Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 เมษายน 2559 EU ระบุ พฤติกรรมของ GOOGLE ทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกใช้งานแอปพลิเคชัน และบริการบนอุปกรณ์พกพาของบริษัทอื่น

ประเด็นหลัก




ข้อหากูเกิลผูกขาดตลาดแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟนนี้ถูกประกาศโดยคณะกรรมการค้ายุติธรรมของสหภาพยุโรป หรือ European Union ในนามของ มาร์เกรธ เวสทาเกอร์ (Margrethe Vestager) จุดที่ทำให้กูเกิลถูกตั้งข้อหานี้คือ กฎที่กูเกิลตั้งขึ้นเพื่อบังคับให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนติดตั้ง หรือ Preinstall บริการค้นหาของตัวเอง และโปรแกรมเบราว์เซอร์โครม (Chrome) ลงในเครื่องระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
ไม่เพียงกฎนี้ที่ทำให้ตลาดสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ทางเลือกไม่ได้ผุดได้เกิด อียูยังพบว่า กูเกิลมีการมอบเงินส่วนแบ่งให้ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ และผู้ให้บริการที่ติดตั้งระบบเสิร์ชของกูเกิลแบบเอ็กซ์คลูซีฟด้วย
“เราเชื่อว่า พฤติกรรมของกูเกิลทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกใช้งานแอปพลิเคชัน และบริการบนอุปกรณ์พกพาของบริษัทอื่น” แถลงการณ์ของอียูระบุถึงผลจากการกระทำของกูเกิลที่ขัดต่อกฎป้องกันการผูกขาดการค้าของอียู

การตั้งข้อหานี้เกิดขึ้นหลังจากอียูประกาศสอบสวนกูเกิลอย่างเป็นทางการนาน 1 ปีที่ผ่านมา โดยเมษายนปีที่แล้ว (2015) อียู ประกาศว่า กูเกิลใช้สถานะของการเป็นเบอร์หนึ่งของผู้ให้บริการเครื่องมือค้นหา (Search Engine) จนทำให้บริการของกูเกิลได้ประโยชน์เหนือคู่แข่งอย่างไม่เป็นธรรม ครั้งนั้นอียูจัดส่งหนังสือเตือนเพื่อคัดค้านสิ่งที่กูเกิลทำ และประกาศเริ่มการสอบสวน ซึ่งหากอียูตัดสินว่า กูเกิลมีความผิดจริง กูเกิลอาจถูกปรับเป็นเงิน 10% ของรายได้รวม คิดเป็นตัวเลขสูงถึง 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ








____________________________________




ชำแหละข้อหาอียู “Google ใช้อิทธิพล Android ในทางที่ผิด”


เปิดปมอียูลงดาบกูเกิลต่อเนื่อง ระบุการที่กูเกิลบังคับให้ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ (Android) ติดตั้งนานาบริการ และแอปพลิเคชันของกูเกิล เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ปิดกั้นการค้าอย่างยุติธรรม ทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกใช้งานแอปพลิเคชัน หรือบริการจากบริษัทอื่น เบื้องต้น กูเกิลมีเวลา 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนในการตอบสนองต่อข้อหาที่เกิดขึ้น
ข้อหากูเกิลผูกขาดตลาดแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟนนี้ถูกประกาศโดยคณะกรรมการค้ายุติธรรมของสหภาพยุโรป หรือ European Union ในนามของ มาร์เกรธ เวสทาเกอร์ (Margrethe Vestager) จุดที่ทำให้กูเกิลถูกตั้งข้อหานี้คือ กฎที่กูเกิลตั้งขึ้นเพื่อบังคับให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนติดตั้ง หรือ Preinstall บริการค้นหาของตัวเอง และโปรแกรมเบราว์เซอร์โครม (Chrome) ลงในเครื่องระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
ไม่เพียงกฎนี้ที่ทำให้ตลาดสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ทางเลือกไม่ได้ผุดได้เกิด อียูยังพบว่า กูเกิลมีการมอบเงินส่วนแบ่งให้ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ และผู้ให้บริการที่ติดตั้งระบบเสิร์ชของกูเกิลแบบเอ็กซ์คลูซีฟด้วย
“เราเชื่อว่า พฤติกรรมของกูเกิลทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกใช้งานแอปพลิเคชัน และบริการบนอุปกรณ์พกพาของบริษัทอื่น” แถลงการณ์ของอียูระบุถึงผลจากการกระทำของกูเกิลที่ขัดต่อกฎป้องกันการผูกขาดการค้าของอียู
การตั้งข้อหานี้เกิดขึ้นหลังจากอียูประกาศสอบสวนกูเกิลอย่างเป็นทางการนาน 1 ปีที่ผ่านมา โดยเมษายนปีที่แล้ว (2015) อียู ประกาศว่า กูเกิลใช้สถานะของการเป็นเบอร์หนึ่งของผู้ให้บริการเครื่องมือค้นหา (Search Engine) จนทำให้บริการของกูเกิลได้ประโยชน์เหนือคู่แข่งอย่างไม่เป็นธรรม ครั้งนั้นอียูจัดส่งหนังสือเตือนเพื่อคัดค้านสิ่งที่กูเกิลทำ และประกาศเริ่มการสอบสวน ซึ่งหากอียูตัดสินว่า กูเกิลมีความผิดจริง กูเกิลอาจถูกปรับเป็นเงิน 10% ของรายได้รวม คิดเป็นตัวเลขสูงถึง 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ
การประกาศข้อหา “ผูกขาดตลาดด้วยแอนดรอยด์” ครั้งนี้จึงถูกมองว่า มีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นผลต่อยอดจากการสอบสวนพฤติกรรมผูกขาดการค้าด้วยแอนดรอยด์ของกูเกิล จุดนี้มีการประเมินว่า อียูจะเปิดเผยข้อมูลเบื้องลึกอื่นๆ ของธุรกิจโทรศัพท์มือถือกูเกิลในยุโรป โดยเฉพาะข้อมูลเรื่องการ Preinstall แอปพลิเคชันจากผู้ผลิต
ความเคลื่อนไหวของอียูถือเป็นการปกป้องผู้บริโภคที่เข้าใจได้ เนื่องจากข้อมูลระบุว่า 80% ของสมาร์ทโฟนในยุโรปนั้นใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ อิทธิพลมหาศาลนี้ และนโยบายของกูเกิลขัดขวางการแข่งขันในตลาด สิ่งที่อียูทำคือ การทำให้แน่ใจว่าผู้บริโภคจะมีทางเลือกใช้งานหลายแพลตฟอร์ม หลายสินค้า และหลายบริการตามใจต้องการ
ทั้งหมดนี้ กูเกิลตอบโต้ในบล็อกบริษัทว่า แอนดรอยด์นั้นเปิดกว้างอยู่แล้ว โดย เคนท์ วอลเกอร์ (Kent Walker) ทนายกูเกิล ยืนยันว่า จะให้ความร่วมมือต่ออียูเต็มที่ในการพิสูจน์ว่า แอนดรอยด์นั้นเป็นมิตรต่อการแข่งขัน และต่อผู้บริโภคในตลาด
ข้อกล่าวหาของอียูต่อกูเกิลครั้งนี้ถูกมองว่า เป็นการตามรอยไมโครซอฟท์ (Microsoft) ซึ่งถูกตั้งข้อหาผูกขาดการค้าเช่นกันเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ในสมัยที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) ใจดีแถมโปรแกรมเบราว์เซอร์ไออี (IE) มาให้ผู้ใช้
ครั้งนั้นอียูนั้นตั้งข้อสังเกตว่า ไมโครซอฟท์กำลังพยายามผูกขาดตลาดด้วยการพ่วงซอฟต์แวร์เบ็ดเตล็ด เช่น เว็บเบราเซอร์ มีเดีย เพลเยอร์ และโปรแกรมอื่นๆ ไปกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ จนทำให้ผู้สร้างโปรแกรมรายอื่นไม่สามารถทำตลาดได้ เนื่องจากผู้บริโภคที่ซื้อวินโดวส์จะมีโปรแกรมเหล่านี้ใช้งานอยู่แล้ว ที่ผ่านมา อียูนั้นลงดาบทั้งการปรับทั้งยื่นคำขาดให้ไมโครซอฟท์ถอดโปรแกรมเหล่านี้ออก และลดราคาจำหน่ายวินโดวส์ลง เพื่อให้ผู้บริโภคมีสิทธิเลือก รวมถึงเรียกร้องให้ไมโครซอฟท์เปิดเผยซอร์สโค้ดวินโดวส์ให้นักพัฒนาของบริษัทอื่นสามารถสร้างโปรแกรมนานาชนิดเพื่อรันบนวินโดวส์ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการค้าอย่างยุติธรรมเสรีในที่สุด
กระทั่งปี 2009 ไมโครซอฟท์ตกลงยอมจำหน่ายวินโดวส์ที่ไม่มีโปรแกรมพ่วงแก่ผู้บริโภคในยุโรปในที่สุด หลังจากต้องจ่ายค่าปรับให้อียูไปแล้วหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ
17 ธันวาคม 2009 คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศถอนฟ้องไมโครซอฟท์ในคดีผูกขาดการค้าตลาดโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เนื่องจากพบว่า ไมโครซอฟท์มีการปรับปรุงโปรแกรมเบราว์เซอร์เพื่อหนุนให้ผู้ใช้วินโดวส์เลือกติดตั้งเบราว์เซอร์อื่นๆ ในระดับที่อียูพึงพอใจ โดยไมโครซอฟท์ได้เปิดทางให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ในยุโรปสามารถเปลี่ยนจากไออีไปใช้โปรแกรมอื่นได้ง่ายดาย ด้วยการจัดทำเพจพิเศษเพื่อให้ผู้ใช้คลิกเลือกเบราว์เซอร์หลากหลายค่าย เมื่อเปิดเครื่องครั้งแรกหลังลงโปรแกรม ซึ่งผู้ใช้ในยุโรปได้เห็นเพจนี้ในเดือนมีนาคม ปี 2010



http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000040834&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+22-4-59&utm_campaign=20160421_m130980188_MGR+Morning+Brief+22-4-59&utm_term=_E0_B8_8A_E0_B8_B3_E0_B9_81_E0_B8_AB_E0_B8_A5_E0_B8_B0_E0_B8_82_E0_B9_89_E0_B8_AD_E0_B8_AB_E0_B8_B2_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.