Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤษภาคม 2559 ITU ไทย ระบุ โดยเฉพาะคลื่น 700 MHz ที่ปัจจุบันใช้งานอยู่ในโครงข่ายทีวีดิจิทัล ทั้งที่ควรนำมาใช้งานโทรคมนาคม เพราะกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิกมีการลงนามข้อตกลง APT หรือ Asia-Pacific Telecommunity ในการนำคลื่น 700 MHz มาใช้ด้านโทรคมนาคม

ประเด็นหลัก


นายวิสิฐ อติพญากุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคม และไอซีที ประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) กล่าวว่า ประเทศไทยยังต้องการคลื่นความถี่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการใช้งานของผู้บริโภค รวมถึงเพื่อผลักดันประเทศไปสู่การเชื่อมต่อแบบดิจิทัลตามแนวทางของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศด้วยนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลจากการใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นต่อการขยายการเชื่อมต่อภาครัฐกับประชากร

และแม้ว่าคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะดึงคลื่นความถี่ในระบบสัมปทานมาสู่ระบบใบอนุญาตผ่านการประมูลบ้างแล้ว เช่น คลื่น 900, 1800 และ 2100 MHz แต่ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะคลื่น 700 MHz ที่ปัจจุบันใช้งานอยู่ในโครงข่ายทีวีดิจิทัล ทั้งที่ควรนำมาใช้งานโทรคมนาคม เพราะกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิกมีการลงนามข้อตกลง APT หรือ Asia-Pacific Telecommunity ในการนำคลื่น 700 MHz มาใช้ด้านโทรคมนาคม


"คลื่น 700 MHz ถูกใช้ด้านบรอดแคสต์ก่อน แต่เมื่อไอทียูพบว่าคลื่นนี้นำมาใช้ด้านโทรคมนาคมได้ ฝั่งผู้ให้บริการโทรคมนาคม และบรอดแคสต์ในเอเชีย-แปซิฟิกที่มีสมาชิก 38 ประเทศ ซึ่งไทยอยู่ด้วย ได้ตัดสินใจว่าจะใช้คลื่น 700 MHz ในบริการโทรคมนาคม เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน คลื่นนี้ยังส่งสัญญาณได้ไกล ทำให้ประหยัดการลงทุนโครงข่าย ยิ่งนำมาให้บริการ 4G ได้ จะมีประโยชน์ทางโทรคมนาคมกว่า"


________________________________



หนุนโยกคลื่น700MHz พัฒนามือถือ "ไอทียู-จีเอสเอ็มเอ"ยกสารพัดข้อดีกล่อมกสทช.



ชักแม่น้ำทั้งห้าหนุน "กสทช." ดึง 700 MHz มาใช้งานด้านโทรคมนาคม "ไอทียู" กระแซะรอบที่ร้อย ย้ำช่วยยกระดับการสื่อสาร-เพิ่มโอกาสดัน "จีดีพี" ประเทศเติบโต ฟาก "จีเอสเอ็มเอ" เสริมคลื่นใหม่ปลุกดัชนีชี้วัดดิจิทัลของไทยสู่กลุ่มประเทศพัฒนา

นายวิสิฐ อติพญากุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคม และไอซีที ประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) กล่าวว่า ประเทศไทยยังต้องการคลื่นความถี่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการใช้งานของผู้บริโภค รวมถึงเพื่อผลักดันประเทศไปสู่การเชื่อมต่อแบบดิจิทัลตามแนวทางของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศด้วยนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลจากการใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นต่อการขยายการเชื่อมต่อภาครัฐกับประชากร

และแม้ว่าคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะดึงคลื่นความถี่ในระบบสัมปทานมาสู่ระบบใบอนุญาตผ่านการประมูลบ้างแล้ว เช่น คลื่น 900, 1800 และ 2100 MHz แต่ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะคลื่น 700 MHz ที่ปัจจุบันใช้งานอยู่ในโครงข่ายทีวีดิจิทัล ทั้งที่ควรนำมาใช้งานโทรคมนาคม เพราะกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิกมีการลงนามข้อตกลง APT หรือ Asia-Pacific Telecommunity ในการนำคลื่น 700 MHz มาใช้ด้านโทรคมนาคม

"คลื่น 700 MHz ถูกใช้ด้านบรอดแคสต์ก่อน แต่เมื่อไอทียูพบว่าคลื่นนี้นำมาใช้ด้านโทรคมนาคมได้ ฝั่งผู้ให้บริการโทรคมนาคม และบรอดแคสต์ในเอเชีย-แปซิฟิกที่มีสมาชิก 38 ประเทศ ซึ่งไทยอยู่ด้วย ได้ตัดสินใจว่าจะใช้คลื่น 700 MHz ในบริการโทรคมนาคม เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน คลื่นนี้ยังส่งสัญญาณได้ไกล ทำให้ประหยัดการลงทุนโครงข่าย ยิ่งนำมาให้บริการ 4G ได้ จะมีประโยชน์ทางโทรคมนาคมกว่า"

ที่ผ่านมาทางสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ "ไอทียู" ได้ส่งเอกสารชี้แจงไปยัง กสทช.มาโดยตลอด แต่ด้วยความลำบากในการเรียกคืนคลื่น 700 MHz และถึงเรียกคืนคลื่นได้ก็ยากที่จะหาคลื่นอื่นมารองรับ ซึ่งถ้าปัญหานี้ยังยืดเยื้อออกไป ประเทศไทยจะเสียโอกาสในการนำคลื่นนี้มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร รวมถึงหากมีประเทศในเอเชีย-แปซิฟิกใช้งานคลื่นนี้มากขึ้น อุปกรณ์ที่รองรับคลื่นนี้จะมีราคาถูกลง ขณะที่ประเทศไทยต้องใช้เครื่องที่มีราคาสูงกว่า เพราะไม่ได้ Economy of Scale

อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยมีการใช้คลื่น 700 MHz จะทำให้มูลค่าจีดีพีของประเทศเติบโต ผ่านระบบสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และมีความเร็วสูงขึ้น ทั้งเป็นคลื่นความถี่ต่ำ หรือ Lower Band ทำให้อัตราค่าบริการโทรคมนาคมถูกลงได้ เพราะโอเปอเรเตอร์ไม่ต้องลงทุนโครงข่ายจำนวนมาก เหมือนกับการถือครองคลื่นความถี่สูง หรือ Higher Band ที่สำคัญการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศด้านโทรคมนาคมจะดีขึ้น เพราะภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเป็นศูนย์กลางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ด้านนายอลาสแดร์ แกรนท์ ประธานภูมิภาคเอเชีย สมาคมจีเอสเอ็ม กล่าวว่า ในการสำรวจการพัฒนาความก้าวหน้าของสังคมดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย ได้แบ่งความก้าวหน้าไว้ 3 ระดับ คือ สังคมดิจิทัลเกิดใหม่ เช่น ปากีสถาน, สังคมดิจิทัลช่วงเปลี่ยนผ่าน เช่น อินโดนีเซีย และสังคมดิจิทัลชั้นสูง เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งประเทศไทยอยู่ในกลุ่มสังคมดิจิทัลช่วงเปลี่ยนผ่าน เพราะมีการเชื่อมต่อดิจิทัลผ่านโมบายบรอดแบนด์ความเร็วสูง รวมถึงผู้บริโภค, เอกชน และภาครัฐ เริ่มใช้งานดิจิทัลในเรื่องต่าง ๆ แต่ความไม่เพียงพอของโครงสร้างพื้นฐานจึงก้าวขึ้นไปอีกระดับไม่ได้

"จีเอสเอ็มเอใช้ 3 หลักเกณฑ์แบ่งระดับความก้าวหน้าของสังคมดิจิทัล คือการที่ผู้บริโภคเชื่อมต่อกับบริการของภาครัฐผ่านดิจิทัล, การใช้ดิจิทัลในชีวิตประจำวัน และการใช้ดิจิทัลเพื่อทำธุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งไทยอยู่เหนือกว่าอินโดนีเซีย แต่ต่ำกว่าสิงคโปร์ เพราะคลื่นความถี่เป็นปัจจัยสำคัญในการขยายการใช้โมบายอินเทอร์เน็ตยังไม่เพียงพอ ประกอบกับมาตรการกฎหมายยังไม่เอื้อให้เอกชนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลยังเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักผ่านนโยบายต่าง ๆ เช่น ดิจิทัลอีโคโนมี"

ขณะเดียวกันทางสมาคมจีเอสเอ็มต้องการให้รัฐบาลไทยนำคลื่นความถี่ 700 MHz มาใช้งานทางโทรคมนาคมให้เร็วที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริการให้ประเทศ นอกจากผู้บริโภค และหน่วยงานต่าง ๆ จะเชื่อมต่อกันแบบดิจิทัลบนความเร็วสูง ยังช่วยกระตุ้นให้โอเปอเรเตอร์ลงทุนขยายโครงข่ายมากขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าภาครัฐมีมาตรการทางกฎหมายที่สนับสนุนการลงทุน เช่น อินฟราสตรักเจอร์แชริ่ง หรือการเพิ่มแบนด์วิดท์ออกนอกประเทศผ่านการขยายเคเบิลใต้น้ำ จะเป็นอีกส่วนที่ทำให้ไทยก้าวสู่ประเทศสังคมดิจิทัลขั้นสูงได้เร็วขึ้น

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1462359621

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.