Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 เมษายน 2559 เลขาธิการ กสทช.ฐากร ระบุ กสทช.วาระพิเศษ ว่า ที่ประชุมมีมติ 5 : 3 ไม่ให้ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งใหม่ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ เนื่องจากที่ประชุมเกรงว่า ทรูฯ จะกลายเป็นผู้ให้บริการที่ผูกขาดในตลาดโทรคมนาคมเพียงรายเดียว

ประเด็นหลัก



        บอร์ด กสทช.ลงมติ 5:3 ห้ามทรูฯประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ เกรงผูกขาดตลาดโทรคมนาคม พร้อมส่งบทวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียตามหนังสือที่เอไอเอสยื่นขอให้ กสทช.ยื่นเรื่องให้หัวหน้า คสช.มอบคลื่นในราคาแจสให้เอไอเอสโดยไม่ต้องประมูล เพื่อให้ได้ความชัดเจนก่อน 14 เม.ย.
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ กสทช.วาระพิเศษ ว่า ที่ประชุมมีมติ 5 : 3 ไม่ให้ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งใหม่ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ เนื่องจากที่ประชุมเกรงว่า ทรูฯ จะกลายเป็นผู้ให้บริการที่ผูกขาดในตลาดโทรคมนาคมเพียงรายเดียว และราคาเริ่มต้นที่ 75,654 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ชนะการประมูล และที่ประชุม กสทช.ลงมติ 6:0 ให้เริ่มการประมูลที่ราคานี้เป็นราคาที่สูงอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องหาผู้เข้าร่วมประมูลเข้ามาแข่งขันจำนวนมากเหมือนเจตนาที่สำนักงานตั้งใจ ซึ่งเชื่อว่าหากทรูฯ เข้าร่วมประมูลก็จะกระตุ้นให้ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เข้ามาแข่งขันประมูลด้วย
     
       นอกจากนี้ ที่ประชุมยังคงเห็นชอบตามมติที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เห็นชอบไป ไม่ว่าจะเป็นการเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz โดยให้นำร่างไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) การเคาะราคาเพิ่มขั้นครั้งละ 152 ล้านบาท การวางเงินหลักประกันการประมูลยังคงคิดที่สัดส่วน 5% ของราคาเริ่มต้น ทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางเงินหลักประกัน จำนวน 3,783 ล้านบาท ส่วนการชำระเงินค่าประมูลยังคงยึดหลักเกณฑ์ตามเดิมคือ การจ่ายแบ่งออกเป็น 4 งวด คือ งวดแรก 8,040 ล้านบาท งวดที่ 2-3 จำนวน 4,020 ล้านบาท และงวดที่ 4 ชำระเงินทั้งหมดที่เหลือ




_______________________________________________






มติบอร์ด กสทช. 5:3 ห้ามทรูฯ ประมูล 900 MHz รอบใหม่ หวั่นผูกขาด

 มติบอร์ด กสทช. 5:3 ห้ามทรูฯ ประมูล 900 MHz รอบใหม่ หวั่นผูกขาด

        บอร์ด กสทช.ลงมติ 5:3 ห้ามทรูฯประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ เกรงผูกขาดตลาดโทรคมนาคม พร้อมส่งบทวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียตามหนังสือที่เอไอเอสยื่นขอให้ กสทช.ยื่นเรื่องให้หัวหน้า คสช.มอบคลื่นในราคาแจสให้เอไอเอสโดยไม่ต้องประมูล เพื่อให้ได้ความชัดเจนก่อน 14 เม.ย.
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ กสทช.วาระพิเศษ ว่า ที่ประชุมมีมติ 5 : 3 ไม่ให้ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งใหม่ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ เนื่องจากที่ประชุมเกรงว่า ทรูฯ จะกลายเป็นผู้ให้บริการที่ผูกขาดในตลาดโทรคมนาคมเพียงรายเดียว และราคาเริ่มต้นที่ 75,654 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ชนะการประมูล และที่ประชุม กสทช.ลงมติ 6:0 ให้เริ่มการประมูลที่ราคานี้เป็นราคาที่สูงอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องหาผู้เข้าร่วมประมูลเข้ามาแข่งขันจำนวนมากเหมือนเจตนาที่สำนักงานตั้งใจ ซึ่งเชื่อว่าหากทรูฯ เข้าร่วมประมูลก็จะกระตุ้นให้ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เข้ามาแข่งขันประมูลด้วย
     
       นอกจากนี้ ที่ประชุมยังคงเห็นชอบตามมติที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เห็นชอบไป ไม่ว่าจะเป็นการเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz โดยให้นำร่างไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) การเคาะราคาเพิ่มขั้นครั้งละ 152 ล้านบาท การวางเงินหลักประกันการประมูลยังคงคิดที่สัดส่วน 5% ของราคาเริ่มต้น ทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางเงินหลักประกัน จำนวน 3,783 ล้านบาท ส่วนการชำระเงินค่าประมูลยังคงยึดหลักเกณฑ์ตามเดิมคือ การจ่ายแบ่งออกเป็น 4 งวด คือ งวดแรก 8,040 ล้านบาท งวดที่ 2-3 จำนวน 4,020 ล้านบาท และงวดที่ 4 ชำระเงินทั้งหมดที่เหลือ
     
       ขณะที่เงื่อนไขการรับผิดกรณีไม่ชำระเงินค่าประมูล นอกจากจะริบเงินประกันแล้ว กสทช.จะเก็บเงินส่วนต่างอีกอย่างน้อย 11,348 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินประกัน 5% เพื่อให้เท่ากับมูลค่าคลื่น 80% ที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ประเมินไว้ คือ 15,131 ล้านบาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นที่เกิดขึ้น เช่น ค่าจัดงานการประมูลประมาณ 80 ล้านบาท ซึ่งหากผู้ชนะการประมูลรายที่ 1 ไม่ชำระค่าประมูล กสทช.สามารถเรียกผู้ชนะรายที่ 2 มารับใบอนุญาตในราคาที่ผู้ประมูลรายที่ 2 เสนอได้ทันที นอกจากนี้ การประมูลดังกล่าวหากมีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียวก็สามารถจัดการประมูลได้ โดยให้ผู้สนใจดังกล่าวมาเคาะยืนยันราคา
     
       สำหรับกรอบเวลาในการประมูล คือ วันที่ 5-28 เม.ย.เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) บนเว็บไซต์ วันที่ 22 เม.ย.จัดประชุมประชาพิจารณ์ ณ สโมสรกองทัพบก วันที่ 12 พ.ค.นำร่างไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 13 พ.ค.-12 มิ.ย. ประกาศเชิญชวน และวันที่ 13 มิ.ย. เปิดให้ผู้สนใจยื่นซองประมูล
     
       นายฐากร กล่าวว่า กรณีเอไอเอสทำหนังสือแจ้ง กสทช.ว่า ยินดีที่จะรับช่วงคลื่นในราคาสุดท้ายที่แจสชนะประมูลโดยขอให้ กสทช.นำเรื่องเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ใช้มาตรา 44 ในการมอบคลื่นให้เอไอเอสโดยไม่ต้องประมูลนั้น สำนักงานเห็นว่า ไม่ใช่อำนาจของ กสทช. จึงไม่ต้องนำเข้าที่ประชุม แต่สำนักงานจะได้ส่งบทวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียนำเสนอหัวหน้า คสช. เพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 14 เม.ย.ซึ่งเป็นวันซิมดับของลูกค้าเอไอเอส
     
       ทั้งนี้ หากหัวหน้า คสช.เห็นชอบ สำนักงานจะออกประกาศกลางเพิ่มเติมในการนำราคาที่แจสชนะเพื่อเชิญชวนผู้สนใจมารับคลื่นในราคาดังกล่าวโดยไม่ต้องประมูล โดยจะเชิญผู้ประกอบการที่เข้าร่วมประมูลที่ชนะการประมูลในลำดับที่ 2 คือ เอไอเอส มาสอบถามก่อน หากไม่สนใจก็จะเชิญดีแทค มาสอบถาม และหากไม่สนใจอีกก็จะเชิญทรูฯ มาสอบถาม
     
       “การทำบทวิเคราะห์เราต้องทำภายใต้การยึดผลประโยชน์ของรัฐ ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ต้องไม่ติดใจ ซึ่งเราก็ต้องเรียกทั้ง เอไอเอส ดีแทค และทรูฯ มาสอบถามด้วยก่อนจะทำบทวิเคราะห์ต่างๆ ให้ดีที่สุด กสทช.ทำงานทุกวันไม่มีวันหยุด ดังนั้น และได้ส่งให้ทสง คสช. เรียบร้อยแล้ว หากไม่ต้องมีการประมูล และเอไอเอสได้คลื่นไป เอไอเอสจะสามารถมาชำระเงินค่าประมูลงวดแรกพร้อมหนังสือค้ำประกันทางการเงิน หรือแบงก์การันตีได้ภายใน 2 เดือน เพราะต้องใช้เวลาในการประชุมกับกรรมการบริษัทรวมถึงการหาแบงก์การันตีด้วย”
     

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000034933

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.