Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 มีนาคม 2559 AIS ระบุว่า “ไม่เห็นด้วย และขอคัดค้านมติ กทค.เมื่อวันที่ 8 มีค 2559 ที่ไม่อนุมัติให้มีการขยายระยะเวลาของมาตรการเยียวยาฯออกไป

ประเด็นหลัก

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2559 นายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโสส่วนงานธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนา บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)หรือ เอไอเอส ได้ทำหนังสือถึง กสทช. เรื่องคัดค้านการไม่อนุมัติให้ขยายมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 (มาตรการเยียวยาฯ)โดยขอให้พิจารณาทบทวนมติดังกล่าว และเสนอแนวทางการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ย่านคลื่นความถี่ 900 MHz เพื่อคุ้มครองให้ผู้ใช้บริการได้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้เป็นผลมาจากมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (บอร์ด กทค.) ว่า กสทช.มีมติรับรองมติออกใบอนุญาต 4G คลื่น 900 MHz ให้แก่ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือทียูซี ผู้ชนะประมูล คลื่น 900 รายใหม่แล้ว บริษัท
เอไอเอส ที่เคยได้รับสัมปทานคลื่นดังกล่าวจาก บริษัท ทีโอที ต้องปิดระบบ (ชัตดาวน์) คาดว่าประมาณวันที่ 15 มี.ค. 2559 นี้


โดยหนังสือดังกล่าว เอไอเอส ระบุว่า “ไม่เห็นด้วย และขอคัดค้านมติ กทค.เมื่อวันที่ 8 มีค 2559 ที่ไม่อนุมัติให้มีการขยายระยะเวลาของมาตรการเยียวยาฯออกไป




_______________________________________



“เอไอเอส” ร่อนหนังสือ ค้านมติ “บอร์ด กทค.”ที่ให้ “ชัตดาวน์” ระบบ 2G คลื่น 900 MHz ในกลางเดือนนี้ พร้อมนัดแถลงของยื้อบริการต่อ

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2559 นายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโสส่วนงานธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนา บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)หรือ เอไอเอส ได้ทำหนังสือถึง กสทช. เรื่องคัดค้านการไม่อนุมัติให้ขยายมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 (มาตรการเยียวยาฯ)โดยขอให้พิจารณาทบทวนมติดังกล่าว และเสนอแนวทางการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ย่านคลื่นความถี่ 900 MHz เพื่อคุ้มครองให้ผู้ใช้บริการได้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้เป็นผลมาจากมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (บอร์ด กทค.) ว่า กสทช.มีมติรับรองมติออกใบอนุญาต 4G คลื่น 900 MHz ให้แก่ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือทียูซี ผู้ชนะประมูล คลื่น 900 รายใหม่แล้ว บริษัท
เอไอเอส ที่เคยได้รับสัมปทานคลื่นดังกล่าวจาก บริษัท ทีโอที ต้องปิดระบบ (ชัตดาวน์) คาดว่าประมาณวันที่ 15 มี.ค. 2559 นี้

โดยหนังสือดังกล่าว เอไอเอส ระบุว่า “ไม่เห็นด้วย และขอคัดค้านมติ กทค.เมื่อวันที่ 8 มีค 2559 ที่ไม่อนุมัติให้มีการขยายระยะเวลาของมาตรการเยียวยาฯออกไป

“มติกทค. ที่ไม่อนุมัติให้ขยายระยะเวลามาตรการเยียวยาฯ ให้เอไอเอส ที่เพิ่งผ่านมาเพียง5 เดือน ในขณะที่ก่อนหน้านี้ได้มีการขยายระยะเวลาเยียวยาฯ ให้ผู้ใช้บริการคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ให้แก่ บริษัท ทรู มูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟนจำกัด ในเครือ เอไอเอส ถึงกว่า 2 ปี ทั้งที่มีจำนวนผู้ใช้บริการบนคลื่นความถี่ 900 MHz มากกว่า ผู้ใช้บริการบนคลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งเห็นว่าผู้ใช้บริการไม่สามารถโอนย้ายผู้ให้บริการได้ทัน”

ขณะเดียวกัน ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 94/2557 สั่งให้ กสทช.ชะลอการประมูล โดยให้ กสทช.คุ้มครองผู้ใช้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมทปานให้ผู้ใช้บริการใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องปราศจากข้อจำกัด กอปรกับ บันทึกข้อความ คสช. ที่อนุมัติให้ กสทช.คุ้มครองผู้ใช้บริการต่อเนื่องไปโดยนำประกาศ กสทช. มาใช้บังคับโดยอนุโลม จนกว่าจะมีการประมูลและผู้ให้บริการรายใหม่ ซึ่งคำสั่ง คสช. เป็นคำสั่งและกำหนดแนวทางปฏิบัติให้ กสทช.
จะต้องให้ความคุ้มครองผู้ใช้บริการภายหลังสิ้นสุดสัมปทานไปจนกว่าจะมีการประมูลและมีผู้ให้บริการที่พร้อมจะให้บริการแก่ผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการที่ กทค. มีมติให้สิ้นสุดการคุ้มครองผู้ใช้บริการทันทีเมื่อมีการออกใบอนุญาต ซึ่งโดยข้อเท็จจริงเป็นที่ยอมรับว่า ไม่มีผู้รับใบอนุญาตรายใดที่จะพร้อมให้บริการได้ทันที
ที่รับใบอนุญาต

“เอไอเอส เห็นว่า การสิ้นสุดมาตรการเยียวยาฯทันที จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเป็นจำนวนมากเพราะไม่เพียงแต่เฉพาะผู้ที่ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 MHz เท่านั้น แต่จะมีผลกระทบไปถึงประชาชนโดยทั่วไปที่ประสงค์จะติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการกลุ่มดังกล่าวที่จะไม่สามารถติดต่อสื่อสารร่วมกันได้”

มีรายงานข่าวจาก เอไอเอส แจ้งว่า ในจันทร์ที่ 14 มี.ค. 2559 บริษัทจะ “ประกาศจุดยืน...ลูกค้าต้องใช้งานได้ต่อเนื่อง” โดย นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ซีอีโอ ของบริษัทเป็นผู้แถลงด้วยตัวเอง พร้อมรวมพลังพนักงานเพื่อลูกค้า ในเวลา 10.00 น. ด้วย 10.30 น. ที่ ห้อง Sky Lounge ชั้น 20 ของบริษัทเอไอเอส

ก่อนหน้านี้ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ได้นำเงินค่าประมูลงวดแรก จำนวน 8,040,000,000 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 อีก 562,800,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,602,800,000 บาท มาชำระให้กับ สำนักงาน กสทช.

ขณะที่ นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารทรูฯ ได้ยื่นข้อเสนอให้เอไอเอสเช่าโครงข่าย 900 MHz ต่อไปอีก 3 เดือน หรือจนถึงสิ้นเดือนพ.ค.นี้ ทียูซียินดีไม่คิดค่าเช่าโครงข่ายใดๆแก่เอไอเอส ยินยอมให้เอไอเอสใช้คลื่นฟรีในช่วงที่อยู่ระหว่างการโอนย้ายแต่ผลการหารือร่วมกันหลายฝ่ายไม่ได้ข้อยุติ ซึ่งทรูฯอยากให้เอไอเอสมาใช้โครงข่าย 900 MHz ของทียูซี

ส่วนกรณีที่เอไอเอสไปลงนามเอ็มโอยูโรมมิ่งสัญญาณ 2G กับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(ดีแทค) เอาลูกค้า 2G จำนวน 8 ล้านราย ไปใช้ระบบ 1800 MHz ของดีแทคนั้น นายศุภชัยมองว่า โครงข่ายดีแทคบนคลื่น 1800 MHz ไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการในประเทศทั่วถึงได้เหมือนคลื่น 900 MHz ที่เอไอเอสเคยให้บริการเมื่อก่อน



http://www.naewna.com/business/206827

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.