Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 มีนาคม 2559 TRUE จี้ กสทช. ผู้ที่ชนะการประมูลรายใหม่ ต้องมีราคาต้นทุนไม่น้อยกว่าต้นทุนที่ทรูต้องรับภาระอยู่ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการแข่งขันทางการค้า โดยราคาประมูลเริ่มต้นของคลื่นย่าน 900 ควรเป็นราคาเดียวกันกับที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ประมูลชนะคือ 75,654 ล้านบาท

ประเด็นหลัก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 มี.ค. บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า กลุ่มทรูในฐานะที่เป็นผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ได้ดำเนินการตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ขอสนับสนุนให้ กสทช.เร่งประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 ใหม่โดยเร็ว ด้วยความโปร่งใสและยึดหลักเป็นธรรม ย้ำต้องโปร่งใสโดยยึดหลักความเป็นธรรม เป็นต้นว่า ผู้ที่ชนะการประมูลรายใหม่ ต้องมีราคาต้นทุนไม่น้อยกว่าต้นทุนที่ทรูต้องรับภาระอยู่ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการแข่งขันทางการค้า โดยราคาประมูลเริ่มต้นของคลื่นย่าน 900 ควรเป็นราคาเดียวกันกับที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ประมูลชนะคือ 75,654 ล้านบาท หรือหากจะกำหนดราคาต่ำลงครั้งใหม่ประมูลชนะก็ควรปรับลดราคาให้ทรูด้วยเพื่อไม่เสียเปรียบแก่กันในการแข่งขันทางการค้า ___________________________________________________ "ทรู" รัวไม่ยั้งกดดัน กสทช.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 มี.ค. บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า กลุ่มทรูในฐานะที่เป็นผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ได้ดำเนินการตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ขอสนับสนุนให้ กสทช.เร่งประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 ใหม่โดยเร็ว ด้วยความโปร่งใสและยึดหลักเป็นธรรม ย้ำต้องโปร่งใสโดยยึดหลักความเป็นธรรม เป็นต้นว่า ผู้ที่ชนะการประมูลรายใหม่ ต้องมีราคาต้นทุนไม่น้อยกว่าต้นทุนที่ทรูต้องรับภาระอยู่ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการแข่งขันทางการค้า โดยราคาประมูลเริ่มต้นของคลื่นย่าน 900 ควรเป็นราคาเดียวกันกับที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ประมูลชนะคือ 75,654 ล้านบาท หรือหากจะกำหนดราคาต่ำลงครั้งใหม่ประมูลชนะก็ควรปรับลดราคาให้ทรูด้วยเพื่อไม่เสียเปรียบแก่กันในการแข่งขันทางการค้า

นอกจากนี้ทรูยังระบุด้วยว่า การประมูลมีผู้ชนะ 2 รายคือทรูและแจสโมบาย แต่มีทรูเพียงบริษัทเดียวที่ปฏิบัติตามพันธะผูกพันทางการเงินตามเงื่อนไขการประมูล ขณะที่แจสไม่ปฏิบัติตาม หาก กสทช.จะจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ก็ต้องไม่ทำให้ผู้ที่แพ้ไม่ยอมประมูลสู้ราคาในการประมูลคราวก่อน กลับกลายเป็นได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้ากับทรู มิเช่นนั้น กสทช.จะเป็นที่ครหาและดูแคลนของนักลงทุนและนักธุรกิจนานาชาติที่จับตาดูเรื่องนี้อยู่

อีกทั้งการดำเนินการต่างๆก็ไม่ควรที่จะให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส สามารถใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 เพื่อให้บริการแก่ลูกค้า หารายได้โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าใช้คลื่น เพราะนักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียในวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนานาประเทศ รวมทั้งสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนผู้ถือหุ้นต่างชาติที่ให้การสนับสนุนการประมูลของทรู เกิดความสับสนไม่เข้าใจว่าเหตุใดทรูต้องแบกภาระการลงทุนสร้างโครงข่ายและจ่ายเงินเพื่อใช้คลื่นความถี่ ในขณะที่เครือเอไอเอสผู้แพ้การประมูล ใช้คลื่นแจสได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าคลื่น เช่นนี้จะเกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันให้บริการได้อย่างไร เหมือนกับว่าการประมูลในประเทศนี้ การแพ้หรือชนะการประมูลไม่มีความหมาย หากเป็นเช่นนี้จะเป็นการสร้างความไม่มั่นใจแก่นักลงทุนต่างประเทศได้.

http://www.thairath.co.th/content/597609

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.