Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 มีนาคม 2559 เลขา กสทช.ฐากร ระบุ ในส่วนตัวอยากให้ยอมรับว่า โครงข่ายดีแทคบนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการในประเทศทั่วถึงได้เหมือนคลื่น 900 MHz ที่เอไอเอสเคยให้บริการเมื่อก่อนดังนั้นการโรมมิ่งดีแทคอาจทำให้ลูกค้า 3-4 ล้านรายที่อยู่บริเวณชายขอบไม่สามารถใช้งานได้ เพราะจำนวนสถานีฐานเอไอเอสมี 16,000 แห่งครอบคลุม 100% ต่างกับดีแทคที่มีโครงข่ายไม่เยอะมาก

ประเด็นหลัก





ส่วนกรณีที่เอไอเอสไปลงนามเอ็มโอยูโรมมิ่งสัญญาณ 2G กับ บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เอาลูกค้า 2จี จำนวน 8 ล้านรายไปใช้ระบบ 1800 MHz ของดีแทคนั้น ในส่วนตัวอยากให้ยอมรับว่า โครงข่ายดีแทคบนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการในประเทศทั่วถึงได้เหมือนคลื่น 900 MHz ที่เอไอเอสเคยให้บริการเมื่อก่อนดังนั้นการโรมมิ่งดีแทคอาจทำให้ลูกค้า 3-4 ล้านรายที่อยู่บริเวณชายขอบไม่สามารถใช้งานได้ เพราะจำนวนสถานีฐานเอไอเอสมี 16,000 แห่งครอบคลุม 100% เทียบเท่ากับคลื่น 850 MHz ของทรูมูฟที่มีจำนวนสถานีฐานเท่ากัน ต่างกับดีแทคที่มีโครงข่ายไม่เยอะมาก


_______________________________________



ทรูฯพร้อมขยายโครงข่าย 4G หลังได้รับใบอนุญาต กสทช. 14 มี.ค. “ศุภชัย” กังวลกทค.เตรียมปิดระบบ 2G คลื่น 900 ทำผู้ใช้บริการเดือดร้อน เชื่อการโอนไปให้ไปใช้โครงข่าย “ดีแทค” คงรองรับไม่ไหว ด้าน “เอไอเอส” เตรียมเคลื่อนไหวขอให้บริการต่อ

ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2559 บริษัท ทรูมูฟ เอชยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ได้นำเงินค่าประมูลงวดแรก จำนวน 8,040,000,000 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 อีก 562,800,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,602,800,000 บาท มาชำระให้กับ สำนักงาน กสทช.

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ก่อนหน้านี้บริษัทได้วางหลักประกันการประมูลจำนวน 644,000,000 บาทไว้กับกสทช.แล้ว จึงเหลือเงินที่จะนำมาชำระ 7,958,800,000 บาท พร้อมกันนี้ได้นำหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงิน (แบงก์การันตี) ประมูลคลื่นความถี่ในส่วนที่เหลือวงเงิน 73,036,060,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) มามอบให้แก่สำนักงาน กสทช. ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของการชำระเงินประมูล

ขั้นตอนจากนี้ สำนักงาน กสทช. จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เพื่อออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทที่สาม และใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมย่าน 900 MHz ให้กับบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัดต่อไป ส่วนเงินค่าประมูลงวดแรกที่ได้รับจำนวนทั้งสิ้น 8,602,800,000 บาท สำนักงานฯ จะรีบนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารทรูฯ กล่าวว่า หลังจากได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานกสทช.อย่างเป็นทางการทียูซีจะขยายโครงข่ายบนคลื่นความถี่ 900 MHz ในทันที ซึ่งภายในเดือนพ.ค.นี้คาดว่าจะมีจำนวนสถานีฐาน 16,000 แห่ง และในสิ้นปีจะมีจำนวน 22,000 แห่ง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 97% ครอบคลุมต่อจำนวนประชากรโดยบริษัทมีแผนจะเปิดให้บริการในทุกระบบตั้งแต่ 2G-4G ซึ่งจำนวนสถานีฐานที่จะสร้างใหม่นี้มีปริมาณเทียบเท่าจำนวนสถานีฐาน ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอสที่เคยให้บริการ 2G เดิมที่อยู่ในระบบสัญญาสัมปทานกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ตาม ในประเด็นเรื่องคลื่นความถี่ 900 MHz บริษัทมีความกังวลใจมาตลอดหากทียูซีได้รับใบอนุญาตจะส่งผลให้ลูกค้า 2G ในระบบ900 MHz ในระบบเดิมจะไม่สามารถใช้งานได้ (ซิมดับ) กว่า 3-4 ล้านราย ซึ่งถือเป็นผลกระทบต่อประชาชนโดยกว้าง ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านระบบ 2จีจากสัมปทานไปสู่ใบอนุญาต

ทั้งนี้ จากที่มีการหารือร่วมกัน 4 ฝ่ายคือทียูซี เอไอเอส บริษัท แอดวานซ์ ไวรเลส เน็ทเวอร์ค(เอดับบลิวเอ็น) และทีโอทีในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ซึ่งทียูซีได้ยื่นข้อเสนอให้เอไอเอสเช่าโครงข่าย 900 MHz ต่อไปอีก 3 เดือนหรือจนถึงสิ้นเดือนพ.ค.นี้แต่หลังจากที่หารือร่วมกันแล้วไม่ได้ข้อยุติทียูซียินดีไม่คิดค่าเช่าโครงข่ายใดๆ แก่เอไอเอส ยินยอมให้เอไอเอสใช้คลื่นฟรีในช่วงที่อยู่ระหว่างการโอนย้าย ซึ่งอยากให้เอไอเอสมาใช้โครงข่าย 900 MHz ของทียูซี

ส่วนกรณีที่เอไอเอสไปลงนามเอ็มโอยูโรมมิ่งสัญญาณ 2G กับ บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เอาลูกค้า 2จี จำนวน 8 ล้านรายไปใช้ระบบ 1800 MHz ของดีแทคนั้น ในส่วนตัวอยากให้ยอมรับว่า โครงข่ายดีแทคบนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการในประเทศทั่วถึงได้เหมือนคลื่น 900 MHz ที่เอไอเอสเคยให้บริการเมื่อก่อนดังนั้นการโรมมิ่งดีแทคอาจทำให้ลูกค้า 3-4 ล้านรายที่อยู่บริเวณชายขอบไม่สามารถใช้งานได้ เพราะจำนวนสถานีฐานเอไอเอสมี 16,000 แห่งครอบคลุม 100% เทียบเท่ากับคลื่น 850 MHz ของทรูมูฟที่มีจำนวนสถานีฐานเท่ากัน ต่างกับดีแทคที่มีโครงข่ายไม่เยอะมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานข่าว ในวันจันทร์ที่ 14 มี.ค. จะมีการประชุมบอร์ด กทค.เพื่อรับรองมติออกใบอนุญาต 4G ให้แก่ ทียูซี ซึ่งตามเงื่อนไข เมื่อออกใบอนูญาตแล้ว คลื่น 900 เดิมที่ เอไอเอสให้บริการอยู่ต้องปิดระบบ ขณะเดียวกัน เอไอเอส จัดงานแถลงข่าว เวลา 09.30 น. ประกาศจุดยืน ลูกค้าต้องใช้งานได้ต่อเนื่อง และรวมพลังพนักงานในวันดังกล่าวเช่นกัน
http://www.naewna.com/business/206589

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.