Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มีนาคม 2559 (บทความ) หุ้นส่วนประเทศไทย: หนุน 'บิ๊กตู่' ใช้ม.44 แก้ปม 'JAS' แบบม้วนเดียวจบ // ผู้เขียนมองว่าการประมูลตามระบบครั้งถัดจากนี้ไป ซึ่งตามกฎระเบียบเก่าจะต้องตั้งราคาที่ 7.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมประมูลหรือไม่? และจะเป็นปัญหาเรื้อรังต่อไปไม่จบ

ประเด็นหลัก           อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมองว่าการประมูลตามระบบครั้งถัดจากนี้ไป ซึ่งตามกฎระเบียบเก่าจะต้องตั้งราคาที่ 7.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมประมูลหรือไม่? และจะเป็นปัญหาเรื้อรังต่อไปไม่จบ จึงอยากจะให้ใช้ระบบอำนาจพิเศษจัดการแบบ "จบคือจบ" ไม่เกิดปัญหาเรื้อรัง ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังหวังว่าจะได้เห็นการแข่งขันระหว่าง AIS กับ DTAC อีกครั้งในโอกาสต่อไป
          เป็นที่น่ายินดีที่ได้ทราบว่า "บิ๊กตู่" ได้สั่งให้ดำเนินการประมูลใหม่ต่อไป แต่ถ้าหากมิใด้สั่งโดยมาตรา 44 ผู้เขียนจึงยังห่วงว่าอาจไม่สะเด็ดน้ำ และยังไม่อาจจบในม้วนเดียวได้ ถ้าไม่สั่งโดยอำนาจพิเศษ (ม.44.)…ว่าไหม?!
          ทั้งนี้ หากปล่อยให้ "ปม" ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันดังกล่าวนี้ แก้ไขหรือใช้ระบบการประมูลตามปกติโดยระเบียบข้อบังคับกสทช.ที่มีอยู่. น่าจะไม่ "เวิร์ก" เพราะเป็นกรณีพิเศษที่ไม่เคยเกิดมาก่อน จึงต้องแก้ด้วยวิธีพิเศษชนิดฉับไว เพื่อมิให้เกิดการ "สูญเสียโอกาส" ตามที่ทุกฝ'ยเป็นห่วง!?
          ดังนั้น จึงถึงเวลาอันควรอย่างยิ่งที่ "บิ๊กตู่" ผู้มุ่งมั่นจะขับเคลื่อนประเทศให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ ได้ลงมือใช้มาตรการ "เด็ดขาด" (ม.44) เพื่อรักษาประโยชน์ของชาติและประชาชนโดยไม่ปล่อยให้เกิดการสูญเสียโอกาสดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วงอย่างเบ็ดเสร็จแบบม้วนเดียวจบ อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความ "ศักดิ์สิทธิ์และประโยชน์" ของอำนาจ (ม.44) สำหรับแก้ไขปัญหา (ไม่ปกติ) อย่างมีประสิทธิภาพ ที่กฎหมายปกติมิอาจกระทำได้ จนสัมฤทธิผลอีกด้วย ซึ่ง ผู้เขียน เชื่อว่า
________________________________________________ คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย: หนุน 'บิ๊กตู่' ใช้ม.44 แก้ปม 'JAS' แบบม้วนเดียวจบ

คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย: หนุน 'บิ๊กตู่' ใช้ม.44 แก้ปม 'JAS' แบบม้วนเดียวจบ

          ไพรัช วรปาณิ
          กรรมการอัยการ

          ปกติผู้เขียนไม่นิยมที่จะสนับสนุนให้ผู้นาที่หวังดีต่อประเทศอย่าง "บิ๊กตู่" ใช้อำนาจเด็ดขาด Absolute Authority (ม.44) โดยไม่จำเป็นและพร่ำเพรื่อ แต่สำหรับในบางกรณีที่จำเป็น เช่น กรณี "JAS" จึงเห็นควรใช้อำนาจพิเศษเข้ามาแก้ปัญหา เพื่อสกัดกั้น ป้องกันมิให้เกิดความเสียหายอันไม่คาดคิด ย่อมจักต้องใช้มาตรการเด็ดขาด เฉียบคม รวดเร็ว เพื่อรักษาประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างทันท่วงที
          ปรากฏการณ์ประกาศเบี้ยวชำระค่าประมูลคลื่นความถี่แก่ กสทช.ของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JAS เมื่อวันที่ 23 มี.ค.นี้ เป็นที่บ่งชี้ชัดเจนแล้วว่า "JAS" ไม่สามารถหาเงินงวดแรกจำนวน 8,040 ล้านบาท มาชำระค่าประมูลคลื่น 900 MHz (4จี) ให้แก่ กสทช.ได้สำเร็จ และออกแถลงข่าวเบี้ยวการจ่ายอย่างเป็นทางการ โดยอ้างว่านำหนังสือค้ำประกันจากแบงก์จีนไม่ทัน การถูกริบเงินประกัน 644 ล้านบาท ไม่กระทบบริษัท พร้อมแจ้งว่า พิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จัสมินฯ จะมาแถลงข่าวด้วยตัวเอง
          แต่ต่อมาฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ JAS ก็กลับมาแจ้งยกเลิกการแถลงข่าวด้วยเหตุผลว่า ต้องเข้าชี้แจงต่อ ตลท.ก่อน ทำเอาคนรอฟังข่าวมึนงงเล่นเสียงั้นแหละ (ฮา) ทำให้ผู้คนในวงการโทรคมนาคมพากันกังขาและจับตาว่า การเข้าร่วมประมูลคลื่นแล้วทิ้งในครั้งนี้ เป็นกลเกมสร้างราคาหุ้น JAS ในตลาดหลักทรัพย์ฯ อันแยบยลหรือไม่ อย่างไร?
          ด้าน สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย แสดงความไม่เห็นด้วยที่ กสทช.จะเก็บคลื่นที่ JAS ทิ้งไว้นานเป็นปี เพราะจะทำให้ประเทศเสียโอกาสจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสาธารณะที่มีมูลค่ามหาศาล อีกทั้งการจัดประมูลล่าช้าจะทำให้การเรียกค่าเสียหายจาก JAS ทำได้ยากขึ้น และมูลค่าอาจได้น้อยลงด้วย พร้อมเสนอให้เริ่มประมูลใหม่ในราคาสุดท้ายที่ผู้ประกอบการทุกรายยังรับได้ คือ 70,180 ลานบาท
          ในขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มองว่าเป็นเรื่องของกฎหมาย ให้ทำตามกฎหมาย ซึ่งจะไปเอื้อประโยชน์ อะไรกับใครไม่ได้อยู่แล้ว และอาจจะต้องมี การลงโทษในเรื่องค่าปรับด้วย
          ผู้เขียนเห็นด้วยกับแนวทางทั้งสองท่านว่า ไม่ควรเก็บคลื่นที่ JAS ทิ้งไว้นานเกินควร เพราะประเทศเสียโอกาสและการจัดประมูลใหม่ที่ล่าช้าทำให้ด้อยค่าหรือเสียโอกาสโดยไม่จำเป็น
          การที่ยังไม่เห็นด้วยเต็มร้อยตามนายกฯ ที่สั่งให้ประมูลเดือน มิ.ย.นั้น ก็สืบเนื่องมาจากประสบการณ์แง่มุมของกฎหมาย ทำให้มองเห็นว่า หากดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย จะถูกจำกัดโดยระเบียบกฎเกณฑ์ของ กสทช.ที่ ว่างไว้เอง เช่น กรณีหลังการประมูลไม่บรรลุ เป้าหมายจะต้องทอดเวลาออกไปอีก 1 ปี จึงสามารถนำมาประมูลได้ใหม่ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเสียเวลาและเป็นการสูญเปล่าในการใช้ประโยชน์ของมีค่าให้ทันท่วงทีอย่างน่าเสียดายยิ่ง
          ฉะนั้น จึงต้องระดมความคิดและวิธีการจัดการกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น (ประมูลแล้วทิ้ง) อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการชั่งน้ำหนักความหนักเบาแห่งกรณี ไตร่ตรองด้วยเหตุด้วยผล หากถึงคราจำเป็นที่จะต้องสั่งการด้วย "หมัดเหล็ก" เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง ผู้เขียนก็อยากจะ "หนุน" ให้ "บิ๊กตู่" ผู้มีความตั้งใจจริงต่อการพัฒนาประเทศให้เดินต่อไปได้ จงได้ใช้มาตรการอันเฉียบคม เด็ดขาด และมีประสิทธิภาพ นั่นคือ การใช้มาตรา 44 สั่งการให้ระดับรองได้สิทธิหรือการจัดประมูลตามอำนาจมาตรา 44 แบบม้วนเดียวจบ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างในทันที เพื่อตัดปัญหาความยุ่งยากหรือช่องทางฟ้องร้องต่อไป
          ต่อประเด็นปัญหาเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz โดยการประมูลที่ผ่านมา ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กสทช.ด้านเศรษฐกิจ ในฐานะ กทค. ให้ความเห็นว่า "การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz นั้น ดำเนินการเสร็จไปแล้ว แต่ปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจาก ผู้ชนะการประมูลรายหนึ่งไม่สามารถนำเงินมาชำระพร้อมหนังสือค้ำประกันจากธนาคารได้ภายในระยะเวลาที่ กสทช.กำหนด ดังนั้นสิ่งที่ กทค.ต้องพิจารณาต่อไปก็คือ จะทำอย่างไรให้การจัดสรรคลื่นความถี่ 90 MHz เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ มีผู้ประกอบการนำคลื่นไปใช้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค และรัฐบาลมีรายได้จากผู้ประกอบการที่นำคลื่นไปใช้ และการจัดสรรครั้งนี้ต้องเกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการโทรคมนาคม ไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ชนะการประมูลซึ่งชำระเงินไปแล้วกับผู้ที่ได้รับการจัดสรรใหม่
          แต่ทั้งนี้ การดำเนินการต้องไม่ขัดกับกฎหมาย หรือมีกฎหมายพิเศษรองรับ การแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นภารกิจสำคัญที่ กทค. ตระหนักว่าจะต้อง "ร่วมมือช่วยกัน" พิจารณาดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ โดยผมเองมองที่เป้าหมายสุดท้ายว่า จะทำอย่างไรให้มีการนำคลื่นออกมาใช้โดยเร็วและรัฐบาลมีรายได้มาพัฒนาประเทศ ฉะนั้นถ้านำคลื่นมาประมูลใหม่แล้วไม่มีไครมาประมูล ต้องเก็บไว้อีก 1 ปี ค่อยนำมาประมูลใหม่อีก ก็ยังไม่แน่ว่าจะมีผู้ประกอบการรายใดสนใจ ในประเด็นนี้ซิครับที่เป็นปัญหา เพราะฉะนั้น กทค.คงต้องร่วมกันพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้การจัดสรรคลื่น 900 MHz บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังในที่สุด
          ในขณะเดียวกัน กทค.ก็ยังเป็นห่วงถึงผล กระทบต่อภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งต้องกลับไปนับหนึ่งใหม่ คงเหลือแค่สามยักษ์ใหญ่เช่นเดิม คือ AIS TRUE และ DTAC ยังผลให้ไม่เกิดการแข่งขันตามที่รัฐและประชาชนคาดหวังเอาไว้มากนัก ดังนั้นคลื่น 900 MHz ที่เหลืออยู่ 1 Slot นี้ ก็น่าจะเป็นที่สนใจ-ต้องการระหว่าง DTAC และ AIS เพราะทั้งสองค่ายนี้ไม่ได้คลื่น 900 MHz ทั้งคู่ ซึ่งแน่นอนผู้ที่อยากได้มากที่สุดน่าจะเป็น DTAC ที่ประมูลไม่ได้ทั้ง 900 MHzและ 1800 MHz ในการประมูลที่ผ่านมา
          ปัจจุบัน DTAC ถือครองคลื่นความถี่ที่ได้รับ สัมปทานอยู่จำนวนมากกว่า 40MHz มีคลื่นความ ถี่ที่ใช้ย่าน 1800 MHz จำนวน 25 MHz ซึ่งจะหมดอายุสัมปทานในปี 2561 ย่อมทำให้เกิดผล กระทบกับทาง DTAC อย่างแน่นอน หากไม่รีบแสวงหาคลื่นความถี่ไว้สำรอง จึงวิเคราะห์ว่าน่าจะมีความจำเป็นอยากจะได้คลื่น 900 MHz มากที่สุด เหตุเพราะขณะนี้ DTAC เป็นผู้ประกอบการเจ้าเดียวที่ยังไม่ได้คลื่นความถี่ใดเลยจากการประมูลที่ผ่านมาทั้งสองครั้ง ในขณะที่ TRUE ได้ทั้ง 1800 MHz และ 900 MHz อยู่ในมือ สำหรับ AIS ได้ 1800 MHz แถมอีก 3 ปี คลื่นที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่ในมือก็จะหมดสัญญาสัมปทานลง ทาง DTAC  จึงน่าจะเป็นตัวเต็งในการประมูลครั้งต่อไป
          อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมองว่าการประมูลตามระบบครั้งถัดจากนี้ไป ซึ่งตามกฎระเบียบเก่าจะต้องตั้งราคาที่ 7.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมประมูลหรือไม่? และจะเป็นปัญหาเรื้อรังต่อไปไม่จบ จึงอยากจะให้ใช้ระบบอำนาจพิเศษจัดการแบบ "จบคือจบ" ไม่เกิดปัญหาเรื้อรัง ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังหวังว่าจะได้เห็นการแข่งขันระหว่าง AIS กับ DTAC อีกครั้งในโอกาสต่อไป
          เป็นที่น่ายินดีที่ได้ทราบว่า "บิ๊กตู่" ได้สั่งให้ดำเนินการประมูลใหม่ต่อไป แต่ถ้าหากมิใด้สั่งโดยมาตรา 44 ผู้เขียนจึงยังห่วงว่าอาจไม่สะเด็ดน้ำ และยังไม่อาจจบในม้วนเดียวได้ ถ้าไม่สั่งโดยอำนาจพิเศษ (ม.44.)…ว่าไหม?!
          ทั้งนี้ หากปล่อยให้ "ปม" ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันดังกล่าวนี้ แก้ไขหรือใช้ระบบการประมูลตามปกติโดยระเบียบข้อบังคับกสทช.ที่มีอยู่. น่าจะไม่ "เวิร์ก" เพราะเป็นกรณีพิเศษที่ไม่เคยเกิดมาก่อน จึงต้องแก้ด้วยวิธีพิเศษชนิดฉับไว เพื่อมิให้เกิดการ "สูญเสียโอกาส" ตามที่ทุกฝ'ยเป็นห่วง!?
          ดังนั้น จึงถึงเวลาอันควรอย่างยิ่งที่ "บิ๊กตู่" ผู้มุ่งมั่นจะขับเคลื่อนประเทศให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ ได้ลงมือใช้มาตรการ "เด็ดขาด" (ม.44) เพื่อรักษาประโยชน์ของชาติและประชาชนโดยไม่ปล่อยให้เกิดการสูญเสียโอกาสดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วงอย่างเบ็ดเสร็จแบบม้วนเดียวจบ อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความ "ศักดิ์สิทธิ์และประโยชน์" ของอำนาจ (ม.44) สำหรับแก้ไขปัญหา (ไม่ปกติ) อย่างมีประสิทธิภาพ ที่กฎหมายปกติมิอาจกระทำได้ จนสัมฤทธิผลอีกด้วย ซึ่ง ผู้เขียน เชื่อว่า
          การใช้มาตรการ "เด็ดขาด" ในการนี้จะได้รับการยอมรับจากทุกฝ'ย อย่างแน่นอน?!.--จบ--

          ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
ที่มา : http://www.posttoday.com/analysis/politic/424176

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.