Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 พฤษภาคม 2559 TRUE ระบุ มีการลงทุนราว 340 ล้านบาท เพื่อขยายขนาดช่องสัญญาณ หรือ แบนด์วิดธ์บนเครือข่ายหลัก (Backbone Network) เป็น 800 กิกะบิตต่อวินาที จากเดิมปี 2558 ที่ผ่านมาขนาดแบนด์วิดธ์ของเครือข่ายหลัก อยู่ประมาณ 350 กิกะบิตต่อวินาที

ประเด็นหลัก






นายสุพจน์ มหพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจบริการระหว่างประเทศ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ (TIG) จำกัด เปิดเผยว่า อินเตอร์เน็ตเกตเวย์และบริการวงจรเช่าระหว่างประเทศ ถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตต่อเนื่อง และเป็นพื้นฐานสำคัญในกลุ่มฮาร์ดอินฟราสตักเจอร์ ตามนโยบายดิจิตอลอีโคโนมีของรัฐบาล ทั้งนี้มองว่าไทยมีโอกาสในการเป็นศูนย์กลางหรือฮับ ทางด้านอินเตอร์เน็ตเกตเวย์และบริการวงจรเช่าระหว่างประเทศภูมิภาคอาเซียน ซึ่งในส่วนของกลุ่มทรู มีการลงทุนขยายการลงทุนอินเตอร์เน็ตเกตเวย์และวงจรเช่าระหว่างประเทศ ต่อเนื่องเพื่อรองรับปริมาณการใช้งานที่เติบโตขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละ 50%


โดยปีนี้คาดว่าจะมีการลงทุนราว 340 ล้านบาท เพื่อขยายขนาดช่องสัญญาณ หรือ แบนด์วิดธ์บนเครือข่ายหลัก (Backbone Network) เป็น 800 กิกะบิตต่อวินาที จากเดิมปี 2558 ที่ผ่านมาขนาดแบนด์วิดธ์ของเครือข่ายหลัก อยู่ประมาณ 350 กิกะบิตต่อวินาที






_______________________



คนไทยใช้เน็ตเพิ่มปีละ 50% กลุ่มทรูทุ่ม 340 ล้าน ขยายแบนด์วิดธ์เป็น 800 กิ๊ก

คนไทยใช้เน็ตเพิ่มปีละ 50% กลุ่มทรูทุ่ม 340 ล้าน ขยายแบนด์วิดธ์เป็น 800 กิ๊ก

กลุ่มทรู มองไทยมีโอกาสเป็น “ฮับ” ภูมิภาค ด้านอินเตอร์เน็ตเกตเวย์-วงจรเช่าระหว่างประเทศ หยอดเม็ดเงิน 340 ล้านบาท ลงทุนขยายแบนด์วิดธ์เพิ่มเป็น 800 กิกะบิตต่อวินาที แบะท่าสนใจร่วมรัฐลงทุนสร้างอินเตอร์เน็ตเกตเวย์

นายสุพจน์ มหพันธ์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจบริการระหว่างประเทศ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ (TIG) จำกัด เปิดเผยว่า อินเตอร์เน็ตเกตเวย์และบริการวงจรเช่าระหว่างประเทศ ถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตต่อเนื่อง และเป็นพื้นฐานสำคัญในกลุ่มฮาร์ดอินฟราสตักเจอร์ ตามนโยบายดิจิตอลอีโคโนมีของรัฐบาล ทั้งนี้มองว่าไทยมีโอกาสในการเป็นศูนย์กลางหรือฮับ ทางด้านอินเตอร์เน็ตเกตเวย์และบริการวงจรเช่าระหว่างประเทศภูมิภาคอาเซียน ซึ่งในส่วนของกลุ่มทรู มีการลงทุนขยายการลงทุนอินเตอร์เน็ตเกตเวย์และวงจรเช่าระหว่างประเทศ ต่อเนื่องเพื่อรองรับปริมาณการใช้งานที่เติบโตขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละ 50%

โดยปีนี้คาดว่าจะมีการลงทุนราว 340 ล้านบาท เพื่อขยายขนาดช่องสัญญาณ หรือ แบนด์วิดธ์บนเครือข่ายหลัก (Backbone Network) เป็น 800 กิกะบิตต่อวินาที จากเดิมปี 2558 ที่ผ่านมาขนาดแบนด์วิดธ์ของเครือข่ายหลัก อยู่ประมาณ 350 กิกะบิตต่อวินาที

นอกจากนี้ในส่วนบริการวงจรเช่าระหว่างประเทศ ปัจจุบันกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งมีที่ตั้งสาขาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยลูกค้ากลุ่มนี้มีความต้องการแบนด์วิดธ์ปริมาณมากและคุณภาพบริการที่ดี โดยกลุ่มลูกค้าองค์กรนั้นมีความต้องการใช้งานวงจรไปยังประเทศปลายทางที่หลากหลายมากขึ้น บริษัทจึงร่วมมือกับพันธมิตรผู้ให้บริการโทรคมนาคมระดับโลก เพื่อขยายพื้นที่การให้บริการในต่างประเทศให้ครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น โดยที่ผ่านมากลุ่มทรูได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกรอบความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ภายใต้โครงการ “แฮนด์ อิน แฮนด์” (Hand-in-Hand Program) กับบริษัทไชน่าโมบายล์ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด จากประเทศจีน และบริษัทสตาร์ฮับ จากประเทศสิงคโปร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแพลตฟอร์มแบบบูรณาการสำหรับกลุ่มพันธมิตรผู้ให้บริการนานาชาติที่เพิ่มขึ้น


สำหรับภาพรวมธุรกิจบริการระหว่างประเทศ กลุ่มทรูนั้น บริษัททรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด (TIG) ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตเกตเวย์ และบริการวงจรเช่าระหว่างประเทศ มีรายได้ในปีที่ผ่านมา 1.4 พันล้านบาท คาดว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.8 พันล้านบาท เติบโตขึ้น 25% ขณะที่บริการด้านเสียง ปีที่ผ่านมามีรายได้ 900 ล้านบาท คาดว่าปีนี้จะมีรายได้ 1 พันล้านบาท เติบโตขึ้น 10% และบริการโรมมิ่ง ภายใต้บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล โรมมิ่ง จำกัด (TIR) นั้นปีที่ผ่านมามีรายได้ 1.3 พันล้านบาท คาดว่าปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 1.5 พันล้านบาท เติบโตขึ้นราว 12%

ดร.รุ่งเรือง กมลเดชเดชา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ จำกัด (TIG) กล่าวว่า ข้อมูลจากหน่วยงานกลางล่าสุดระบุว่าในเดือนเมษายน ไทยมีปริมาณการใช้งานแบนด์วิดธ์ ทั่วประเทศราว 1,200 กิกะบิตต่อวินาที เติบโตจากขึ้นต่อเนื่องทุกเดือน ซึ่งภายในปีนี้มีโอกาสเป็นไปได้ที่ปริมาณการใช้งานจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,400 –1,500 กิกะบิตต่อวินาที เนื่องจากการขยายใช้งานโมบายอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นหลังการเปิดให้บริการ 4G และการขยายการลงทุนเข้ามาในไทยของบริษัทข้ามชาติ

ทั้งนี้กลุ่มทรู ให้ความสนใจในการร่วมลงทุนอินเตอร์เน็ตเกตเวย์มูลค่า 5 พันล้านบาท ตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลของรัฐบาล หากมีนโยบายเปิดกว้างให้เอกชนร่วมลงทุน โดยความเห็นส่วนตัวมองว่ารูปแบบการร่วมลงทุนรัฐและเอกชน น่าจะเป็นรูปแบบที่เหมาะสม เนื่องจากจะได้ไม่เกิดการลงทุนทับซ้อน และการรวมตัวกันเช่าวงจรระหว่างประเทศในปริมาณมาก ยังช่วยให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ทำให้ต้นทุนการให้บริการลดลง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,151 วันที่ 24 – 27 เมษายน พ.ศ. 2559

http://www.thansettakij.com/2016/04/25/47074

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.