Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 พฤษภาคม 2559 DTAC ชี้ รัฐบาลจะต้องพิจารณากำหนดแผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) และจัดการประมูลคลื่นความถี่คลื่น 700, 850, 1800, 2300 และ 2600 MHz ที่มีความชัดเจนว่าแต่ละย่านคลื่นจะถูกนำมาจัดสรรใหม่เมื่อใด ด้วยวิธีการใด เพราะหากยิ่งล้าช้า ประเทศไทยยิ่งเสียโอกาส

ประเด็นหลัก







โดยสิ่งที่ดีแทคเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ในปีนี้คือ แผนการจัดสรรคลื่นความถี่ในอนาคตที่ชัดเจนของประเทศ เนื่องจากปัจจุบันยังมีคลื่นความถี่จำนวนมากที่ยังไม่ถูกนำมาใช้งาน รัฐบาลจะต้องพิจารณากำหนดแผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) และจัดการประมูลคลื่นความถี่คลื่น 700, 850, 1800, 2300 และ 2600 MHz ที่มีความชัดเจนว่าแต่ละย่านคลื่นจะถูกนำมาจัดสรรใหม่เมื่อใด ด้วยวิธีการใด เพราะหากยิ่งล้าช้า ประเทศไทยยิ่งเสียโอกาสจากการใช้ประโยชน์ในคลื่นความถี่ดังกล่าว เพราะคลื่นส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์




_______________________



ดีแทคเตรียมยื่น“White Paper”ร่วมผลักดันดิจิทัลไทยแลนด์ วอนรัฐเร่งคลอดแผนจัดสรรคลื่นที่ชัดเจน



ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้จัดทำ ‘สมุดปกขาว’ หรือ ‘White Paper’ ในหัวข้อ ‘เส้นทางสู่ดิจิทัลไทยแลนด์’ ซึ่งรวบรวมแผนระยะยาวที่ดีแทคจะสนับสนุนประเทศไทยไปสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงข้อเสนอแนะแก่ภาครัฐในการผลักดันนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีให้เป็นรูปธรรม

นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า รายงานหัวข้อ “เส้นทางสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ อินเทอร์เน็ตเพื่อทุกคน” ได้ถูกนำเสนออย่างเป็นทางการในงาน Asia Pacific Digital Societies Policy Forum 2016 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 เมษายน 2559 โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและ สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ซึ่งในรายงานฉบับดังกล่าวดีแทคได้จัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมและกำหนดเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลักเพื่อให้รัฐบาลพิจารณาสู่การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ในปี พ.ศ. 2563 ตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำในกลุ่มประเทศอาเซียน

โดยสิ่งที่ดีแทคเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ในปีนี้คือ แผนการจัดสรรคลื่นความถี่ในอนาคตที่ชัดเจนของประเทศ เนื่องจากปัจจุบันยังมีคลื่นความถี่จำนวนมากที่ยังไม่ถูกนำมาใช้งาน รัฐบาลจะต้องพิจารณากำหนดแผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) และจัดการประมูลคลื่นความถี่คลื่น 700, 850, 1800, 2300 และ 2600 MHz ที่มีความชัดเจนว่าแต่ละย่านคลื่นจะถูกนำมาจัดสรรใหม่เมื่อใด ด้วยวิธีการใด เพราะหากยิ่งล้าช้า ประเทศไทยยิ่งเสียโอกาสจากการใช้ประโยชน์ในคลื่นความถี่ดังกล่าว เพราะคลื่นส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1461921269

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.