Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มีนาคม 2559 DTAC ยอมรับว่า ราคาคลื่นความถี่ทั้ง 1800MHz และ 900 MHz ที่สูงมากจากการประมูลคราวที่แล้วจะมีผลกระทบต่อเนื่องต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระยะยาว

ประเด็นหลัก



นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทคขอชื่นชม กสทช.ในการจัดการประมูลคลื่น 1800MHz และ 900MHz ที่ผ่านมา เพื่อให้มีแบนด์วิธตอบสนองความต้องการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้นสูงเป็นอย่างมาก การมีคลื่นความถี่บริการอย่างพอเพียงทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้ขยายประสิทธิภาพของบริการเพื่อรองรับการเติบโตได้ทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับว่า ราคาคลื่นความถี่ทั้ง 1800MHz และ 900 MHz ที่สูงมากจากการประมูลคราวที่แล้วจะมีผลกระทบต่อเนื่องต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระยะยาว
นอกจากนี้ การที่ผู้ชนะการประมูลไม่สามารถชำระค่าคลื่นความถี่งวดแรก รวมทั้งไม่สามารถวางหนังสือค้ำประกันค่าคลื่นความถี่ต่อ กสทช. ได้ตามกำหนดนั้น อาจพิจารณาได้ว่า ในการประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 1800 MHz และ900 MHz ได้เกิด “ความต้องการเทียม” ในการประมูล และเป็นปัจจัยหลักในการดันราคาการประมูลให้สูงเกินกว่าความต้องการที่แท้จริงของอุตสาหกรรม
ราคาการประมูลคลื่นความถี่ที่สูงเกินความคาดหมายได้ส่งผลกระทบทั้งด้านบวก และด้านลบ ในขณะที่รัฐได้รายได้จากการประมูลคลื่นจำนวนมาก แต่ผลด้านลบกลับเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้บริโภคมีความกังวลต่อความสามารถในการให้บริการที่ต้นทุนที่สูงมาก นักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศเกิดความไม่มั่นใจในการลงทุน ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่งผลให้มูลค่าตลาด (Market Capitalization) ของบริษัทที่เข้าร่วมการประมูลทั้ง 4 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลดลงเป็นมูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาท







________________________________________________





ดีแทคค้านทรูฯ ร่วมประมูล 900 MHz
ดีแทคค้านทรูฯ ร่วมประมูล 900 MHz
นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค

ดีแทค ชี้ทรูฯ ไม่ควรเข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz อีก ระบุตามกฎ กสทช.ทรูฯ ได้คลื่นความถี่ไปแล้วหนึ่งชุด หากได้อีกคลื่นอาจถูกผูกขาดแค่รายใดรายหนึ่ง ส่งผลให้การแข่งขันไม่เป็นธรรม
นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทคขอชื่นชม กสทช.ในการจัดการประมูลคลื่น 1800MHz และ 900MHz ที่ผ่านมา เพื่อให้มีแบนด์วิธตอบสนองความต้องการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้นสูงเป็นอย่างมาก การมีคลื่นความถี่บริการอย่างพอเพียงทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้ขยายประสิทธิภาพของบริการเพื่อรองรับการเติบโตได้ทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับว่า ราคาคลื่นความถี่ทั้ง 1800MHz และ 900 MHz ที่สูงมากจากการประมูลคราวที่แล้วจะมีผลกระทบต่อเนื่องต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระยะยาว
นอกจากนี้ การที่ผู้ชนะการประมูลไม่สามารถชำระค่าคลื่นความถี่งวดแรก รวมทั้งไม่สามารถวางหนังสือค้ำประกันค่าคลื่นความถี่ต่อ กสทช. ได้ตามกำหนดนั้น อาจพิจารณาได้ว่า ในการประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 1800 MHz และ900 MHz ได้เกิด “ความต้องการเทียม” ในการประมูล และเป็นปัจจัยหลักในการดันราคาการประมูลให้สูงเกินกว่าความต้องการที่แท้จริงของอุตสาหกรรม
ราคาการประมูลคลื่นความถี่ที่สูงเกินความคาดหมายได้ส่งผลกระทบทั้งด้านบวก และด้านลบ ในขณะที่รัฐได้รายได้จากการประมูลคลื่นจำนวนมาก แต่ผลด้านลบกลับเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้บริโภคมีความกังวลต่อความสามารถในการให้บริการที่ต้นทุนที่สูงมาก นักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศเกิดความไม่มั่นใจในการลงทุน ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่งผลให้มูลค่าตลาด (Market Capitalization) ของบริษัทที่เข้าร่วมการประมูลทั้ง 4 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลดลงเป็นมูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ภาระค่าคลื่นความถี่ในระดับดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการขยายโครงข่ายการพัฒนาบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการนำไปสู่การสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และเป็นหลักสำคัญของความสำเร็จในการผลักดันนโยบายดิจิตอลไทยแลนด์ของรัฐบาล
ดีแทค ไตรเน็ต จึงขอสนับสนุน กสทช. ในการจัดประมูลคลื่น 900 MHz ชุดที่ 1 ใหม่ (Re-auction) ตามประกาศ กสทช. กฎการประมูลและเงื่อนไขการประมูลซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ด้วยการประมูลคลื่น 900 MHz ชุดที่ 1 ใหม่เป็นการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประมูลคลื่น 900 MHz คราวก่อน บริษัทฯ จึงเห็นว่าการประมูลคราวนี้ควรจำกัดไว้เฉพาะผู้ที่เข้าร่วมการประมูลที่เหลืออยู่จากการประมูลคลื่น 900 MHz คราวก่อนเท่านั้น โดยผู้ที่ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งก่อนไม่ควรมีสิทธิเข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้ เนื่องจากได้ครอบครองคลื่นความถี่ 900 MHz จำนวน 1 ใบอนุญาตไปแล้ว ตามกฎการประมูลที่อนุญาตให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแต่ละรายมีสิทธิยื่นประมูลคลื่นความถี่ได้ไม่เกินหนึ่งชุดคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และคุ้มครองผู้บริโภคโดยไม่ให้ผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งผูกขาดครอบครองคลื่นความถี่ 900 MHz ทั้งหมดเพียงรายเดียว
นอกจากนี้ ราคาขั้นต่ำ (Reserve Price) ของการประมูลคลื่น 900 MHz ชุดที่ 1 ครั้งใหม่นี้ควรกำหนดที่ราคา 16,080 ล้านบาท เท่ากับการประมูลคลื่น 900 MHz คราวก่อน (ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมประมูลมีจำนวนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ราย) ซึ่งโดยวิธีนี้จะเป็นการประมูลแข่งขันที่จะเป็นการกำหนดมูลค่าคลื่นความถี่ 900 MHz ชุดที่ 1 ที่แท้จริงและไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ
นอกจากนั้น ดีแทค ไตรเน็ต ขอเสนอให้ กสทช.จัดให้การรับฟังความเห็นสาธารณะเพื่อรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียเป็นการทั่วไปด้วย โดยบริษัทฯ ยินดีให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อ กสทช.ในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะที่จะมีขึ้นเพื่อนำไปสู่การจัดการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ชุดที่ 1 (Re-auction) ด้วยความสำเร็จลุล่วงด้วยดีต่อไป

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000030018&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+24-3-59&utm_campaign=20160323_m130421464_MGR+Morning+Brief+24-3-59&utm_term=_E0_B8_94_E0_B8_B5_E0_B9_81_E0_B8_97_E0_B8_84_E0_B8_84_E0_B9_89_E0_B8_B2_E0_B8_99_E0_B8_97_E0_B8_A3_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.