Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 เมษายน 2559 แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมตั้งข้อสังเกตถึงท่าทีของ กสทช.ว่า ดูเหมือนจะมีการเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนบางราย โดยไล่เรียงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่ทรูเข้ามาจ่ายค่าประมูลความถี่ 900 MHz กสทช.ก็เปิดช่องให้ ทรู นำคลื่นมาให้ เอไอเอส เช่า ในมูลค่า 450 ล้านบาทต่อเดือน ทั้งที่ความเป็นจริงไม่สามารถทำได้เพราะผิดกฎหมาย

ประเด็นหลัก

       แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมตั้งข้อสังเกตถึงท่าทีของ กสทช.ว่า ดูเหมือนจะมีการเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนบางราย โดยไล่เรียงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่ทรูเข้ามาจ่ายค่าประมูลความถี่ 900 MHz กสทช.ก็เปิดช่องให้ ทรู นำคลื่นมาให้ เอไอเอส เช่า ในมูลค่า 450 ล้านบาทต่อเดือน ทั้งที่ความเป็นจริงไม่สามารถทำได้เพราะผิดกฎหมาย ที่สำคัญ ทั้งๆ ที่รู้ว่า ลูกค้าของเอไอเอส อยู่ใน LOT1 ไม่ใช่ LOT2 ของทรู แล้วต่อมาอีก 2-3 วัน ก็กลับลำให้ทรู เปิดทางให้เอไอเอสใช้คลื่นฟรี เพราะเห็นแล้วว่าถ้าให้เช่าผิดแน่นอน


__________________________________



กสทช.นาทีนี้เอื้อใคร ?

 กสทช.นาทีนี้เอื้อใคร ?
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

        ในวันที่ 5 เม.ย.ที่จะถึงนี้ กสทช.เรียก บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด มาชี้แจงในประเด็นที่สงสัยทั้งหมด เช่น เพราะเหตุใดจึงเคาะราคาเพียงสล็อตแรก สล็อตเดียวโดยไม่เปลี่ยนแปลงไปสล็อตอื่น เหตุใดผู้บริหารสูงสุดจึงไม่เข้ามาเคาะราคาเอง ขณะที่รายอื่นส่งผู้บริหารระดับสูงมาเคาะราคา มีการเตรียมดำเนินการขอเอกสารค้ำประกันทางการเงินต่อธนาคาร (แบงก์การันตี) หรือไม่ หรือมีกระบวนในการดำเนินการหาเงินมาจ่ายค่าประมูลหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งคำถามหลักๆ นี้ กสทช.ได้แจ้งให้แจสทราบอย่างเป็นทางการแล้ว เพื่อจะได้มีเวลาในการเตรียมเอกสารมาชี้แจง
     
       จนถึงขณะนี้สังคมกำลังเฝ้ามองว่า กสทช.จะมีวิธีจัดการต่อเรื่องนี้อย่างไร จะเลือกยืนบนผลประโยชน์ฟากไหน ระหว่างรัฐ เอกชนบางราย หรือกลับกลายเป็นช่วยเยียวยาแจส
     
       แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมตั้งข้อสังเกตถึงท่าทีของ กสทช.ว่า ดูเหมือนจะมีการเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนบางราย โดยไล่เรียงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่ทรูเข้ามาจ่ายค่าประมูลความถี่ 900 MHz กสทช.ก็เปิดช่องให้ ทรู นำคลื่นมาให้ เอไอเอส เช่า ในมูลค่า 450 ล้านบาทต่อเดือน ทั้งที่ความเป็นจริงไม่สามารถทำได้เพราะผิดกฎหมาย ที่สำคัญ ทั้งๆ ที่รู้ว่า ลูกค้าของเอไอเอส อยู่ใน LOT1 ไม่ใช่ LOT2 ของทรู แล้วต่อมาอีก 2-3 วัน ก็กลับลำให้ทรู เปิดทางให้เอไอเอสใช้คลื่นฟรี เพราะเห็นแล้วว่าถ้าให้เช่าผิดแน่นอน
     
       หลังจากนั้น เมื่อแจส เบี้ยวไม่มาจ่ายค่าประมูลความถี่ 900 MHz ที่ชนะประมูล กสทช. ก็ออกอาการหนักเรื่องของการเปิดประมูลรอบใหม่ แต่เริ่มที่ราคาสุดท้ายของแจส คือ ที่ 75,654 ล้านบาท ทั้งที่มีผู้คนมากมายหลายกระแสเสียงออกมาให้คำแนะนำว่า ควรเริ่มที่ราคาตั้งต้นเดิม หรือ พิจารณาที่ราคาอื่น ซึ่งจะมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะมีผู้เข้าร่วมประมูล
     
       ประเด็นต่อมาคือ กสทช.เปิดทางให้ทรู เข้าร่วมประมูลรอบ 2 อย่างเต็มที่ ทั้งที่หลายคนมองว่าไม่ควรเข้าร่วมแล้ว เนื่องจากว่า ทรู ได้ไลเซนส์ใน LOT2 แล้ว และที่สำคัญจากหลักเกณฑ์ที่ กสทช.วางไว้ คือ ผู้ให้บริการหนึ่งรายสามารถถือใบอนุญาตบนคลื่นความถี่เดียวกันได้เพียง 1 ใบเท่านั้น การเปลี่ยนเงื่อนไขการประมูลรอบ 2 ครั้งนี้ มองว่าเอื้อประโยชน์อย่างเต็มๆ
     
       นอกจากนี้ สิ่งที่ กสทช.กำลังทำกลายเป็นการเยียวยา แจส ด้วยเหตุที่ว่า กสทช.ไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาเลยว่าจะลงโทษแจส นอกจากดำเนินการปรับเพียง 644 ล้านบาทเท่านั้น และ กสทช. เปิดช่องเปิดโอกาสให้แจสใช้ช่วงจังหวะเวลากว่า 90 วันของการจ่ายค่าประมูลตามเงื่อนไขการประมูล ในการเข้าไปปั่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ฯ จนส่งผลกระทบในภาพรวมของตลาดอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม และการที่ กสทช.กำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 75,645 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาสุดท้ายของแจส มองว่า เป็นการปิดฉากการประมูลได้เลย เพราะหากราคาเริ่มต้นสูงคงไม่มีผู้ประกอบการรายใดเข้าร่วม เพราะจะทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจสูงเกินความเป็นจริง
     
       “ดังนั้น กสทช. ควรเริ่มที่ราคาตั้งต้นเดิมของการประมูลครั้งแรก และเมื่อผลการประมูลรอบ 2 จบลงแล้วราคาไม่ถึงราคาสุดท้ายของแจส กสทช. ก็ควรนำส่วนต่างที่ขาดไปดำเนินการจัดเก็บจากแจส เพื่อให้ได้ครบตามราคาสุดท้ายที่แจสทำไว้ และจุดนี้รัฐก็จะไม่เสียประโยชน์ แต่นี่กลับเริ่มราคาสุดท้าย แล้วใครจะกล้าเข้ามาร่วมประมูล รัฐไม่ยิ่งเสียหายมากกว่าที่เป็นอยู่หรือ และถ้าหากมีผู้เข้าประมูลได้ไปในราคามากกว่า 7.5 หมื่นล้าน เพราะ กสทช.ก็เปิดช่องว่าแค่รายเดียวมาเคาะยืนยันราคาก็ได้ ก็เท่ากับเยียวยาแจส ไม่ต้องไปเอาผิดต่อแจสในเรื่องค่าเสียหาย และค่าส่วนต่างจากการประมูลครั้งที่ 2 เพราะไม่มีส่วนต่างแล้ว”

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000034597

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.