Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 มีนาคม 2559 TRUE ระบุ ทรูมูฟ เอช มีจำนวนผู้ใช้บริการ 19.1 ล้านราย คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดในส่วนของฐานลูกค้าที่ 20.8% มีการเติบโตในแง่รายได้เพิ่มขึ้น 17.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ประเด็นหลัก


ปัจจุบัน ณ สิ้นปี 2558 ทรูมูฟ เอช มีจำนวนผู้ใช้บริการ 19.1 ล้านราย คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดในส่วนของฐานลูกค้าที่ 20.8% มีการเติบโตในแง่รายได้เพิ่มขึ้น 17.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะสามารถรักษาอัตราการเติบโตในระที่เท่ากัน หรือเติบโตมากขึ้นได้ในปีนี้


_________________________






ได้เวลา ‘ทรูมูฟ เอช’ ระเบิดศึก4จีคลื่น 900
ได้เวลา ‘ทรูมูฟ เอช’ ระเบิดศึก4จีคลื่น 900

ในที่สุด บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ TUC ในกลุ่มทรู ซึ่งเป็นผู้ชนะประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ เสนอราคาสุดท้ายที่ 7.62 หมื่นล้านบาท ก็ได้ 6 แบงก์พาณิชย์ อันได้แก่ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย), ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเกียรตินาคิน ได้ออกหนังสือค้าประกันวงเงินจำนวน 7.3 หมื่นล้านบาท


แผนการลงทุนกลุ่มทุนสื่อสาร
แผนการลงทุนกลุ่มทุนสื่อสาร
โดยมี ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) เป็นผู้สนับสนุนวงเงินค้ำประกันสูงสุดถึง 50% เป็นจำนวนเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท เพื่อนำวงเงินดังกล่าวไปยื่นพร้อมกับการชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์พร้อมกับการจ่ายเงินงวดแรกเป็นเงิน 8.04 พันล้านบาท ที่ TUC ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาให้กับสำนักงาน กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)

พ.ค.ปูพรม 1.6 หมื่นสถานี

ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพาณิชย์ทั้ง 6 แห่งแล้วหลังจากนี้ภายใน 1-2 สัปดาห์ TUC จะนำหนังสือค้ำประกันวงเงิน 7.3หมื่นล้านบาทพร้อมกับวงเงินชำระงวดแรกไปชำระให้กับ กสทช.อย่างเป็นทางการ เนื่องจากว่า กสทช.ได้กำหนดให้ผู้ชนะประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ นำเงินมาชำระงวดแรกในวัน 21 มีนาคม


สำหรับแผนการลงทุนติดตั้งเครือข่ายเพื่อให้บริการคลื่นความถี่ 1800-2100 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ เตรียมเงินลงทุนไว้ทั้งสิ้น 5.7 หมื่นล้านบาทเพื่อติดตั้งเครือข่ายภายในระยะเวลา 3 ปี โดยแบ่งการลงทุนในปีนี้จำนวน 3.6 หมื่นล้านบาทเพื่อติดตั้งเครือข่ายบนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 1.6 หมื่นสถานีและสิ้นปีจะเพิ่มเป็น 2 หมื่นสถานี และภายใน 3 ปีจะมีเครือข่ายให้บริการ 3 หมื่นสถานี

ส่วนคลื่นความถี่ 1800 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ที่ให้บริการทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี และ 4 จีจะเพิ่มอีก 3 พันสถานีให้เป็น 25,000 สถานี ขณะที่คลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ที่เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี มีเครือข่าย 1.6 หมื่นสถานีภายในสิ้นปีนี้ ส่งผลให้ภายในปลายปีนี้เครือข่ายของทรูมูฟ เอช มีพื้นที่บริการครอบคลุมประชากรถึง 90%

“คุณสมบัติของคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ มีการรับ-ส่งสัญญาณที่กว้างไกลกว่าเดิมและครอบคลุมพื้นที่บริการได้มากที่สุดทำให้ประหยัดการลงทุนถึง 4.7 หมื่นล้านบาท และเป็นผู้ให้บริการรายแรกรายเดียวที่ให้บริการ 4 จีแอดวานซ์ เพราะมีคลื่นความถี่ที่ให้บริการมากที่สุดถึง 40 เมกะเฮิรตซ์ขึ้นไปสามารถรับ-ส่งสัญญาณด้วยความเร็วสูง”

ตั้งเป้าเน็ตเวิร์ค-บริการเป็นอันดับ 1

อย่างไรก็ตามการได้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ความถี่นอกเหนือจากคลื่นที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน คือ 850-1800 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้กลุ่มทรูมีจำนวนเครือข่ายที่ให้บริการมากที่สุดในขณะนี้ อีกทั้งการได้พันธมิตรอย่างไชน่าโมบาย และการได้อนุมัติจาก 6 แบงก์พาณิชย์ เท่ากับว่าเสริมแกร่งสถานะทางการเงิน รวมไปถึงคลื่นความถี่ที่เป็นวัตถุดิบที่สำคัญเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มธุรกิจ

“เป้าหมายของกลุ่มทรูในทุกๆ ธุรกิจย่อมตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำอันดับ 1 แต่ไม่ได้เป็นส่วนสำคัญที่สุด แต่ตั้งเป้าให้เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายอันดับ 1 พร้อมบริการหลังการขายให้เป็นอันดับที่ 1 ให้ได้ ส่วนแผนการเงินภายใน 3 ปี จะสร้างส่วนแบ่งตลาดในเชิงมูลค่าให้ได้ถึง 1 ใน 3 ของอุตสาหกรรม จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 21%” นั่นคือคำพูดของ “ศุภชัย เจียรวนนท์”

ปัจจุบัน ณ สิ้นปี 2558 ทรูมูฟ เอช มีจำนวนผู้ใช้บริการ 19.1 ล้านราย คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดในส่วนของฐานลูกค้าที่ 20.8% มีการเติบโตในแง่รายได้เพิ่มขึ้น 17.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะสามารถรักษาอัตราการเติบโตในระที่เท่ากัน หรือเติบโตมากขึ้นได้ในปีนี้

โชว์กำไร 4.4 พันล.

สำหรับผลประกอบการในปี 2558 นั้น บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น มีกำไร 4.4 พันล้านบาท โดยกลุ่มทรูโมบายมีส่วนแบ่งตลาดรายได้เพิ่มขึ้น 20.8% ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 ส่วนทรูออนไลน์ ตั้งเป้าขยายโครงข่ายบรอดแบนด์ให้มีความครอบคลุมกว่า 10 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ เพิ่มเติมจาก 6 ล้านครัวเรือน ณ สิ้นปี 2558 นอกจากนี้ ผลตอบรับที่ดีมากต่อแพ็กเกจไฟเบอร์บรอดแบนด์ ของกลุ่ม ซึ่งได้เปิดตัวในช่วงครึ่งหลังของปี ผลักดันให้ยอดผู้ใช้บริการบรอดแบนด์รายใหม่สุทธิเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึงกว่า 306,682 ราย ในปี 2558 และขยายฐานลูกค้าบรอดแบนด์เป็น 2.4 ล้านราย

กสทช.ออกกฎ 5 ข้อผู้ชนะประมูลไม่ชำระเงิน

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้กลุ่มทรู ได้ยื่นหนังสือสอบถามไปยัง กสทช.ถึงความชัดเจนหากอีกค่ายที่ประมูลไปไม่มาชำระค่าใบอนุญาต ปรากฏว่า กสทช. ได้หนังสือตอบกลับมาชัดเจนในแนวทาง 5 ข้อคือ 1.หากจะมีการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ใหม่เกิดขึ้นราคาเริ่มต้นการประมูลจะต้องถูกกำหนดไว้ในราคาที่ผู้ชนะการประมูลชนะไปในครั้งที่แล้ว, 2.การประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ครั้งใหม่นี้ไม่ตัดสิทธิ์ผู้ชนะการประมูลครั้งที่แล้วที่ได้นำเงินประมูลมาชำระในการที่จะเข้าประมูลใหม่ เพื่อให้เกิดการแข่งขันโดยมีผู้เข้าร่วมประมูลแข่งขันมากราย

3.หากมีการประมูลแล้วไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล กสทช.จะไม่มีการนำคลื่นความถี่ดังกล่าวมาประมูลในครั้งที่สองในทันที โดยจะเก็บคลื่นความถี่ดังกล่าวไว้ก่อนไม่น้อยกว่า 1 ปี และหากมีการเปิดประมูลใหม่หลังจากนั้น ราคาเริ่มต้นการประมูลจะต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ผู้ชนะการประมูลชนะไปในครั้งที่แล้ว, 4. ผู้ชนะการประมูลที่ไม่นำเงินมาชำระตามกำหนดเวลา นอกจาก กสทช.จะริบหลักประกันการประมูลแล้ว ยังจะต้องเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามกฎหมายหรือประกาศที่กำหนดไว้เพิ่มเติมอีก และจะตรวจสอบคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบกิจการที่รับใบอนุญาตเดิมจาก กสทช.ทั้งกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม และ 5. เนื่องจากเรื่องนี้ยังเป็นสิทธิ์ของผู้ชนะการประมูลที่จะนำเงินมาชำระได้จนถึงวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้นขอให้ กทค.ทุกท่านรวมทั้งสำนักงาน กสทช.หลีกเลี่ยงการให้ข่ายที่เป็นอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นในระหว่างนี้

ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าเกมการแข่งขันช่วงชิงความเป็นผู้นำไร้สายเข้มข้นจริงๆ หาก “แจส โมบาย” ไม่ถอยออกจากสนามเชื่อว่า ดีกรี การแข่งขันจะร้อนแรงยิ่งกว่านี้!!

MVNO เปิดศึกอีกด้าน

แม้การแข่งขันของผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ 3 ราย คือ เอไอเอส-ดีแทค และทรู เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบมีโครงข่ายของตัวเอง หากแต่ ณ ขณะนี้บรรดากลุ่มที่ไม่มีโครงข่ายของตัวเอง หรือที่เรียกว่า MVNO (Mobile Virtual Network Operator)โดยรับสิทธิ์จากรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิ์จาก ทีโอที คือ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) ขณะที่ แคท ให้เอกชนดำเนินการทั้งสิ้น 4 ราย ได้แก่ 1.บริษัท ไอ-โมบาย พลัส จำกัด ของกลุ่มตระกูลวิไลลักษณ์ ให้บริการภายใต้แบรนด์ “I-Mobile 3GX”, บริษัท ดาต้า ซีดีเอ็มเอ คอมมูนิเคชั่น จำกัดให้บริการภายใต้แบรนด์ “Myworld3G”, บริษัท 168 คอมมูนิเคชั่น จำกัด ของนายนที พานิชชีวะ ให้บริการภายใต้แบรนด์ “168” และรายสุดท้ายที่เปิดให้บริการ คือ บริษัท เดอะ ไวท์สเปซ จำกัด ซึ่งเป็นของกลุ่มอดีตผู้บริหาร ดีแทค ร่วมลงขันโดยมี ดร.ชัยยศ จิรบวรกุล นั่งตำแหน่ง ซีอีโอ เปิดตัว ซิม ภายใต้ชื่อ “เพนกวิน” ภายใต้สโลแกน “ตัวเล็ก ใจใหญ่”

http://www.thansettakij.com/2016/03/07/35590

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.