Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 กรกฎาคม 2559 3 ค่ายค้าน กสทช.คิดค่าโทร.มือถือแบบกำหนดเพดาน AIS ระบุ สภาพการแข่งขันของตลาดโทรคมนาคมมีการแข่งขันสูง ทุกฝ่ายแข่งขันโดยเน้นด้านคุณภาพการให้บริการ และราคาซึ่งอาศัยกลไกตลาด

ประเด็นหลัก
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เห็นว่า ผู้บริโภคคือผู้กำหนดและตัดสินใจเรื่องราคาค่าบริการ ทุกอย่างสอดรับสมเหตุสมผล การแข่งขันที่แท้จริงเน้นคุณภาพและบริการ วอน กสทช. พิจารณาการกำกับดูแลอัตราค่าบริการในแนวทางเพื่อเป็นทางเลือกของผู้บริโภค
จากการจัดประชุมหารือกลุ่มย่อยเพื่อหาแนวทางกำกับดูแลอัตราค่าบริการโทรศัพท์คลื่นที่บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1GHz คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และย่านความถี่ 900 MHz เอไอเอส แสดงความคิดเห็นว่า ปัจจุบัน สภาพการแข่งขันของตลาดโทรคมนาคมมีการแข่งขันสูง ทุกฝ่ายแข่งขันโดยเน้นด้านคุณภาพการให้บริการ และราคาซึ่งอาศัยกลไกตลาด และบริษัทฯ จัดทำรายการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงประโยชน์ และความต้องการในการใช้บริการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก
โดยได้จัดทำรายการส่งเสริมการขายที่หลากหลายให้ครอบคลุมต่อความต้องการของลูกค้าทุกประเภทเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้มีโอกาสเลือกใช้ตามความเหมาะสม และพฤติกรรมการใช้บริการของตนเอง จะเห็นได้ว่ามีจำนวนรายการส่งเสริมการขายของบริษัทฯ จำนวนเกินกว่า 1,000 รายการส่งเสริมการขาย โดยรายการส่งเสริมการขายบางประเภทเป็นรายการส่งเสริมการขายเดิมที่ยังคงมีผู้ใช้บริการ และยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการให้บริการตามสัญญาแต่ไม่ใช่รายการส่งเสริมการขายที่บริษัทฯ เสนอขายต่อผู้ใช้บริการปัจจุบัน
นอกจากนี้ บางรายการส่งเสริมการขายเป็นรายการที่ให้สิทธิผู้ใช้บริการสามารถ สลับค่าบริการรายเดือนเป็นค่าบริการเสียง (Voice) หรือค่าบริการข้อมูล (Data) ได้ด้วยตัวเองโดยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการในแต่ละเดือน
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องมีการพิจารณากันอย่างรอบคอบ หากการกำกับดูแลกำหนดอัตราค่าบริการในตลาดโทรคมนาคม จนส่งผลให้เกิดการแทรกแซงตลาดจะทำให้โครงสร้างอัตราค่าบริการถูกจำกัด จนอาจส่งผลเป็นการจำกัดทางเลือกของผู้บริโภค ท้ายที่สุดอาจส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งอาจทำให้ผู้ประกอบการขาดแรงจูงใจในการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ โดยปรับลดต้นทุนการให้บริการ หรือปรับเทคโนโลยีให้ต่ำลงเพื่อให้สอดคล้องต่อ มาตรการ หรือกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแล
ที่สำคัญผู้บริโภคคือผู้พิจารณา และตัดสินใจที่จะเลือกใช้บริการในอัตราค่าบริการแบบใด เพราะขณะนี้ในการแข่งขันทางการตลาดของธุรกิจโทรคมนาคมเน้นให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพ และการบริการที่ดีที่สุด เน้นให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่า บริษัทฯ ได้พัฒนาและออกแบบเครือข่ายที่รองรับการพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้บริการให้สามารถใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตลอดเวลา บริษัทฯ จึงต้องนำคลื่นความถี่ทุกคลื่นที่ได้รับอนุญาตมาผสมผสานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้บริการของผู้ใช้บริการ
ดังนั้น แนวทางกำกับดูแลควรคำนึงถึงประโยชน์ และสอดคล้องต่อพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ หากผู้ใช้บริการประสงค์จะใช้บริการตามเงื่อนไขการให้บริการของรายการส่งเสริมการขายเดิมก็เห็นควรเคารพสิทธิของผู้ใช้บริการจนกว่าสิ้นสุดระยะเวลาการให้บริการตามสัญญา โดยไม่ตัดสิทธิผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกรายการส่งเสริมการขาย
หากการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลจากเดิมที่ตรวจสอบอัตราค่าบริการทั้งหมด แบบเฉลี่ยเป็นการกำกับอัตราค่าบริการต่อหน่วยในแต่ละรายการส่งเสริมการขาย ถือเป็นการกำกับดูแลที่ขาดความยืดหยุ่น เนื่องจากถูกควบคุมโดยราคากลาง และช่องว่างด้านราคาลดลง ทำให้ผู้ให้บริการแต่ละรายไม่สามารถนำเสนอรายการส่งเสริมการขายที่มีความแตกต่างกันได้ จนทำให้ทางเลือกของผู้ใช้บริการลดลงตามไปด้วย ซึ่งไม่สอดคล้องต่อสภาพการแข่งขันของตลาดในปัจจุบันที่มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการที่หลากหลาย และมีทางเลือกในด้านราคาที่มากขึ้น
_______________________________________ 3 โอเปอเรเตอร์รุมสกรัม กสทช.คิดค่าโทร.มือถือแบบกำหนดเพดาน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช)

เวทีโฟกัส กรุ๊ป ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ ค้าน กสทช.บังคับกำหนดราคาตามเพดาน ชี้ปิดกั้นโอกาสการแข่งขัน ส่งผลโปรโมชันน้อยลง แพกเกจไม่หลากหลาย ราคาสูง ลุ้นชงเข้าบอร์ด กทค.สัปดาห์หน้า
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ค. กสทช.ได้จัดหารือกลุ่มย่อย (Focus group) เรื่องแนวทางการกำกับดูแลอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz,คลื่นความถี่ 1800 MHz และคลื่นความถี่ 900 MHz ตามมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค) ที่เห็นชอบแนวทางกำกับดูแลค่าบริการบนคลื่นความถี่ 2.1 GHz อัตราค่าบริการประเภทเสียงอัตราค่าบริการต้องไม่เกิน 0.82 บาทต่อนาที อัตราค่าบริการข้อมูลต้องไม่เกิน 0.28 บาทต่อ 1 MB บริการเอสเอ็มเอสไม่เกิน 1.33 บาทต่อข้อความ และเอ็มเอ็มเอสไม่เกิน 3.32 บาทต่อวินาที
ส่วนคลื่นความถี่ 1800 MHz และคลื่นความถี่ 900 MHz อัตราค่าบริการเสียงต้องต่ำกว่า 0.69 บาทต่อนาที อัตรค่าบริการข้อมูลต้องต่ำกว่า 0.26 บาทต่อ 1 MB เอสเอ็มเอสต้องต่ำกว่า 1.15 บาทต่อข้อความ และเอ็มเอ็มเอส ต้องต่ำกว่า 3.11 บาทต่อข้อความ โดยอัตราค่าบริการนี้จะใช้บังคับทั้งในโปรโมชันหลัก ค่าบริการส่วนเกินโปรโมชัน รวมถึงโปรโมชันเสริม
ทั้งนี้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) จะต้องระบุคลื่นความที่ใช้ในการให้บริการให้ผู้บริโภคได้ทราบ และต้องคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงเป็นวินาที กสทช.จึงจัดหารือรับฟังความเห็น โดยเชิญโอเปอเรเตอร์ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ภาควิชาการ ประชาชน มาร่วมแสดงความคิดเห็น
“ที่ผ่านมา กสทช.ได้หารือร่วมกับโอเปอเรเตอร์ตลอด ซึ่งยอมรับว่าเขาไม่เห็นด้วย แต่หาก กสทช.จะบอกให้ประชาชนทราบว่าเขาไม่เห็นด้วยเพราะอะไรเราก็โดนว่าเข้าข้างเอกชน ดังนั้น จึงต้องจัดเวทีนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภค และผู้ประกอบการมาพบกัน ทำความเข้าใจร่วมกัน”
ทั้งนี้ ความเห็นจากเวทีหารือทั้งผู้ให้บริการแ ละตัวแทนผู้บริโภคได้สะท้อนความเห็นว่า อัตราค่าบริการที่ผู้ให้บริการกำหนดเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราอ้างอิงที่กำหนดโดย กสทช.อยู่แล้ว อัตราอ้างอิงของ กสทช.ยังไม่ได้สะท้อนต้นทุนในอนาคต การกำหนดอัตราอ้างอิงอาจเป็นอุปสรรคในการแข่งขันเพราะกลไกตลาดจะทำงานไม่เต็มที่ กสทช.ควรออกหลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริมการแข่งขัน และควรทบทวนการกำหนดอัตราอ้างอิง ขณะที่ผู้บริโภคมีความพึงพอใจที่จะใช้งานโดยมีโอกาสเลือกตามโปรโมชัน การมีอัตราอ้างอิงเป็นเรื่องที่ดี แต่อาจมากำหนดทำให้ทางเลือกของผู้บริโภคมีน้อยลง
ด้าน นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ในแง่การกำกับดูแลที่ผ่านมาเหมือนจะมีความสับสนในเรื่องอัตราค่าบริการ เห็นได้จากปัญหาการคิดค่าบริการเกินที่เกิดขึ้นบ่อย อัตราอ้างอิงที่กำหนดขึ้นดูเป็นอัตราที่เข้าใจยากผู้บริโภคจะไม่เข้าใจ โดยเฉพาะคำว่าอัตราค่าบริการที่ถูกกว่าแต่เฉลี่ยอยู่ในแพกเกจดั งนั้น จึงควรมีคณะทำงานร่วมกันระหว่างผู้กำกับดูแล โอเปอเรเตอร์ และผู้บริโภค เชื่อว่าในอนาคตผู้บริโภคจะกำหนดค่าบริการได้เอง ดังนั้น อัตราอ้างอิงนี้อาจอยู่ไม่นาน เพราะการกำกับมากเกินไปจะไม่เป็นผลดีต่อประชาชน ขณะที่การกำหนดค่าบริการต้องส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันด้วย
ด้าน นายฐากร กล่าวเสริมว่า จะรวบรวมความเห็นจากเวทีทั้งหมดนำเสนอต่อที่ประชุม กทค.ในสัปดาห์หน้า ซึ่งการคิดค่าโทร.ตามจริงเป็นวินาทียังคงต้องบังคับใช้ต่อไป เพราะได้กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการประมูลแล้ว ส่วนเรื่องการคิดค่าบริการตามที่ กทค.กำหนดนั้น ต้องอยู่ที่ กทค.ว่าจะพิจารณาเป็นในแนวทางใด จะกลับเป็นแนวทางเดิมคือ การคิดอัตราค่าเฉลี่ยรวมของทั้งตลาดหรือไม่ หรือจะคิดตามอัตรค่าเฉลี่ยของทุกโปรโมชัน และแนวทางสุดท้ายการคิดค่าบริการตามอัตราเพดานขั้นสูง
***เอไอเอส ชี้ผู้ใช้บริการคือผู้กำหนด ผู้ตัดสินใจเลือกอัตราค่าบริการ
บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เห็นว่า ผู้บริโภคคือผู้กำหนดและตัดสินใจเรื่องราคาค่าบริการ ทุกอย่างสอดรับสมเหตุสมผล การแข่งขันที่แท้จริงเน้นคุณภาพและบริการ วอน กสทช. พิจารณาการกำกับดูแลอัตราค่าบริการในแนวทางเพื่อเป็นทางเลือกของผู้บริโภค
จากการจัดประชุมหารือกลุ่มย่อยเพื่อหาแนวทางกำกับดูแลอัตราค่าบริการโทรศัพท์คลื่นที่บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1GHz คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และย่านความถี่ 900 MHz เอไอเอส แสดงความคิดเห็นว่า ปัจจุบัน สภาพการแข่งขันของตลาดโทรคมนาคมมีการแข่งขันสูง ทุกฝ่ายแข่งขันโดยเน้นด้านคุณภาพการให้บริการ และราคาซึ่งอาศัยกลไกตลาด และบริษัทฯ จัดทำรายการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงประโยชน์ และความต้องการในการใช้บริการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก
โดยได้จัดทำรายการส่งเสริมการขายที่หลากหลายให้ครอบคลุมต่อความต้องการของลูกค้าทุกประเภทเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้มีโอกาสเลือกใช้ตามความเหมาะสม และพฤติกรรมการใช้บริการของตนเอง จะเห็นได้ว่ามีจำนวนรายการส่งเสริมการขายของบริษัทฯ จำนวนเกินกว่า 1,000 รายการส่งเสริมการขาย โดยรายการส่งเสริมการขายบางประเภทเป็นรายการส่งเสริมการขายเดิมที่ยังคงมีผู้ใช้บริการ และยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการให้บริการตามสัญญาแต่ไม่ใช่รายการส่งเสริมการขายที่บริษัทฯ เสนอขายต่อผู้ใช้บริการปัจจุบัน
นอกจากนี้ บางรายการส่งเสริมการขายเป็นรายการที่ให้สิทธิผู้ใช้บริการสามารถ สลับค่าบริการรายเดือนเป็นค่าบริการเสียง (Voice) หรือค่าบริการข้อมูล (Data) ได้ด้วยตัวเองโดยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการในแต่ละเดือน
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องมีการพิจารณากันอย่างรอบคอบ หากการกำกับดูแลกำหนดอัตราค่าบริการในตลาดโทรคมนาคม จนส่งผลให้เกิดการแทรกแซงตลาดจะทำให้โครงสร้างอัตราค่าบริการถูกจำกัด จนอาจส่งผลเป็นการจำกัดทางเลือกของผู้บริโภค ท้ายที่สุดอาจส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งอาจทำให้ผู้ประกอบการขาดแรงจูงใจในการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ โดยปรับลดต้นทุนการให้บริการ หรือปรับเทคโนโลยีให้ต่ำลงเพื่อให้สอดคล้องต่อ มาตรการ หรือกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแล
ที่สำคัญผู้บริโภคคือผู้พิจารณา และตัดสินใจที่จะเลือกใช้บริการในอัตราค่าบริการแบบใด เพราะขณะนี้ในการแข่งขันทางการตลาดของธุรกิจโทรคมนาคมเน้นให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพ และการบริการที่ดีที่สุด เน้นให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่า บริษัทฯ ได้พัฒนาและออกแบบเครือข่ายที่รองรับการพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้บริการให้สามารถใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตลอดเวลา บริษัทฯ จึงต้องนำคลื่นความถี่ทุกคลื่นที่ได้รับอนุญาตมาผสมผสานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้บริการของผู้ใช้บริการ
ดังนั้น แนวทางกำกับดูแลควรคำนึงถึงประโยชน์ และสอดคล้องต่อพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ หากผู้ใช้บริการประสงค์จะใช้บริการตามเงื่อนไขการให้บริการของรายการส่งเสริมการขายเดิมก็เห็นควรเคารพสิทธิของผู้ใช้บริการจนกว่าสิ้นสุดระยะเวลาการให้บริการตามสัญญา โดยไม่ตัดสิทธิผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกรายการส่งเสริมการขาย
หากการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลจากเดิมที่ตรวจสอบอัตราค่าบริการทั้งหมด แบบเฉลี่ยเป็นการกำกับอัตราค่าบริการต่อหน่วยในแต่ละรายการส่งเสริมการขาย ถือเป็นการกำกับดูแลที่ขาดความยืดหยุ่น เนื่องจากถูกควบคุมโดยราคากลาง และช่องว่างด้านราคาลดลง ทำให้ผู้ให้บริการแต่ละรายไม่สามารถนำเสนอรายการส่งเสริมการขายที่มีความแตกต่างกันได้ จนทำให้ทางเลือกของผู้ใช้บริการลดลงตามไปด้วย ซึ่งไม่สอดคล้องต่อสภาพการแข่งขันของตลาดในปัจจุบันที่มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการที่หลากหลาย และมีทางเลือกในด้านราคาที่มากขึ้น
***ดีแทคชี้กลไกการแข่งขันเป็นตัวกำหนดความหลากหลายแพกเกจ และอัตราที่เหมาะสม
บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เห็นว่า หน่วยงานกำกับดูแลควรพิจารณาถึงสมดุลระหว่างผลประโยชน์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งต่อผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการซึ่งต้องขยายโครงข่าย และพัฒนาบริการต่อไป รวมไปถึงระบบนิเวศของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขันโดยเสรี
ในประเทศไทยบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการแข่งขันที่สูงมากอยู่แล้ว ทำให้ผู้ประกอบการต้องพัฒนาแพกเกจรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลายออกสู่ตลาดให้ผู้ใช้บริการได้เลือกใช้ตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม ในประเทศอื่นๆ ที่มีระดับการแข่งขันเช่นเดียวกับประเทศไทยก็ไม่ได้มีการกำกับอัตราค่าบริการ โดยปล่อยให้กลไกตลาดทำงานได้อย่างเสรี เช่น ประเทศในกลุ่มอียู หรือแม้แต่ประเทศในแถบอาเซียน นอกจากนี้ อัตราค่าบริการของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในแถบอาเซียนจัดอยู่ในกลุ่มต่ำสุด
ดีแทค เห็นว่าการควบคุมอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามกฎเกณฑ์นี้จะเป็นการลดทอนการแข่งขันในการพัฒนาแพกเกจต่างๆ ออกสู่ตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการที่หลากหลาย จะส่งผลให้ความหลากหลายของแพกเกจหายไป และจะส่งผลกระทบต่อไปยังผู้ใช้บริการที่จะไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด เนื่องจากไม่มีแพกเกจที่เหมาะสมต่อความต้องการของตนเอง ดีแทค เห็นว่าอาจมีการกำหนดแพกเกจตามราคา กสทช. เป็นแพกเกจทางเลือก โดยยังคงให้กลไกการแข่งขันเป็นตัวกำหนดความหลากหลายแพกเกจ และอัตราที่เหมาะสม
***ทรูมูฟ เอช เสนอ กทค.ทบทวนมติเรื่องการควบคุมค่าบริการ
ตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้มีมติเรื่องการกำกับดูแลอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ ย่าน 900/ 1800/2100 MHz ทุกรายการส่งเสริมการขายเป็นวินาที และไม่ให้เกินกว่าอัตราที่ กทค.ได้กำหนดไว้นั้น บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ได้ดำเนินการให้บริการเป็นไปตามนโยบาย และข้อกำหนดต่างๆ ของ กทค. และ กสทช. มาโดยตลอด แต่สำหรับเงื่อนไขดังกล่าวในครั้งนี้ ทรูมูฟ เอช มองว่าจะทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกในการเลือกใช้บริการแพกเกจที่คุ้มค่าตามรูปแบบการใช้งานของตนเองอย่างแท้จริง ทั้งยังอาจไม่สอดคล้องต่อการแข่งขันเสรีในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ในท้ายที่สุดจะส่งผลกระทบต่อลูกค้าจำนวนมากทั้งแบบรายเดือน และเติมเงิน ซึ่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งแบบรายเดือน และแบบเติมเงินต่างก็มีอัตราค่าบริการที่ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างคุ้มค่า และสอดคล้องต่อการใช้งานตามพฤติกรรมของลูกค้าอยู่แล้ว
นอกจากนี้ แนวทางของประเทศต่างๆ ทั่วโลกส่วนใหญ่ที่มีการเปิดเสรีทางบริการโทรคมนาคมนั้นจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่มีการบังคับให้ต้องมีการคิดค่าบริการเป็นวินาทีในทุกแพกเกจ แต่ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกการแข่งขันของตลาด รวมทั้งก็ไม่มีการกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงในทุกแพกเกจเพราะขัดต่อกลไกการตลาดแบบเสรี ดังนั้น ทรูมูฟ เอช เห็นว่าการกำกับดูแลของ กสทช. ด้วยอัตราเฉลี่ยเหมาะสมอยู่แล้ว จึงอยากขอให้ กทค. และ กสทช. พิจารณาทบทวนมติดังกล่าวเพื่อป้องกันผลกระทบต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมโดยรวม
ที่สำคัญในปัจจุบันเนื่องจากลูกค้ามีพฤติกรรมการใช้งานที่หลากหลาย ผู้ประกอบการแต่ละรายจึงได้ออกแบบ และนำเสนอแพกเกจที่มีหลายรูปแบบรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน โดยมุ่งเน้นให้ลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุด ผู้บริโภคจึงมีสิทธิเลือกใช้แพกเกจ และโปรโมชันได้ตามการใช้งานของตนเองอย่างแท้จริง ทั้งยังมีทางเลือกที่ขยายไปใช้บริการของผู้ให้บริการรายอื่นตามที่ตนประสงค์ได้ นอกจากนี้ หากพิจารณาตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900/1800/2100 MHz ที่มีการกำหนดให้มีการลดอัตราค่าบริการลงจากเดิมนั้น ผู้ให้บริการทุกรายก็ได้ปรับลดราคาแพกเกจให้เป็นไปตามเงื่อนไขของใบอนุญาตอย่างเคร่งครัดแล้ว

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000066508&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+5-7-59&utm_campaign=20160704_m132535095_MGR+Morning+Brief+5-7-59&utm_term=3_E0_B9_82_E0_B8_AD_E0_B9_80_E0_B8_9B_E0_B8_AD_E0_B9_80_E0_B8_A3_E0_B9_80_E0_B8_95_E0_B8_AD_E0_B8_A3

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.