Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มิถุนายน 2559 หากบอร์ด TOT ส่งเรื่องเพื่อถามความชัดเจนจากกฤษฏีกาว่าเข้าข่ายพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐกับ AIS หรือไม่ ซึ่งคาดว่าขั้นตอนหลังจากนี้อาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะราว 1 ปี

ประเด็นหลัก หากบอร์ดทีโอทีส่งเรื่องเพื่อถามความชัดเจนจากกฤษฏีกาว่าเข้าข่ายพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ หรือไม่ ซึ่งคาดว่าขั้นตอนหลังจากนี้อาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะ เนื่องจากจะต้องทำการศึกษาของสัญญาแต่ละสัญญาซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป โดยอาจจะต้องใช้ระยะเวลาราว 1 ปี ______________________________________________ ทีโอที อาการน่าเป็นห่วง อาจเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง เพราะขาดแหล่งที่มาของรายได้ หลังคณะกรรมการมีมติระงับการเซ็นสัญญาทางธุรกิจ กับ เอไอเอส เอาไว้ก่อน และสั่งให้ส่งเรื่องถาม คณะกรรมการกฤษฎีกาเหตุเกรงว่าจะขัดกับ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ถามไปแล้วพร้อมกับอัยการสูงสุด ซึ่งสรุปว่าไม่ขัดกฎหมาย ส่งผลให้อาจต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ และใช้เวลาเป็นปี ชวดโอกาสรับเงินก้อนโต

รายงานข่าวจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ทีโอทีได้ทำการบันทึกลงนาม (เอ็มโอยู) กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เพื่อนำไปสู่การร่างสัญญา 5 ฉบับ ได้แก่ 1.สัญญาการทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์ 2.สัญญาทีโอทีเช่าโครงข่ายโทรคมนาคมเอดับบลิวเอ็น 3.สัญญาการใช้โครงข่ายร่วม ระหว่างเอดับบลิวเอ็น กับ ทีโอที 4.สัญญาเอดับบลิวเอ็นขอเช่าโครงข่ายโทรคมนาคมทีโอทีจำนวน 13,000 ต้น และ 5.สัญญาเอดับบลิวเอ็นเช่าอุปกรณ์โทรคมนาคมที่เอไอเอสส่งมอบตามสัญญาสัมปทาน

จากนั้น ได้นำสัญญาหลัก ให้สำนักงานอัยการสูงสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจ และทั้ง 2 หน่วยงานได้ตอบกลับมาว่าไม่ติดขัดเรื่องกฎหมาย ขณะที่ ปลายเดือน เม.ย. 2559 สำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ส่งหนังสือมาว่าสามารถดำเนินการได้ ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ โดยอิงมาตรฐานเดียวกับ สัญญาที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทำร่วมกับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มาแล้ว

นอกจากนี้ในช่วงปลายเดือนเม.ย.ทีโอทียังได้สอบถามเรื่องดังกล่าวต่อ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าทำได้หรือไม่ ซึ่งกสทช.ก็ตอบไปในแนวทางเดียวกับ สคร. ทำให้เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. บอร์ดทีโอทีมีมติให้ลงนามในการให้เอไอเอสทำสัญญาทดลองระบบทางเทคนิค เป็นเวลา 6 เดือน โดยเอไอเอสต้องจ่ายค่าทดลองเดือนละ 300 ล้านบาท แต่แล้วเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. บอร์ดกลับมีการนัดประชุมวาระพิเศษเพื่อระงับการเซ็นสัญญาข้างต้นไว้ก่อน และให้ส่งเรื่องสอบถามไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าเข้าข่าย พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ หรือไม่

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า การเซ็นสัญญาของทีโอที หรือไม่นั้น จะมีผลต่อประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุด การอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 (มาตรการเยียวยาฯ) คลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2559 นี้ ซึ่งจะเป็นผลในการเสียรูปคดี ของทีโอที เนื่องจากเป็นที่ชัดเจนหากสิ้นสุดมาตรการเยียวยาฯ เอไอเอส จะดำเนินการฟ้องร้องทีโอที หากไม่มีการเซ็นสัญญาดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม หากทีโอทีไม่ดำเนินการเซ็นสัญญากับเอไอเอส จะทำให้เกิดปัญหาแก่ทีโอทีด้วยกัน 5 กรณี คือ. 1. ลูกค้าที่ค้างอยู่ในระบบเดิมคลื่น 900 MHz ที่อยู่ภายใต้มาตรการเยียวยาฯ เนื่องมาจาก ลูกค้าจำนวน 7-8 ล้านเลขหมาย ที่เป็น บริษัท แอดวานซ์ ไวเลส เน็ตเวิร์ค จำกัด ในเครือ บริษัท เอไอเอส ที่ทำการเชื่อมโยงโครงข่าย (โรมมิ่ง) คลื่น 900 MHz กับ ทีโอที ซึ่งทีโอทีได้ฟ้องร้องเอไอเอส ที่โอนย้ายลูกค้าไม่ได้รับความสมัครใจ ขณะที่ ลูกค้า 7-8 แสนเลขหมาย ลูกค้า เอไอเอสยังออกใบแจ้งชำระหนี้ (บิลลิ่ง) เป็นบริษัท เอไอเอส ซึ่งลูกค้าดังกล่าวทีโอที ยังไม่ได้มีมาตรการใดๆ ว่าจะทำการออกบิลลิ่งให้แก่ลูกค้าอย่างไร ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้เอไอเอสจะยึดเป็นลูกค้าตัวเอง

ขณะเดียวกันกรณีที่ 2. โครงข่าย 900 MHz ที่ไม่รวมเสาโทรคมนาคม อาคาร และที่ดิน ซึ่งสัญญาการเช่าใช้โครงข่ายยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งเมื่อหมดสัญญาภาระเหล่านี้ก็จะไม่ชำระให้ทีโอที แต่ยังจะดูแลลูกค้ากลุ่มดังกล่าว โดยเอไอเอส จะอ้างเพื่อรักษาฐานลูกค้า กรณีที่ 3. เสาโทรคมนาคม อาคารที่ดิน ยังไม่มีความชัดเจน เรื่องสิทธิในการใช้ หลังจากสิ้นสุดมาตรการเยียวยาฯ โดยค่าใช้จ่าย ค่าเช่าที่ดิน โดยทั้งหมดเอไอเอสยังสำรองล่วงหน้าและใช้สิทธิฟ้องร้องเพื่อเรียกคืนค่าใช้จ่ายดังกล่าว

กรณีที่ 4. คลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ของทีโอที ที่มีความสามารถในการรองรับการใช้งาน (คาพาซิตี้) เหลืออีกราว 20% โดยโครงข่าย 2.1 GHz ที่มีจำนวนลูกค้า 6 ล้านเลขหมาย และโครงข่ายจำนวน 16,000 สถานี โดยทีโอทีตกลงจะทำสัญญากับเอไอเอส รูปแบบเดียวกับ บีเอฟเคที และกรณีสุดท้าย คือ กรณี 2 – 4 เมื่อไม่มีการทำสัญญา ทีโอทีเนื่องจากไม่มีกระแสเงินสด ก็จะทำให้ทีโอทีขาดกระแสเงินสดและทีโอทีจะยิ่งตกอยู่สภาวะขาดทุน เนื่องจากรายได้จากสัมปทานเริ่มลดลง โดยหากทีโอทีและเอไอเอสทำสัญญาระหว่างกัน ในแต่ละปีทีโอทีจะมีรายได้มาจาก 1. รายได้จากค่าโครงข่าย 900 MHz อุปกรณ์ ราว 2,000 ล้านบาทต่อปี 3. รายได้จากเสาโทรคมนาคม อาคารที่ดิน จำนวน 3,500 ล้านบาท 4. รายได้จากค่าเช่าโครงข่าย 2.1 GHz จำนวน 15,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ทีโอทีมีรายได้ต่อปีกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี

อย่างไรก็ตาม หากบอร์ดทีโอทีส่งเรื่องเพื่อถามความชัดเจนจากกฤษฏีกาว่าเข้าข่ายพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ หรือไม่ ซึ่งคาดว่าขั้นตอนหลังจากนี้อาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะ เนื่องจากจะต้องทำการศึกษาของสัญญาแต่ละสัญญาซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป โดยอาจจะต้องใช้ระยะเวลาราว 1 ปี


http://www.naewna.com/business/222244

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.