Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 พฤษภาคม 2559 แหล่งข่าวบอกด้วยว่า ร่าง MOU AIS TRUE ฉบับดังกล่าว ร่างขึ้นโดย กสทช.และมีเนื้อหาที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหนึ่งอย่างชัดเจน ไม่อนุญาตให้เช่าช่วงต่อ

ประเด็นหลัก



แหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีทีเปิดเผยด้วยว่า นายสมชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริการ เอไอเอส ได้ชี้แจงในที่ประชุมว่าปัจจุบันเอไอเอสได้มีแผนการดูแลลูกค้า 2จี ของบริษัทอยู่แล้ว โดยได้โรมมิ่งกับดีแทค ซึ่งจะสามารถรองรับลูกค้าได้ประมาณ 8 ล้านราย ในส่วนของลูกค้าที่ยังเหลืออยู่ราว 4 แสนรายนั้น ก็ได้มีคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 ให้มีการใช้งานต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.59 ซึ่งเมื่อถึงเวลาดังกล่าวก็จะได้ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์รอบใหม่อยู่แล้ว โดยในกลุ่มลูกค้าจำนวน 4 แสนรายดังกล่าวปัจจุบันได้ใช้ช่วงคลื่นที่ ที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด (แจส) ชนะการประมูล และกำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดการประมูลใหม่ ซึ่ง เอไอเอส เองก็เข้าร่วมประมูลด้วย จึงยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องลงนามในร่างเอ็มโอยู เพื่อโอนย้ายลูกค้าไปยัง ทรู แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการชี้แจงจาก เอไอเอส แล้ว ที่ประชุม นำโดยนายฐากร ก็ยังพยายามโน้มน้าวให้ เอไอเอส ลงนามในข้อตกลงดังกล่าวอยู่ โดย นายสมชัย ได้กล่าวว่า เอไอเอส จะต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ของเอไอเอส ก่อนจึงจะสามารถให้คำตอบได้
แหล่งข่าวบอกด้วยว่า ร่างเอ็มโอยูฉบับดังกล่าว ร่างขึ้นโดย กสทช.และมีเนื้อหาที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหนึ่งอย่างชัดเจน นอกจากนี้ร่างเอ็มโอยูฉบับนี้ยังอาจเข้าข่ายขัดต่อข้อตกลงขององค์กรการค้าโลก (WTO) อีกทั้งยังขัดต่อกฎหมาย กสทช.เองที่ระบุชัดเจนเกี่ยวกับการไม่อนุญาตให้เช่าช่วงต่อด้วย จึงเป็นที่น่ากังวลในหมู่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากหาก กสทช. ในฐานะหน่วยงานดูแลกำกับดูแล เดินหน้าให้มีการลงนามในข้อตกลงฉบับดังกล่าวจริง จะถือเป็นการดำเนินการโดยไร้บรรษัทภิบาล ส่งผลลบต่อภาพลักษณ์การลงทุนภายในประเทศในสายตานักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงการโทรคมนาคม เป็นธุรกิจที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน และมีมูลค่าการลงทุนสูง
ด้าน แหล่งข่าวภายใน กสทช.ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การประชุมเพื่อผลักดันให้มีการลงนามในร่างข้อตกลงฉบับนี้ มีการแรงหนุนมาจากบิ๊กบอส ระดับรัฐมนตรีในปัจจุบัน ที่ส่งสัญญาณผ่านมายังเลขาธิการ กสทช.ให้เร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ยังปรากฏว่าบุตรชายของ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเองก็เป็นผู้ที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหนึ่งซึ่งเป็นคู่แข่งกับ เอไอเอส ในปัจจุบันด้วย








_______________________



ทรูแจงเซ็นเอ็มโอยูแก้เครียด ขอให้เอไอเอสช่วยมาโรมมิ่ง



นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการลงนามในบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (เอ็มโอยู) กับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ตามที่ได้หารือร่วมกันกับรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า ยังไม่มีข้อสรุป โดยเอ็มโอยูเป็นหลักการกว้างๆเท่านั้น ไม่มีอะไรมากมาย และไม่แน่ใจว่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ “ที่มาของการลงนามเอ็มโอยู เป็นเพราะบรรยากาศธุรกิจเริ่มตึงเครียด เมื่อมีการยื่นฟ้องขอขยายเยียวยาซิม 2 จีดับที่ศาลปกครอง ขณะที่รัฐบาลก็ไม่ต้องการให้ซิมดับ ดังนั้นทางออกคือสองฝ่ายต้องพูดคุยกัน ส่วนภาครัฐก็เร่งให้เปิดประมูลให้เร็วที่สุด ในเบื้องต้นที่ได้ตกลงกันไว้กว้างๆ คือให้การโอนย้ายเลขหมายมายังค่ายทรู ภายใต้บริการคงสิทธิเลขหมาย (MNP) ทำได้ สะดวกขึ้น และเอไอเอสต้องเชื่อมต่อโครงข่าย (โรมมิ่ง) กับทรูบ้าง เพราะเอไอเอสได้ใช้คลื่นต่อในช่วงเยียวยา ขณะที่ทรูมีภาระจ่ายค่าประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ไปแล้ว ซึ่งจริงๆมีข้อสรุปไปหมดแล้ว ส่วนการเข้าประมูล 4 จี รอบใหม่นั้น ยังไม่ตัดสินใจ ต้องรอผลจากที่ปรึกษาและขออนุมัติบอร์ดด้วย”

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 เม.ย. ทรูได้ลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรกับบริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมกันบริหารจัดการขายสินค้าและให้บริการ ผ่านทรูช็อปที่มีอยู่ราว 500 สาขา และคอมเซเว่นมีร้านบานาน่าไอที ไอสตูดิโอ ราว 300 สาขา ทำให้ 2 ฝ่ายมีเครือข่ายร้านค้าปลีกเพิ่มขึ้นรวมกันราว 800 สาขาทั่วประเทศ โดยนายสุระ คณิตทวีกุล ประธานกรรมการบริหาร คอมเซเว่น กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการเสริมสร้างศักยภาพให้กับทั้งทรูและคอมเซเว่น ด้วยจุดหมายร่วมกันคือต้องการให้ร้านเป็น Digital Service Provider ที่ตอบโจทย์ด้าน IT Solution ครบวงจร.

http://www.thairath.co.th/content/611636

______________________________


แฉ'วิษณุ-อุตตม-ฐากร' รวมหัวบีบAIS-ทรูเฮ



“วิษณุ-อุตตม-ฐากร” รวมหัวบีบ “เอไอเอส”โอนลูกค้า 2 จีให้ “ทรู” ด้าน “สมชัย”ขอเข้าที่ประชุมบอร์ดก่อนให้คำตอบ “ไอซีที” ชี้ขัดทั้ง กม.กสทช.-ข้อตกลง WTO ปูดร่างเอ็มโอยูไม่ปรึกษาอีกด้าน ปูด “บิ๊กบอส” สั่งรวบรัด โยงคอนเนคชั่น “ลูกวิษณุ” โผล่ทำงานให้ค่ายมือถือใหญ่ แฉ 3BB โผล่คว้าประมูล USO มูลค่าพันล้าน ทั้งที่ JAS เพิ่งทิ้งประมูล 4G
รายงานข่าวจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แจ้งว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าหารือเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองกรณีสิ้นสุดสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ หรือ ลูกค้า 2จี ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (ในเครือเอไอเอส) ซึ่งล่าสุดหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวสั่งคุ้มครองให้มีการใช้งานต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.59 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่จะได้ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์รอบใหม่ โดยผู้ที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดไอซีที นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทเอไอเอส และ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น
ในที่ประชุม นายฐากรได้พยายามโน้มน้าวให้ เอไอเอส ลงนามในร่างเอกสารบันทึกความตกลงร่วมกัน (เอ็มโอยู) ซึ่งได้จัดเตรียมไว้แล้ว โดยมีเนื้อหายินยอมให้ กสทช.แต่งตั้งคณะทำงานโดยมี รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม ทำหน้าที่เป็นประธาน เข้ามาตรวจสอบการโอนย้ายลูกค้าจาก เอไอเอส ไป ทรู มีการตั้งข้อสังเกตว่าในบันทึกข้อตกลงฉบับดังกล่าว มีตอนหนึ่งที่ระบุว่า ทุกผลการพิจารณาที่ออกจาก กสทช.จะถือเป็นที่สิ้นสุดไร้ข้อต่อแย้งจากทั้งสองกลุ่มบริษัทที่ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมคณะทำงานนี้ด้วย โดยให้เหตุผลว่าเป็นมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดสัญญาการให้บริการลูกค้า 2จี ของเอไอเอส นอกจากนี้ยังกำหนดให้ทาง เอไอเอส ต้องตกลงทำโรมมิ่งบนคลื่นความถี่ย่าน 905-915 เมกะเฮิรตซ์คู่กับ 950-960 เมกะเฮิรตซ์กับ ทรู แทนการโรมมิ่งกับ ดีแทค และให้ทั้งสองบริษัทเร่งเจรจาเรื่องการทำโรมมิ่งให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน โดยมีรองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม เป็นผู้กำกับดูแลการเจรจา และจะต้องรายงานให้ เลขาธิการ กสทช. ทราบเป็นระยะ
แหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีทีเปิดเผยด้วยว่า นายสมชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริการ เอไอเอส ได้ชี้แจงในที่ประชุมว่าปัจจุบันเอไอเอสได้มีแผนการดูแลลูกค้า 2จี ของบริษัทอยู่แล้ว โดยได้โรมมิ่งกับดีแทค ซึ่งจะสามารถรองรับลูกค้าได้ประมาณ 8 ล้านราย ในส่วนของลูกค้าที่ยังเหลืออยู่ราว 4 แสนรายนั้น ก็ได้มีคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 ให้มีการใช้งานต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.59 ซึ่งเมื่อถึงเวลาดังกล่าวก็จะได้ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์รอบใหม่อยู่แล้ว โดยในกลุ่มลูกค้าจำนวน 4 แสนรายดังกล่าวปัจจุบันได้ใช้ช่วงคลื่นที่ ที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด (แจส) ชนะการประมูล และกำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดการประมูลใหม่ ซึ่ง เอไอเอส เองก็เข้าร่วมประมูลด้วย จึงยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องลงนามในร่างเอ็มโอยู เพื่อโอนย้ายลูกค้าไปยัง ทรู แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการชี้แจงจาก เอไอเอส แล้ว ที่ประชุม นำโดยนายฐากร ก็ยังพยายามโน้มน้าวให้ เอไอเอส ลงนามในข้อตกลงดังกล่าวอยู่ โดย นายสมชัย ได้กล่าวว่า เอไอเอส จะต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ของเอไอเอส ก่อนจึงจะสามารถให้คำตอบได้
แหล่งข่าวบอกด้วยว่า ร่างเอ็มโอยูฉบับดังกล่าว ร่างขึ้นโดย กสทช.และมีเนื้อหาที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหนึ่งอย่างชัดเจน นอกจากนี้ร่างเอ็มโอยูฉบับนี้ยังอาจเข้าข่ายขัดต่อข้อตกลงขององค์กรการค้าโลก (WTO) อีกทั้งยังขัดต่อกฎหมาย กสทช.เองที่ระบุชัดเจนเกี่ยวกับการไม่อนุญาตให้เช่าช่วงต่อด้วย จึงเป็นที่น่ากังวลในหมู่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากหาก กสทช. ในฐานะหน่วยงานดูแลกำกับดูแล เดินหน้าให้มีการลงนามในข้อตกลงฉบับดังกล่าวจริง จะถือเป็นการดำเนินการโดยไร้บรรษัทภิบาล ส่งผลลบต่อภาพลักษณ์การลงทุนภายในประเทศในสายตานักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงการโทรคมนาคม เป็นธุรกิจที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน และมีมูลค่าการลงทุนสูง
ด้าน แหล่งข่าวภายใน กสทช.ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การประชุมเพื่อผลักดันให้มีการลงนามในร่างข้อตกลงฉบับนี้ มีการแรงหนุนมาจากบิ๊กบอส ระดับรัฐมนตรีในปัจจุบัน ที่ส่งสัญญาณผ่านมายังเลขาธิการ กสทช.ให้เร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ยังปรากฏว่าบุตรชายของ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเองก็เป็นผู้ที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหนึ่งซึ่งเป็นคู่แข่งกับ เอไอเอส ในปัจจุบันด้วย
ในส่วนของ บริษัท จัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (แจส) ผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ หรือใบอนุญาต 4 จี ซึ่งไม่ชำระค่าประมูลตามกำหนด จนต้องมีการประมูลใหม่ ล่าสุดได้มีรายงานข่าวแจ้งว่า กสทช.ได้ตกลงว่าจ้าง 3BB ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ แจส ให้เป็นผู้ดำเนินโครงการติดตั้งโครงข่ายเพื่อให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐาน ในโครงการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) ของ กสทช. ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ กสทช. เพิ่งประกาศว่าจะดำเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดกับทาง แจส แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าข้อตกลงว่าจ้าง 3BB ในโครงการ USO นั้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่ แจส ไม่ชำระค่าประมูลใบอนุญาต 4 จี
“เมื่อลำดับเรื่องราว และตัวละครตามนี้แล้ว จึงพอจะเดาต่อกันได้ไม่ยากว่า ใครเอื้อประโยชน์ใคร งานนี้โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ ซึ่งมีกองหนุนดี ดูจะมีแต้มต่อมากที่สุด เรื่องนี้หากไม่มีการแก้ไขให้ถูกต้องซะตั้งแต่ตอนนี้ อนาคตอาจกลายเป็นเผือกร้อนให้รัฐบาล คสช. ต้องปวดหัวอย่างแน่นอน” แหล่งข่าว ระบุ.

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000041620&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+25-4-59&utm_campaign=20160424_m131029628_MGR+Morning+Brief+25-4-59&utm_term=_E0_B9_81_E0_B8_89_27_E0_B8_A7_E0_B8_B4_E0_B8_A9_E0_B8_93_E0_B8_B8-_E0_B8_AD_E0_B8_B8_E0_B8_95_E0_B8

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.