหภาพฯ ทั้ง 2 แห่ง และผู้ที่เกี่ยวข้องแห่งละไม่เกิน 5 คน เข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้ ตนเองคิดว่าจะเข้าร่วมประชุม หลังจากนั้น จะนัดพนักงานชุมนุมเพื่อชี้แจงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการแปรรูปครั้งนี้ ในวันเดียวกัน เวลา 11.30 น. ที่ลานหน้าธนาคารกรุงไทย แทน เนื่องจากเห็นว่า การกระทำดังกล่าวจะเป็นการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาฮุบสมบัติของชาติหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลกระทบหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นต่อบริษัท เศรษฐกิจ และสังคม รวมไปถึงความมั่นคงของระบบโทรคมนาคม ตลอดจนพนักงานที่จะถูกปรับด้วย
***ผลกระทบหลายด้าน “แยแสบ้างมั้ย”
โดยที่สหภาพฯ กสท ออกแถลงการณ์ระบุว่า การปรับเปลี่ยนโครงสร้างดังกล่าว โดยให้มีการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นใหม่อีก 3 แห่ง ที่มิได้อยู่ภายใต้การกำกับของบริษัทแม่ ซึ่งต่างจากบริษัทเอกชนที่เป็นบริษัทคู่แข่ง เช่น ทรู, เอไอเอส, ดีแทค, 3BB ต่างก็มีบริษัทลูกภายใต้การกำกับของบริษัทแม่ ทุกบริษัทล้วนมีโครงข่ายใช้งานเป็นของตัวเอง โดยบริษัทลูกที่จัดตั้งขึ้นมานั้น ประกอบธุรกิจที่แบ่งแยกหน้าที่กันชัดเจน แต่เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทในเครือซึ่งกันและกัน
ดังนั้น รูปแบบโครงสร้างที่กระทรวงไอซีทีกำหนดให้ จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาตามนโยบายเพื่อการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่สร้างปัญหาให้กับ 2 องค์กร และผู้ใช้บริการมากขึ้น ทำให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 องค์กร อ่อนแอลง หากดำเนินการแล้วขาดทุน ใครจะรับผิดชอบ จะเป็นการเปิดช่องให้เอกชนเข้ามาฮุบเอาสมบัติชาติไปครอบครองหรือไม่อย่างไร โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ องค์กร พนักงาน ความสำคัญของรัฐวิสาหกิจ และความมั่นคงของประเทศ
สำหรับผลกระทบต่อบริษัท เมื่อถูกแยกโครงสร้างพื้นฐาน และโครงข่ายหลักออกจากกัน ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้ครอบคลุมเบ็ดเสร็จในตัวองค์กรเอง ทำให้ขาดโอกาสทางธุรกิจในการนำโครงข่ายพื้นฐานมาบูรณาการร่วมกัน เพื่อสร้างบริการ Convergence ใหม่ๆ ไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่แต่ละรายมีโครงข่ายพื้นฐานเป็นของตนเอง และให้บริการอย่างครบวงจร
เมื่อองค์กรมีขนาดเล็กลง อำนาจการต่อรอง หรือความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจก็ลดลงด้วย การหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรก็ยากขึ้น ขั้นตอนการบริหารจัดการ และการดำเนินงานที่ซับซ้อนมากขึ้น ขาดผู้รับผิดชอบภาพรวมอย่างแท้จริง ทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจเพื่อการแข่งขันกับเอกชน ไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ผู้ใช้บริการอาจประสบปัญหา และขาดความเชื่อมั่นในบริการ ทำให้สูญเสียฐานลูกค้า
บริษัทลูกที่ตั้งขึ้นใหม่เน้นทำธุรกิจขายส่งวงจรเพียงอย่างเดียว รายได้ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระยะยาว ผู้ประกอบการเอกชนต่างมีโครงข่าย และ Gateway เป็นของตนเอง ไม่อาจหารายได้เพิ่มจากผู้ประกอบการรายอื่นก็จะประสบปัญหาขาดทุน เพราะนโยบาย Open Access เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ โดยไม่รวมเอกชน ทำให้หน่วยงานภาครัฐเสียเปรียบไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ ผู้ใช้บริการไม่เชื่อมั่น อาจสูญเสียฐานลูกค้าที่ใช้บริการอยู่แล้ว เนื่องจากความไม่ชัดเจนในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจใหม่ ต้นทุนบริการสูงขึ้น ความสามารถในการแข่งขันลดลงจะทำให้ผลประกอบการอยู่ในภาวะขาดทุน และถูกยุบหรือยกเลิกในที่สุด
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การแยกโครงข่ายหลักออกไปตั้งบริษัทใหม่จะลดศักยภาพการพัฒนาสินค้า และบริการ และความเข้มแข็งในการแข่งขันทำให้ตลาดเข้าสู่ภาวะการแข่งขันไม่สมบูรณ์ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการรายใหญ่ 3 ราย ครอบครองตลาดถึง 80% เมื่อผู้ให้บริการรายใหญ่มีอำนาจเหนือตลาด จะกีดกันคู่แข่ง และมีพฤติกรรมการแข่งขันไม่เป็นธรรม ตลาดขาดการพัฒนา ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะบริการโทรคมนาคมเป็นบริการพื้นฐานที่สาขาเศรษฐกิจอื่นจำเป็นต้องใช้ เช่น เศรษฐกิจการค้า การศึกษา การสาธารณสุข การพัฒนาจะเกิดได้เมื่อมีการแข่งขันที่มากขึ้น การสนับสนุน บมจ.กสท โทรคมนาคม ให้มีโครงข่ายที่ครบถ้วน จะสร้างความเข้มแข็ง มีโอกาสร่วมพัฒนากับผู้ประกอบการรายอื่นให้นำเทคโนโลยี หรือการประยุกต์ใช้บริการมาต่อยอด จะส่งเสริมการขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นโยบายพัฒนาประเทศ ด้านโทรคมนาคม เพื่อความมั่นคงอย่างยั่งยืน เช่น แผนเศรษฐกิจดิจิตอล ต้องใช้ระบบโครงข่ายเป็นฐานรากสำคัญในการผลักดันให้เกิดห่วงโซ่แห่งการพัฒนา มูลค่า กสท เป็นกิจการ Operator ของรัฐ มีจุดแข็งที่สร้าง และดูแลโครงข่าย เพื่อให้บริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และสามารถเชื่อมต่อได้ทั่วโลก สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือรองรับแผนพัฒนาดังกล่าวได้
ผลกระทบทางสังคม กสท เป็นเครื่องมือของรัฐ เพื่อใช้ถ่วงดุลป้องกันการผูกขาด แบ่งปันโอกาส และสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงการสื่อสารเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยความยุติธรรม เพื่อความสงบสุขในสังคม ระบบเศรษฐกิจปัจจุบันมีปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ ช่องว่างรายได้ประชากรกว้างขึ้น รัฐวิสาหกิจที่รัฐเป็นเจ้าของจะช่วยลดปัญหาขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ทุน กับส่วนรวม
นโยบายรัฐบาลที่ให้ลดบทบาทภาครัฐมิให้แข่งขันกับภาคเอกชน โดยเร่งการยกเลิกรัฐวิสาหกิจ แบ่งแยกธุรกิจ หรือแปรรูปรัฐวิสาหกิจไปเป็นเอกชน จะซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกัน เพราะขาดกลไกรักษาระดับราคาที่เป็นธรรม และถ่วงดุลป้องกันการผูกขาดค้ากำไรเกินควรของกิจการเอกชน เกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ทุนกับส่วนรวม และสังคม การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพไว้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบาย โดยกำหนดแนวทางที่เหมาะสม ยกระดับความรู้ความสามารถ ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี ใช้ความรู้ และรายได้จากรัฐวิสาหกิจไปสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึง และนำไปต่อยอด จะเป็นประโยชน์ในการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในสังคม
ผลกระทบความมั่นคงของระบบโทรคมนาคม การสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญในการรักษาความปลอดภัย และความมั่นคงของชาติ กสท ต้องคำนึงถึงหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ ให้สามารถเตรียมความพร้อมของโครงข่าย และการเชื่อมต่อให้ต่อเนื่องครบวงจร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า ประเทศมีความพร้อมในกิจการสื่อสารในเวลาที่จำเป็น การแบ่งแยกระบบโครงข่ายหลักออกจากกันเป็นส่วนๆ จะส่งผลเสียต่อเอกภาพในการควบคุม และบริหารจัดการระบบของชาติ
ผลกระทบกับพนักงาน การรวมพนักงานของ 2 หน่วยงาน ไม่ได้แก้ปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำงาน ความคล่องตัวของรัฐวิสาหกิจ แต่อาจเกิดปัญหาการบริหารจัดการ เนื่องจากการปรับตัวในการทำงานที่มีขั้นตอนมากขึ้น และวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกัน สภาพการจ้าง หรือสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับ อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป มีผลกระทบต่อการทำงาน
ผลกระทบจากการปรับลดพนักงานด้านระบบโทรคมนาคม เป็นการลดโอกาสการพัฒนาองค์กร สร้างภาระต่อสังคม รวมถึงรัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาอนาคตประเทศไทยไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0 และ Digital Economy ที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถของทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยี แต่แนวทางแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ และแผนของกระทรวงไอซีทีในการปรับโครงสร้างองค์กร กสท มิได้นำบุคลากรเหล่านี้ไปพัฒนาให้เป็นกำลังสำคัญในระบบเศรษฐกิจใหม่ (ซึ่งบุคลากรเหล่านี้มีทักษะในการทำงานต่างๆ เป็นบุคลากรที่มีความสามารถในด้านการสื่อสาร ด้านโทรคมนาคม ไอที หลากหลายสาขามายาวนาน องค์ความรู้เหล่านี้จะหายไปเมื่อถูกออกจากงาน)
โดยแผนลดขนาดองค์กร และลดจำนวนพนักงานจำนวนรวมหลายพันคน จนอาจถึง 10,000 คน ด้วยข้ออ้างว่า เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายขององค์กร ซึ่งสวนทางกับนโยบายของภาครัฐ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ) และการปรับลดพนักงานโดยไม่คำนึงถึงการเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ที่จะได้รับการปฏิบัติ และพัฒนาอย่างยุติธรรม มีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า พึ่งพาตัวเองได้ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ในที่สุดก็จะเกิดปัญหาการว่างงานโดยพนักงานไม่มีความผิด และปัญหาครอบครัวก็จะตามมา จะย้อนกลับไปเป็นภาระการดูแลของรัฐอยู่นั่นเอง
“ปัญหาหลักขององค์กรเกิดจากปัจจัยภายนอกองค์กร การแทรกแซงทางการเมือง และการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาปรับลดค่าใช้จ่ายโดยการลดพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายองค์กรที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อปัญหา จึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุด การลดพนักงานไม่ใช่แนวทางที่ควรดำเนินการอย่างเร่งรีบแบบนี้ ที่แท้จริงต้องรีบดำเนินการแก้ปัญหา เช่น ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ ที่หน่วยงานของภาครัฐถือปฏิบัติต้องปรับแก้เสียก่อน คือ การจัดซื้อจัดจ้างที่ทำให้มีต้นทุนที่สูงมาก (ซื้อของแพง) และการคอร์รัปชันภายในองค์กรรัฐวิสาหกิจ”
***สหภาพฯ ทีโอที แจงจุดยืน
ด้าน นายอนุชิต ธูปเหลือง รองประธานสหภาพฯ ทีโอที กล่าวถึงรายละเอียดเบื้องต้นที่จะหารือกับกระทรวงไอซีทีว่า 1.ขอให้ฝ่ายบริหารชี้แจงว่า การแยกกลุ่มธุรกิจตาม คนร. จะทำให้ทีโอที รอดพ้นจากภาวะขาดทุนได้อย่างไร ในเมื่อรายได้นั้นตกอยู่กับกลุ่มธุรกิจเพียงไม่กี่แห่ง เช่น โครงสร้างพื้นฐาน เสา โครงข่าย Internet Gateway ซึ่งเป็นพนักงานกลุ่มน้อย ในขณะที่พนักงานปฏิบัติการที่มีทั้งนครหลวง และภูมิภาค ประมาณ 8,000 คน ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่จะทำอย่างไร
2.ฝ่ายบริหารให้ความมั่นใจได้อย่างไรว่า การประสานงานระหว่างแต่ละกลุ่มธุรกิจจะไม่ล้มเหลวเหมือน BU ในอดีต
3.ฝ่ายบริหารไปให้ข่าวว่า ภายใน 3 ปี พนักงานจะคงเหลือประมาณ 5,000 คน แล้วพนักงานที่หายไปจะทำอย่างไร เพราะเงื่อนไขการเออรี่รีไทร์ก็ไม่ได้เอื้ออำนวยให้พนักงานสมัครใจลาออก
4.การร่วมทุนกับ กสท มีแนวทางอย่างไรที่จะไม่ให้เจ๊งเหมือนไทยโมบาย ที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 1900 MHz ในอดีต เพราะองค์กรของทั้งสองมีวัฒนธรรมที่ต่างกัน
โดยที่จุดยืนของสหภาพฯ ทีโอที คือ 1.ยืนยันว่าการลดกำลังคนจะต้องเป็นไปตามกลไก เช่น เกษียณอายุ หรือ Early Retire เท่านั้น ห้ามไม่ให้มีการปลดพนักงานโดยเด็ดขาด 2.ขอให้การเปลี่ยนโครงสร้างครั้งนี้ให้ สหภาพฯ ร่วมในการสังเกตุการณ์ด้วย ทั้งเรื่องทรัพย์สินที่ต้องโอนต่างๆ กำลังคน ฯลฯ 3.ขอให้การโอนย้ายพนักงานไปยังหน่วยต่างๆ คำนึงถึงความรู้ความสามารถแท้จริงโดยไม่ให้เห็นแก่พวกพ้อง เพื่อกันการแย่งไปในกลุ่มธุรกิจที่มีรายได้ โดยไม่คำนึงถึงองค์กรโดยรวมแบบที่ผ่านมาในอดีต เช่น 3G โดยสหภาพฯ ทีโอที จะทำการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด 4.ขอให้ฝ่ายบริหารใช้ความกล้าหาญในการแก้ปัญหาเพื่อพาองค์กรให้รอด เช่น การติดตามการโอนทรัพย์สิน 2G ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว และเร่งรัดติดตามการตีความของกฤษฎีกา เพื่อจะได้เซ็นสัญญากับพันธมิตรที่ถูกดึงเรื่องมาเป็นเวลานาน โดยสหภาพฯ ทีโอที จะตรวจสอบเงื่อนไขสัญญาว่า ทีโอทีจะได้ประโยชน์สูงสุดหรือไม่

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000074598&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+28-7-59&utm_campaign=20160727_m133187065_MGR+Morning+Brief+28-7-59&utm_term=_E2_80_9C_E0_B8_AA_E0_B8_AB_E0_B8_A0_E0_B8_B2_E0_B8_9E_E0_B8_AF_E2_80_9D+_E0_B8_A7_E0_B8_B1_E0_B8_94

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.