Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 พฤษภาคม 2559 เลขาธิการ กสทช.ฐากร ระบุ กสทช.ไม่สามารถเปิดเผยเนื้อหาได้ เพราะเข้าใจว่าทั้ง 2 ฝ่ายคงต้องการให้เป็นความลับทางธุรกิจ เหมือนกับทำโรมมิ่งกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

ประเด็นหลัก


“เมื่อเช้า (25เม.ย.) เอไอเอสได้เข้าพบกับผม และบอกว่า เรื่องนี้ซีอีโอของเอไอเอสจะเป็นผู้ชี้แจงเอง ผมจึงไม่ได้ซักว่าใครเป็นคนปล่อยเอกสาร เพราะตรวจสอบกันแล้วพบว่า เป็นเอกสารเก่า จึงขอให้อย่ากังวล ไม่ได้มีอะไรใหญ่โต กสทช.ไม่ได้บังคับให้เซ็น จะเซ็นหรือไม่เซ็นก็แล้วแต่ ยืนยันว่า ทุกอย่างทำโปร่งใส ไม่มีอะไรอยู่ในที่มืด ตอนนี้ปรับเอ็มโอยูใหม่เบาจนเป็นปุยนุ่นแล้ว”
ทั้งนี้ ทั้ง 2ฝ่ายสามารถตกลงกันได้แล้ว คาดว่าจะสามารถเซ็นเอ็มโอยูได้ภายในวันที่ 26 เม.ย.ส่วนเรื่องรายละเอียดเนื้อหาเอ็มโอยูที่ปรับแล้วเป็นอย่างไรนั้น กสทช.ไม่สามารถเปิดเผยเนื้อหาได้ เพราะเข้าใจว่าทั้ง 2 ฝ่ายคงต้องการให้เป็นความลับทางธุรกิจ เหมือนกับทำโรมมิ่งกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เอไอเอสก็ไม่ต้องการเปิดเผยรายละเอียดเช่นกัน
ด้าน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ตนเองไม่เคยเห็นเอกสารดังกล่าวเลย แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นคนในสำนักงาน กสทช.ปล่อยออกมา ทั้งนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการเซ็นเอ็มโอยูดังกล่าวว่า หากการเจรจามีผู้ใหญ่ทางการเมืองนั่งหัวโต๊ะก็น่าจะเป็นเรื่องแปลก ไม่ธรรมดา เพราะมีการเซ็นในช่วงที่จะเกิดการประมูล ทั้งๆ ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ใช้มาตรา 44 ในการขยายมาตรการเยียวยาออกไปถึงวันที่ 30 มิ.ย.แล้ว เอ็มโอยูนี้หากมีการเซ็นร่วมกันจะเข้าข่ายฮั้วการประมูลหรือไม่ คือ ทรูไม่เข้าร่วมประมูลให้เอไอเอสได้ไปรายเดียว หรือไม่









_______________________



“ฐากร” ปัดเสียงแข็งไม่ได้เอื้อใคร


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

“ฐากร” ปัดไม่ได้ร่างเอ็มโอยูเพื่อประโยชน์ใคร ด้านซีอีโอเอไอเอส เตรียมชี้แจง ยันเอกสารที่เป็นข่าวเป็นเอกสารเก่า ตอนนี้ทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงกันได้แล้ว ย้ำไม่ได้บังคับใครเซ็น ด้าน “หมอลี่” ตั้งข้อสังเกตอาจเข้าข่ายฮั้วการประมูล
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เนื้อหาบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 900 MHz ระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น กับ บริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ที่ถูกแชร์ผ่านโซเชียลมีเดีย และเป็นข่าวนั้นเป็นเอกสารเก่าที่ กสทช.เป็นผู้ยกร่างให้ทั้ง 2 ฝ่ายดู แต่ทั้ง 2 ฝ่ายได้แก้ไขเอกสารกันทั้งคู่แล้วจนเรียกได้ว่าไม่ต้องเซ็นบันทึกข้อตกลง หรือเอ็มโอยู ก็ได้ เพราะเนื้อหาเบาจนไม่มีอะไรน่ากลัวอย่างที่เป็นข่าว ขออย่าให้กังวล และ กสทช.ไม่ได้ต้องการทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ใครทั้งสิ้น แต่เป็นการทำเพื่อผู้บริโภค
“เมื่อเช้า (25เม.ย.) เอไอเอสได้เข้าพบกับผม และบอกว่า เรื่องนี้ซีอีโอของเอไอเอสจะเป็นผู้ชี้แจงเอง ผมจึงไม่ได้ซักว่าใครเป็นคนปล่อยเอกสาร เพราะตรวจสอบกันแล้วพบว่า เป็นเอกสารเก่า จึงขอให้อย่ากังวล ไม่ได้มีอะไรใหญ่โต กสทช.ไม่ได้บังคับให้เซ็น จะเซ็นหรือไม่เซ็นก็แล้วแต่ ยืนยันว่า ทุกอย่างทำโปร่งใส ไม่มีอะไรอยู่ในที่มืด ตอนนี้ปรับเอ็มโอยูใหม่เบาจนเป็นปุยนุ่นแล้ว”
ทั้งนี้ ทั้ง 2ฝ่ายสามารถตกลงกันได้แล้ว คาดว่าจะสามารถเซ็นเอ็มโอยูได้ภายในวันที่ 26 เม.ย.ส่วนเรื่องรายละเอียดเนื้อหาเอ็มโอยูที่ปรับแล้วเป็นอย่างไรนั้น กสทช.ไม่สามารถเปิดเผยเนื้อหาได้ เพราะเข้าใจว่าทั้ง 2 ฝ่ายคงต้องการให้เป็นความลับทางธุรกิจ เหมือนกับทำโรมมิ่งกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เอไอเอสก็ไม่ต้องการเปิดเผยรายละเอียดเช่นกัน
ด้าน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ตนเองไม่เคยเห็นเอกสารดังกล่าวเลย แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นคนในสำนักงาน กสทช.ปล่อยออกมา ทั้งนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการเซ็นเอ็มโอยูดังกล่าวว่า หากการเจรจามีผู้ใหญ่ทางการเมืองนั่งหัวโต๊ะก็น่าจะเป็นเรื่องแปลก ไม่ธรรมดา เพราะมีการเซ็นในช่วงที่จะเกิดการประมูล ทั้งๆ ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ใช้มาตรา 44 ในการขยายมาตรการเยียวยาออกไปถึงวันที่ 30 มิ.ย.แล้ว เอ็มโอยูนี้หากมีการเซ็นร่วมกันจะเข้าข่ายฮั้วการประมูลหรือไม่ คือ ทรูไม่เข้าร่วมประมูลให้เอไอเอสได้ไปรายเดียว หรือไม่
***เอไอเอส ชี้แจง กรณีร่างเอกสารบันทึกความตกลง(MOU)
ตามที่มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ และข้อมูลทาง Social network ว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการเชิญประชุมร่วมกันระหว่างภาครัฐ และเอกชน เรื่องให้ เอไอเอส ลงนามในร่างเอกสารบันทึกความตกลง MOU ที่ปรากฏเนื้อหาของรายละเอียดใน Social network นั้น บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ขอเรียนชี้แจงว่า ได้มีการหารือระหว่างภาครัฐ และเอกชนจริง ถึงเรื่องการดูแลลูกค้า 900 MHz และคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในด้านการใช้งานโทรคมนาคมในช่วงรอการประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งใหม่ ส่วนเอกสาร และข้อคิดเห็นต่างๆที่ปรากฏอยู่ตาม Social network นั้นบริษัทฯ ไม่ทราบเรื่อง
ขณะนี้การหารือในเรื่องการดูแลลูกค้า และคุ้มครองประโยชน์ประชาชนยังอยู่ในระหว่างการเจรจาร่วมกันในรายละเอียด เพื่อประโยชน์ของลูกค้า และประชาชนในช่วงเปลี่ยนถ่ายระหว่างรอการประมูล โดยเอไอเอสมีความยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐในเรื่องต่างๆแต่ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสถูกต้องตามหลักธรรมภิบาลของบริษัทฯที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และจะต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารก่อนหากบริษัทฯจะดำเนินการใดๆ

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000041880&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+26-4-59&utm_campaign=20160425_m131052586_MGR+Morning+Brief+26-4-59&utm_term=_E2_80_9C_E0_B8_90_E0_B8_B2_E0_B8_81_E0_B8_A3_E2_80_9D+_E0_B8_9B_E0_B8_B1_E0_B8_94_E0_B9_80_E0_B8_AA

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.