Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มิถุนายน 2559 สปป.ลาว ระบุ ริ่มเปิดให้บริการ 4G คลื่น 1800 MHz เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา แถบความถี่กว้าง 5 MHz มีพื้นที่บริการ 4 หัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เวียงจันทน์ หลวงพระบาง สะหวันนะเขต และจำปาสัก เมื่อรวมผู้ใช้บริการ 3G แล้วจะมีประชากรที่ใช้ทั้ง 3G และ 4G ราว 40% ของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมด ที่เหลือยังใช้ 2G ซึ่งโครงข่ายครอบคลุม 85% ของพื้นที่ประเทศ มีรายได้ต่อเลขหมายต่อเดือน 3-4 เหรียญสหรัฐ (ราว 104-140 บาท)

ประเด็หลัก
ปัจจุบันบริการโทรคมนาคมกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของประชากรในทุกประเทศ โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยเกี่ยวกับตลาดโทรคมนาคมในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กับ "บุญเฉลิมชัย เคนนะวงศ์" ปลัดกระทรวงการไปรษณีย์ โทรคมนาคมและการสื่อสาร และอธิบดีกรมโทรคมนาคมและการสื่อสารของ สปป.ลาว "ชัยลือชา อินสีเชียงใหม่" ทำให้รู้ว่าในลาวมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ราว 5 ล้านเลขหมาย กว่า 80% ใช้บริการแบบเติมเงินหรือพรีเพด จากประชากร 6.7 ล้านคน มีบริษัทผู้ให้บริการ 4 ราย ได้แก่ บริษัท อีทีแอล มหาชน จำกัด (ETL) บริษัท สตาร์ เทเลคอม จำกัด (UNITEL) บริษัท ลาวโทรคม จำกัด (LTC) และบริษัท บีไลน์ จำกัด (Beeline)

การจัดสรรใบอนุญาตที่ผ่านมาใช้ระบบเจรจาคัดเลือกโดยรัฐบาล แต่ในอนาคตจะนำคลื่น 700 MHz มาจัดสรรด้วยวิธี "ประมูล" แต่ต้องศึกษาความต้องการของตลาด รวมถึงการใช้คลื่นของประเทศเพื่อนบ้านด้วย เพราะไทยเองก็ยังใช้คลื่น 700 MHz ในกิจการโทรทัศน์อาจเกิดปัญหาคลื่นรบกวนได้ และในแง่รายได้บริการโทรคมนาคมเป็นอันดับ 4 ของจีดีพีประเทศรองจากการขายไฟฟ้า, เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

อธิบดีกรมโทรคมนาคม สปป.ลาวกล่าวว่า เริ่มเปิดให้บริการ 4G คลื่น 1800 MHz เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา แถบความถี่กว้าง 5 MHz มีพื้นที่บริการ 4 หัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เวียงจันทน์ หลวงพระบาง สะหวันนะเขต และจำปาสัก เมื่อรวมผู้ใช้บริการ 3G แล้วจะมีประชากรที่ใช้ทั้ง 3G และ 4G ราว 40% ของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมด ที่เหลือยังใช้ 2G ซึ่งโครงข่ายครอบคลุม 85% ของพื้นที่ประเทศ

ขณะที่การกำกับดูแลค่าบริการของ สปป.ลาว อธิบดี "ชัยลือชา" กล่าวว่า ในปี 2551 ที่ผ่านมาเกิดการทำสงครามราคาส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้และกระทบคุณภาพบริการ รัฐบาลจึงเข้ามากำกับดูแลราคา โดยกำหนดทั้งเพดานราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดที่ผู้ให้บริการจะออกโปรโมชั่นได้

ค่าบริการสูงสุดต้องไม่เกิน 800 กีบต่อนาที (ราว 3.50 บาท) และลดลงได้ไม่เกิน 15% จากค่าบริการสูงสุด ส่วนค่าบริการโมบายอินเทอร์เน็ตจะไม่เกิน 40 กีบต่อ KB (0.18 สตางค์) มีรายได้ต่อเลขหมายต่อเดือน 3-4 เหรียญสหรัฐ (ราว 104-140 บาท)

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขา และมีจำนวนประชากรไม่มากนัก การตั้งถิ่นฐานกระจุกตัวตามริมแม่น้ำ และกระจายอยู่ทั่วประเทศทำให้การเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้บริการผ่านโมบายหรืออินเทอร์เน็ตไร้สายประเภทไวไฟเป็นหลักโดยมีราว 20% ของประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
______________________________________________________________ ส่องวิถีกำกับดูแลในลาว "กสทช." อัพเกรด 2 แชะช่วยลงทะเบียนซิม


ปัจจุบันบริการโทรคมนาคมกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของประชากรในทุกประเทศ โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยเกี่ยวกับตลาดโทรคมนาคมในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กับ "บุญเฉลิมชัย เคนนะวงศ์" ปลัดกระทรวงการไปรษณีย์ โทรคมนาคมและการสื่อสาร และอธิบดีกรมโทรคมนาคมและการสื่อสารของ สปป.ลาว "ชัยลือชา อินสีเชียงใหม่" ทำให้รู้ว่าในลาวมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ราว 5 ล้านเลขหมาย กว่า 80% ใช้บริการแบบเติมเงินหรือพรีเพด จากประชากร 6.7 ล้านคน มีบริษัทผู้ให้บริการ 4 ราย ได้แก่ บริษัท อีทีแอล มหาชน จำกัด (ETL) บริษัท สตาร์ เทเลคอม จำกัด (UNITEL) บริษัท ลาวโทรคม จำกัด (LTC) และบริษัท บีไลน์ จำกัด (Beeline)

การจัดสรรใบอนุญาตที่ผ่านมาใช้ระบบเจรจาคัดเลือกโดยรัฐบาล แต่ในอนาคตจะนำคลื่น 700 MHz มาจัดสรรด้วยวิธี "ประมูล" แต่ต้องศึกษาความต้องการของตลาด รวมถึงการใช้คลื่นของประเทศเพื่อนบ้านด้วย เพราะไทยเองก็ยังใช้คลื่น 700 MHz ในกิจการโทรทัศน์อาจเกิดปัญหาคลื่นรบกวนได้ และในแง่รายได้บริการโทรคมนาคมเป็นอันดับ 4 ของจีดีพีประเทศรองจากการขายไฟฟ้า, เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

อธิบดีกรมโทรคมนาคม สปป.ลาวกล่าวว่า เริ่มเปิดให้บริการ 4G คลื่น 1800 MHz เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา แถบความถี่กว้าง 5 MHz มีพื้นที่บริการ 4 หัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เวียงจันทน์ หลวงพระบาง สะหวันนะเขต และจำปาสัก เมื่อรวมผู้ใช้บริการ 3G แล้วจะมีประชากรที่ใช้ทั้ง 3G และ 4G ราว 40% ของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมด ที่เหลือยังใช้ 2G ซึ่งโครงข่ายครอบคลุม 85% ของพื้นที่ประเทศ

ขณะที่การกำกับดูแลค่าบริการของ สปป.ลาว อธิบดี "ชัยลือชา" กล่าวว่า ในปี 2551 ที่ผ่านมาเกิดการทำสงครามราคาส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้และกระทบคุณภาพบริการ รัฐบาลจึงเข้ามากำกับดูแลราคา โดยกำหนดทั้งเพดานราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดที่ผู้ให้บริการจะออกโปรโมชั่นได้

ค่าบริการสูงสุดต้องไม่เกิน 800 กีบต่อนาที (ราว 3.50 บาท) และลดลงได้ไม่เกิน 15% จากค่าบริการสูงสุด ส่วนค่าบริการโมบายอินเทอร์เน็ตจะไม่เกิน 40 กีบต่อ KB (0.18 สตางค์) มีรายได้ต่อเลขหมายต่อเดือน 3-4 เหรียญสหรัฐ (ราว 104-140 บาท)

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขา และมีจำนวนประชากรไม่มากนัก การตั้งถิ่นฐานกระจุกตัวตามริมแม่น้ำ และกระจายอยู่ทั่วประเทศทำให้การเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้บริการผ่านโมบายหรืออินเทอร์เน็ตไร้สายประเภทไวไฟเป็นหลักโดยมีราว 20% ของประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความนิยมในการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มากขึ้น แต่การระบุตัวตนผู้ใช้ผ่านการลงทะเบียนซิมการ์ดยังมีปัญหามาก มีการลงทะเบียนเพียง 60% ทั้งข้อมูลก็ไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอ

"การนำซิมการ์ดโทรศัพท์ไปก่ออาชญากรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ แม้ใน สปป.ลาวจะยังไม่มีมากนัก แต่เป็นเหตุการณ์ที่คาดหมายว่าจะเกิดขึ้นได้ จึงเห็นความสำคัญที่ผลักดันให้มีการลงทะเบียนเกิดขึ้นอย่างจริงจัง"

ที่ผ่านมาแม้ภาครัฐออกกฎบังคับให้ต้องลงทะเบียนซิมใน72 ชั่วโมง มิฉะนั้นจะตัดระบบ แต่ในความเป็นจริงผู้ให้บริการไม่ให้ความร่วมมือ ทั้งจุดการลงทะเบียนซิมเดิมเป็นหน้าที่ของตัวแทนจำหน่ายของผู้ให้บริการทั้ง 4 ราย หลายครั้งที่มีปัญหาความไม่รับผิดชอบในการจัดให้ประชาชนลงทะเบียนซิม เพราะเน้นยอดขายเป็นหลัก ประกอบกับประชาชนเองก็ไม่ได้สนใจ

ล่าสุดมีความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ของประเทศไทย นำแอปพลิเคชั่น "2 แชะ" มาใช้ในการลงทะเบียนซิมด้วยการใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ คาดว่า ใน 2 เดือน กสทช.จะส่งมอบแอปพลิเคชั่นนี้ได้ และกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และการสื่อสาร จะมอบหมายให้ "แผนกการ" ผู้ดูแลไอซีทีระดับจังหวัด กำกับให้ "นายบ้าน" (ผู้ใหญ่บ้าน) ในทุกพื้นที่ต้องรับผิดชอบความถูกต้องของข้อมูลในการลงทะเบียนผ่านแอป "2 แชะ" ให้ได้

"ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า กสทช.จะช่วยลงทุนพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้ สปป.ลาว โดยต่อยอดแอป "2 แชะ" เดิมแล้วเพิ่มฟังก์ชั่นการลงทะเบียนด้วยการอ่านลายพิมพ์นิ้วมือ ซึ่งการช่วยเหลือครั้งนี้ใช้งบประมาณของสำนักงาน กสทช.จำนวนไม่มาก เพราะการพัฒนาแอป 2 แชะที่ผ่านมาใช้เงิน 5-10 ล้านบาท แต่ประโยชน์ที่ได้รับกลับมามีมูลค่ามากกว่านั้น

"แอป 2 แชะเวอร์ชั่นใหม่ที่พัฒนาขึ้น ทาง กสทช.ก็จะนำมาใช้ในประเทศไทยด้วย เพื่อทำให้ข้อมูลลงทะเบียนซิมมีความชัดเจน 100% สามารถเชื่อมต่อกับระบบของกรมการกงสุล และเตรียมพร้อมรองรับโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ระบบ Any ID ของรัฐบาลที่จะผูกเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้กับเลขบัญชีธนาคาร ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรั้วบ้านให้แข็งแรงขึ้น จากการช่วยให้เพื่อนบ้านเรามีรั้วที่แข็งแรง"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1466662240

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.