Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 เมษายน 2559 AIS ระบุ ล่าสุดลูกค้า 2 จี บนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ของเอไอเอส มีอยู่ทั้งสิ้น 250,000 ราย ส่วนลูกค้าที่ใช้บริการโรมมิ่งบนคลื่นดังกล่าวมีอยู่ประมาณ 7 ล้านราย

ประเด็นหลัก





นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยภายหลังรับทราบคำสั่งของ คสช. ว่า ขอขอบคุณรัฐบาลที่ช่วยเยียวยา ยืดเวลากำหนดซิมดับออกไปอีก จากเดิมที่มีกำหนดเส้นตายซิมดับในวันที่ 14 เม.ย.2559 ซึ่งคำสั่งดังกล่าวถือเป็นการช่วยเหลือลูกค้าผู้ใช้บริการ 2 จี บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ของเอไอเอส ให้สามารถใช้งานต่อไปได้ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ซึ่งมีความต้องการใช้งานสูง โดยคำสั่งของ คสช.ในครั้งนี้ไม่ได้มีข้อแลกเปลี่ยนใดๆ มองว่าเป็นการตัดสินใจเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ล่าสุดลูกค้า 2 จี บนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ของเอไอเอส มีอยู่ทั้งสิ้น 250,000 ราย ส่วนลูกค้าที่ใช้บริการโรมมิ่งบนคลื่นดังกล่าวมีอยู่ประมาณ 7 ล้านราย

นายสมชัยยังกล่าวถึงการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ครั้งใหม่หลังจากที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ไม่มาชำระเงินว่า เอไอเอสสนใจเข้าร่วมประมูล แต่แผนธุรกิจทั้งหมดจะต้องผ่านการอนุมัติจากบอร์ดบริษัทก่อน เพราะก่อนหน้านี้แม้เอไอเอสจะเคยทำหนังสือเสนอขอซื้อคลื่นดังกล่าวแล้วนั้น แต่การเสนอซื้อในครั้งนั้นไม่ได้ผ่านการอนุมัติจากบอร์ดอย่างเป็นทางการ

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการประมูลคลื่นความถี่ 900MHz ว่า กำหนดให้วันที่ 27 พ.ค. เป็นวันเปิดประมูลคลื่นความถี่ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 เพราะขั้นตอนปกติต้องมีการรับฟังความคิดเห็น และบวกกับเวลาเตรียมการของผู้เข้าร่วมประมูลซึ่งต้องใช้เวลา จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้กระบวนการเร็วขึ้น เพราะหากดำเนินการช้า ราคาจะลดลงในหลักพันล้านบาท คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงเห็นว่าต้องกำหนดให้ประมูลในวันที่ 27 พ.ค. จะเร็วกว่าหรือช้ากว่านี้ไม่ได้ โดยผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมประมูลได้ทั้งหมด ยกเว้นรายที่ผิดสัญญาไปเมื่อครั้งก่อน ขณะเดียวกัน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สามารถเข้าร่วมได้แม้ไม่ได้เชิญชวน เพราะถ้าปิดกั้นอาจโดนฟ้อง และถ้ามีผู้เข้าร่วมประมูลจำนวนมากจะช่วยพยุงราคาให้ขยับขึ้นไปได้ และต้องประมูลในราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท


นายวิษณุกล่าวอีกว่า จากการประมูลที่ผ่านมา ผู้ประมูลได้เป็นอันดับ 2 ในส่วนที่บริษัท แจส โมบาย จำกัด ชนะการประมูล คือ บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ตามหลักต้องมอบให้ดีแทค ซึ่งติดต่อไปแล้ว ดีแทคตอบรับพร้อมมีเงื่อนไขขอให้เริ่มประมูลในราคาที่ 10,000 ล้านบาท แต่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ และที่ไม่มอบให้บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เพราะเป็นการประมูลคนละชุด จึงต้องให้มาประมูลแข่งขันกันใหม่ แต่หากเอไอเอสเข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียวก็ต้องจ่ายในราคาที่บริษัท แจส โมบาย จำกัด เคยประมูลไว้ แต่หากไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล ยังคิดไม่ออกว่าต้องทำอย่างไร ยืนยันว่าต้องให้ความเป็น ธรรมกับทุกฝ่ายโดยเฉพาะทรู ผู้สื่อข่าวถามว่า หากทรูชนะการประมูลจะเหมือนการผูกขาดหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ขออย่าสมมติว่าทรูจะเป็นผู้ชนะ ไม่เช่นนั้นจะทำอย่างไร จะเขียนห้ามทรูเข้าร่วมประมูลหรือ จะยิ่งไปกันใหญ่กลายเป็นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เมื่อถามย้ำว่า แต่ได้คิดทางออกไว้หรือยังกรณีหากทรูชนะ นายวิษณุกล่าวว่า คิดไว้แล้ว แต่ยังบอกไม่ได้







____________________________________




งัดม.44-ให้ประมูล 4 จี กำหนด 27 พ.ค. เริ่มที่ 75,654 ล. ยันไม่มีซิมดับ


คสช.ใช้ ม.44 ยุติปมคลื่น 900 สั่งเปิดประมูลใหม่ ในวันที่ 27 พ.ค. ภายใต้เงื่อนไข ราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท เปิดกว้างให้ทุกรายร่วม พร้อมขยายมาตรการเยียวยา “ซิมไม่ดับ” ไปจนถึง 30 มิ.ย. หรือจนกว่า กสทช.ออกใบอนุญาตให้รายใหม่ “ทรูมูฟ” ส้มหล่น ได้ขยายเวลาใช้คลื่นเป็น 15 ปี 3 เดือน ขณะที่รายใหม่ได้ 15 ปีเป๊ะ ระบุเพื่อให้สิ้นสุดพร้อมกันทั้ง 2 ใบอนุญาต ด้าน “บิ๊กตู่” เผยเซ็นรับรองคำสั่ง คสช.เตรียมออก ม.44 คุ้มครองคนซิมดับ ขอไว้ใจรัฐประมูลรอบใหม่ ยันไม่ลดขั้นตอน แต่เร่งกระบวนการให้เร็วขึ้น

ความคืบหน้าเรื่องคลื่นความถี่ “4G” เมื่อวันที่ 12 เม.ย. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้ลงนามในคำสั่งคสช.ที่ 16 เรื่องการประมูลคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม โดยมีคำสั่งให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ย่าน 895-905 คู่กับ 940-940 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 27 พ.ค. ราคาเริ่มต้นการประมูล 75,654 ล้านบาท เคาะราคาประมูลเพิ่มครั้งละ 152 ล้านบาท วางหลักประกันในการประมูล 3,783 ล้านบาท โดยใช้รูปแบบการประมูลเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ต้องเปิดกว้างให้เอกชนที่รับใบอนุญาตจาก กสทช.เข้าร่วมประมูลได้ด้วย มีระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี โดยกำหนดให้ใบอนุญาตแรกของคลื่น 900 ที่ กสทช.ได้ออกไปแล้ว ต้องให้ไปสิ้นสุดในเวลาเดียวกันของใบอนุญาตคลื่น 900 ที่จะเปิดประมูลใหม่นี้ คาดว่าจะออกใบอนุญาตให้รายใหม่ได้ไม่เกินเดือน ก.ค.59 เช่น กรณีใบอนุญาตของบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด มีระยะเวลา 15 ปี นับตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.59-14 มี.ค.74 เปลี่ยนเป็นตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.59-1 ก.ค.74 ขณะที่ผู้รับใบอนุญาตรายใหม่ให้มีระยะเวลา 15 ปีเช่นกัน ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.59-1 ก.ค.74

นอกจากนั้น ยังได้ขยายระยะเวลามาตรการเยียวยา เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถใช้งานมือถือ 2 จี คลื่น 900 ได้อย่างต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.59 หรือจนกว่า กสทช.จะออกใบอนุญาตให้กับผู้ชนะประมูลคลื่น 900 รายใหม่ ที่จะมีการจัดประมูลในวันที่ 27 พ.ค.นี้ แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นก่อน ทั้งนี้ การประมูลครั้งใหม่นี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิ์รัฐในการเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด กรณีประมูลชนะแล้วไม่นำเงินมาชำระ

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า หลังจากรับทราบคำสั่ง คสช.ที่ให้ กสทช.เดินหน้าจัดประมูลใหม่ในวันที่ 27 พ.ค.นี้ และขยายระยะเวลาการใช้มือถือ 2 จีบนคลื่น 900 ออกไปสิ้นสุดในวันที่ 30 มิ.ย.59 หรือจนกว่า กสทช.จะออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะประมูลรายใหม่นั้น กสทช.ได้ส่งคำสั่ง คสช.ดังกล่าวให้ศาลปกครองรับทราบแล้ว เนื่องจากกรณีการเยียวยาผู้ใช้บริการมือถือนั้นบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวอร์ค จำกัด ในเครือ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองให้ขยายเวลาเยียวยาออกไปจนถึง 30 มิ.ย.นี้ จากเดิมที่จะหมดมาตรการเยียวยา และซิมจะดับในวันที่ 14 เม.ย.นี้ ดังนั้น เอไอเอสยังคงใช้คลื่น 900 ซึ่งเป็นคลื่นย่านความถี่ ที่แจสโมบายชนะประมูลต่อไปได้ โดยเอไอเอสต้องจ่ายเงินให้รัฐตามประกาศมาตรการเยียวยากรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานหรือสิ้นสุดใบอนุญาต ในอัตราที่ไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อไป

“เมื่อได้รับคำสั่ง คสช. ก็ได้ลงนามประกาศเชิญชวนเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูล โดยตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย.-17 พ.ค.59 จะเป็นการเปิดให้ยื่นเอกสาร วันที่ 18 พ.ค.59 กสทช.จะตรวจคุณสมบัติ และระหว่างวันที่ 19-22 พ.ค. ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมประมูล ในวันที่ 23 พ.ค. เปิดให้ผู้เข้าร่วมประมูลทดลองการเคาะราคา ซึ่งเป็นวิธีเดิมของการประมูลที่ผ่านมา ในวันที่ 25 พ.ค และเปิดเคาะราคาจริงในวันที่ 27 พ.ค. ตามประกาศของ คสช.”

นายฐากรกล่าวต่อว่า สำหรับเงื่อนไขการชำระเงินนั้น ผู้ชนะประมูลจะต้องนำเงินมาชำระภายใน 90 วันนับจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) รับรองผลการประมูลอย่างเป็นทางการ โดยแบ่งชำระเป็นเวลา 4 ปี ปีแรก 8,040 ล้านบาท ปีที่ 2 และปีที่ 3 ปีละ 4,020 ล้านบาท และปีที่ 4 ชำระส่วนที่เหลือทั้งหมด

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงความคืบหน้าการเปิดประมูล 4G คลื่นความถี่ 900 MHz รอบใหม่ว่า เดี๋ยวเขาก็จะประมูล ส่วนมาตรา 44 จะคุ้มครองคนที่ซิมดับ เพราะเราไม่สามารถทำการประมูลได้ในระยะเวลาอันสั้นหรือทันเวลา คำสั่ง คสช.เรื่องนี้เซ็นรับรองเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้มีการลดขั้นตอนเพราะการประมูลก็คือประมูล ต้องคุ้มครองคนที่ซิมจะดับ เพราะเขาเดือดร้อนกว่าล้านเลขหมาย ต้องดูแลคนทุกภาคส่วน ส่วนการประมูลรายได้ต้องเข้ารัฐ ไว้ใจกันบ้าง ส่วนเรื่องผลประโยชน์จะเป็นของใคร ไม่รู้ เพราะผลประโยชน์อยู่กับชาติ ประมูลมาเงินก็เข้าชาติไม่ได้เข้ากระเป๋าตน

ที่สำคัญเรามีเรื่องต้องทำเยอะแยะที่ต้องใช้เงิน “เราต้องไปเร่งกระบวนการให้เร็วขึ้น แต่ไม่ได้ ลดขั้นตอน เช่น เขาต้องไปประชุมกันเรื่องหุ้นอะไรกันอยู่เยอะแยะไปหมด ทีนี้ก็ลองประชุมให้มันเร็วขึ้นหน่อยได้ไหม ต้องเสร็จในเวลาที่กำหนด เพื่อให้ ทันต่อการคุ้มครองเยียวยา การประมูลเพื่อให้มีรายได้เข้ารัฐ ให้ความเป็นธรรมกับทุกบริษัทที่สามารถเข้าประมูลได้ พอใจหรือยัง อย่าเอาเราไปทะเลาะกับคนอื่นมันเสียเวลาเข้าใจไหม เอาสิ่งที่อธิบายไปอธิบายบ้าง ถ้าเขาจะวิจารณ์ด้วยความสุจริตก็ว่ามาเราจะแก้และทำให้ ไม่ใช่ไปเขียนให้พันกันไปหมด ทำให้เราดูเหมือนไม่ทำอะไร” นายกฯกล่าว

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยภายหลังรับทราบคำสั่งของ คสช. ว่า ขอขอบคุณรัฐบาลที่ช่วยเยียวยา ยืดเวลากำหนดซิมดับออกไปอีก จากเดิมที่มีกำหนดเส้นตายซิมดับในวันที่ 14 เม.ย.2559 ซึ่งคำสั่งดังกล่าวถือเป็นการช่วยเหลือลูกค้าผู้ใช้บริการ 2 จี บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ของเอไอเอส ให้สามารถใช้งานต่อไปได้ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ซึ่งมีความต้องการใช้งานสูง โดยคำสั่งของ คสช.ในครั้งนี้ไม่ได้มีข้อแลกเปลี่ยนใดๆ มองว่าเป็นการตัดสินใจเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ล่าสุดลูกค้า 2 จี บนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ของเอไอเอส มีอยู่ทั้งสิ้น 250,000 ราย ส่วนลูกค้าที่ใช้บริการโรมมิ่งบนคลื่นดังกล่าวมีอยู่ประมาณ 7 ล้านราย

นายสมชัยยังกล่าวถึงการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ครั้งใหม่หลังจากที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ไม่มาชำระเงินว่า เอไอเอสสนใจเข้าร่วมประมูล แต่แผนธุรกิจทั้งหมดจะต้องผ่านการอนุมัติจากบอร์ดบริษัทก่อน เพราะก่อนหน้านี้แม้เอไอเอสจะเคยทำหนังสือเสนอขอซื้อคลื่นดังกล่าวแล้วนั้น แต่การเสนอซื้อในครั้งนั้นไม่ได้ผ่านการอนุมัติจากบอร์ดอย่างเป็นทางการ

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการประมูลคลื่นความถี่ 900MHz ว่า กำหนดให้วันที่ 27 พ.ค. เป็นวันเปิดประมูลคลื่นความถี่ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 เพราะขั้นตอนปกติต้องมีการรับฟังความคิดเห็น และบวกกับเวลาเตรียมการของผู้เข้าร่วมประมูลซึ่งต้องใช้เวลา จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้กระบวนการเร็วขึ้น เพราะหากดำเนินการช้า ราคาจะลดลงในหลักพันล้านบาท คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงเห็นว่าต้องกำหนดให้ประมูลในวันที่ 27 พ.ค. จะเร็วกว่าหรือช้ากว่านี้ไม่ได้ โดยผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมประมูลได้ทั้งหมด ยกเว้นรายที่ผิดสัญญาไปเมื่อครั้งก่อน ขณะเดียวกัน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สามารถเข้าร่วมได้แม้ไม่ได้เชิญชวน เพราะถ้าปิดกั้นอาจโดนฟ้อง และถ้ามีผู้เข้าร่วมประมูลจำนวนมากจะช่วยพยุงราคาให้ขยับขึ้นไปได้ และต้องประมูลในราคาเริ่มต้น 75,654 ล้านบาท

นายวิษณุกล่าวอีกว่า จากการประมูลที่ผ่านมา ผู้ประมูลได้เป็นอันดับ 2 ในส่วนที่บริษัท แจส โมบาย จำกัด ชนะการประมูล คือ บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ตามหลักต้องมอบให้ดีแทค ซึ่งติดต่อไปแล้ว ดีแทคตอบรับพร้อมมีเงื่อนไขขอให้เริ่มประมูลในราคาที่ 10,000 ล้านบาท แต่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ และที่ไม่มอบให้บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เพราะเป็นการประมูลคนละชุด จึงต้องให้มาประมูลแข่งขันกันใหม่ แต่หากเอไอเอสเข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียวก็ต้องจ่ายในราคาที่บริษัท แจส โมบาย จำกัด เคยประมูลไว้ แต่หากไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล ยังคิดไม่ออกว่าต้องทำอย่างไร ยืนยันว่าต้องให้ความเป็น ธรรมกับทุกฝ่ายโดยเฉพาะทรู ผู้สื่อข่าวถามว่า หากทรูชนะการประมูลจะเหมือนการผูกขาดหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ขออย่าสมมติว่าทรูจะเป็นผู้ชนะ ไม่เช่นนั้นจะทำอย่างไร จะเขียนห้ามทรูเข้าร่วมประมูลหรือ จะยิ่งไปกันใหญ่กลายเป็นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เมื่อถามย้ำว่า แต่ได้คิดทางออกไว้หรือยังกรณีหากทรูชนะ นายวิษณุกล่าวว่า คิดไว้แล้ว แต่ยังบอกไม่ได้


http://www.thairath.co.th/content/605224

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.