Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 มีนาคม 2559 AIS พร้อมประมูล 900 ใหม่ โดย รอให้ กสทช. ประกาศรายละเอียดออกมาอย่างเป็นทางการ โดย ควรกำหนดเงื่อนไขการประมูลครั้งต่อไปโดยจำกัดไว้เฉพาะผู้ที่เหลืออยู่จากการเข้าร่วมประมูลครั้งดังกล่าวเท่านั้น

ประเด็นหลัก "ขณะนี้เรารอให้ กสทช. ประกาศรายละเอียดออกมาอย่างเป็นทางการ ถามว่าสนใจไหม แน่นอนว่าเอไอเอสมีความสนใจอยู่แล้ว แต่ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่าทางธุรกิจด้วย ส่วนการกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลเท่ากับราคาที่แจส โมบาย ได้ประมูลไว้นั้น ยังไม่ขอออกความเห็นในขณะนี้ เนื่องจากอยากให้คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาก่อน และส่วนตัวยังเห็นด้วยกับข้อเสนอของดีแทค ที่มองว่า กสทช. ควรกำหนดเงื่อนไขการประมูลครั้งต่อไปโดยจำกัดไว้เฉพาะผู้ที่เหลืออยู่จากการเข้าร่วมประมูลครั้งดังกล่าวเท่านั้น" ___________________________________________________ พร้อมสู้ทุกศึก! เอไอเอสเชียร์ กสทช.ประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ใหม่



เอไอเอส หนุน กสทช. ประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ใหม่ หลังแจส โมบาย เบี้ยวจ่ายเงินงวดแรก ชี้ประเทศไทยได้บทเรียนจากการประมูลครั้งนี้แล้ว...

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่า หากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะจัดสรรคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ชุดที่ 1 (คลื่น 895-905 เมกะเฮิรตซ์ คู่กับ 940-950 เมกะเฮิรตซ์) โดยจัดการประมูลใหม่ หลังจากบริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ไม่ได้เข้าชำระค่าธรรมเนียมประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ดังกล่าว บริษัทก็มีความสนใจเข้าร่วมการประมูลในทุกคลื่นความถี่ แต่จำเป็นต้องพิจารณาเงื่อนไขของ กสทช. ด้วย ซึ่งหากมีรายละเอียดเพิ่มเติมก็จะได้ดำเนินการปรึกษาร่วมกับคณะกรรมการบริษัทต่อไป

"ขณะนี้เรารอให้ กสทช. ประกาศรายละเอียดออกมาอย่างเป็นทางการ ถามว่าสนใจไหม แน่นอนว่าเอไอเอสมีความสนใจอยู่แล้ว แต่ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่าทางธุรกิจด้วย ส่วนการกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลเท่ากับราคาที่แจส โมบาย ได้ประมูลไว้นั้น ยังไม่ขอออกความเห็นในขณะนี้ เนื่องจากอยากให้คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาก่อน และส่วนตัวยังเห็นด้วยกับข้อเสนอของดีแทค ที่มองว่า กสทช. ควรกำหนดเงื่อนไขการประมูลครั้งต่อไปโดยจำกัดไว้เฉพาะผู้ที่เหลืออยู่จากการเข้าร่วมประมูลครั้งดังกล่าวเท่านั้น"

ส่วนเงื่อนไขที่ กสทช. ให้สิทธิ์ผู้แพ้ที่เสนอราคาเป็นอันดับ 2 ในการประมูลดังกล่าว ได้รับใบอนุญาตในคลื่นดังกล่าวนั้น บริษัทก็มีความยินดีในเงื่อนไขดังกล่าว ขณะที่ความร่วมมือกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในการใช้คลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 3จี ก็ยังคงมีความร่วมมือร่วมกัน แต่อยู่ระหว่างการดำเนินการและรอให้ทีโอทีประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการ

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าประเทศไทยได้บทเรียนจากการประมูลในครั้งนี้ เนื่องจากการประมูลใบอนุญาตด้วยราคาสูงอาจไม่ใช่เรื่องที่ดี เนื่องจากราคาไม่สมเหตุสมผล แม้จะมีข้อดีที่ทำให้ประเทศได้เม็ดเงินจำนวนมากก็ตาม ส่วนการที่ผู้ชนะประมูลไม่มาชำระเงินค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลานั้น ถือเป็นการสะท้อนถึงการตั้งราคาประมูลและเงื่อนไขที่เหมาะสมในครั้งต่อไปอีกด้วย.


http://www.thairath.co.th/content/595109

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.