Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กุมภาพันธ์ 2559 กสทช.ประวิทย์ ระบุ หากจะต้องมีการจัดการประมูล และเกิดความล่าช้า จะยิ่งทำให้มูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตกไป ขณะที่การนำคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ไปเปิดประมูลในปีเดียวกับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 2600 MHz ยิ่งจะส่งผลให้ราคาคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตกลงอย่างแน่นอน

ประเด็นหลัก




สำหรับผลกระทบต่อการไม่ชำระค่าประมูล 4G ดังกล่าว จะส่งผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งหาก กสทช.จะต้องจัดการประมูลใหม่ และทำให้การประมูลใหม่นั้นได้มูลค่าคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่าการประมูลในครั้งแรก สิ่งที่ กสทช.จะต้องดำเนินการคือ การฟ้องร้องต่อผู้ชนะการประมูลที่ไม่มาจ่ายค่าประมูลเพื่อชำระส่วนต่างที่รัฐสูญเสียไป รวมไปถึงค่าจัดการประมูลเช่นกัน ซึ่งหากจะต้องมีการจัดการประมูล และเกิดความล่าช้า จะยิ่งทำให้มูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตกไป ขณะที่การนำคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ไปเปิดประมูลในปีเดียวกับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 2600 MHz ยิ่งจะส่งผลให้ราคาคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตกลงอย่างแน่นอน




__________________________________________





กทค.ชี้ไม่มาจ่ายค่าคลื่น 900MHz มีแต่ “เจ๊ง” ไม่มี “เจ๊า”

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)

“เศรษฐพงค์” ยันหากบริษัทที่ชนะประมูลความถี่ 900 MHz ไม่มาชำระเงินต้องเจอมาตรการทาง กม.เข้มข้น พร้อมหารือในวง กทค.หากประมูลคลื่น 900MHz ใหม่ต้องยึดราคาเริ่มต้นประมูลคลื่นที่ 7.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ “หมอลี่” ชี้การประมูลใหม่ต้องให้จัดเร็วที่สุด หวั่นราคาตก เหตุมีคลื่นอื่นให้เลือก
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า การชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) ในเครือบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ในเครือบริษัท จัสมินอินเตอร์แนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ที่จะต้องชำระเงินประมูลดังกล่าวภายใน 90 วัน ในงวดแรก จำนวน 8,040 ล้านบาท พร้อมหนังสือรับรองทางการเงินจากสถาบันทางการเงิน (แบงก์ การันตี) เพื่อรับประกันส่วนที่เหลือภายในวันที่ 21 มีนาคม 2559 นั้น เนื่องจากการประมูล 4G เป็นประโยชน์ของรัฐไปแล้วนั้น ผู้ชนะการประมูลจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขการประมูล ซึ่งหากผู้ที่ชนะการประมูลไม่สามารถนำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระได้จะส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และจะต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขการประมูล
ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่มาชำระค่าประมูลจะถูกลงโทษตามกฎหมายในทุกช่องทาง ทั้งทางสังคม และทางธุรกิจ และคนไทยคาดหวังมาก หากไม่จ่ายบริษัทที่ชนะการประมูลจะเกิดความเสียหายหนักในทุกด้าน ขณะเดียวกัน จะส่งผลกระทบต่อใบอนุญาตภายใต้ กสทช.ประเภทอื่นๆ ตามมาเช่นกัน
ส่วนแนวทางที่ กสทช.จะกำหนดหลังจากนี้หากผู้ชนะการประมูลไม่ชำระเงินดังกล่าวก็จะต้องทำการเปิดประมูลใหม่ โดยจะนำราคาของผู้ชนะการประมูลครั้งล่าสุดมาเป็นราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 75,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกันใน กทค. ขณะเดียวกัน หากเริ่มราคาการประมูลที่ราคาขั้นต่ำกว่า 75,000 ล้านบาท ผู้ชนะการประมูลที่ไม่มาชำระจะต้องรับผิดชอบชำระส่วนต่างที่หายไป ซึ่งเป็นไปตามกฏหมาย และเงื่อนไขการประมูลที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายแล้วการตั้งราคา และเงื่อนไขการประมูล พระราชบัญญัติคุ้มครองให้ กสทช. มีอำนาจในการตั้งราคา ซึ่งหากผู้ประกอบการรายใดเห็นว่าไม่ยุติธรรมสำหรับราคาเริ่มต้นการประมูลที่จะเกิดขึ้นนั้นก็สามารถฟ้องตัวกฎหมายได้ แต่ไม่สามารถฟ้องร้องบุคคลได้ เนื่องจาก กสทช.ไม่ได้มีอำนาจในการบังคับผู้เข้าร่วมประมูลให้เข้าร่วมประมูล ซึ่งผู้เข้าร่วมประมูลเข้าร่วมการประมูลในแต่ละครั้งก็เป็นการประมูลครั้งนั้นไม่ขึ้นอยู่กับการประมูลอื่น ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ ซึ่งหากผู้ประกอบการรายใดคิดว่าเสียสิทธิที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
ด้านนายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงาน กสทช.อยู่ระหว่างจัดทำร่างเพื่อให้ กทค.ลงมติเห็นชอบเพื่อจัดทำราคาเริ่มต้นการประมูล 4G ที่ 75,000 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการแต่ละคนยังไม่ได้มีมติ แต่โดยส่วนตัวได้เสนอความเห็นในเรื่องราคาเริ่มต้นการประมูลโดยคิดจากราคาความต้องการของตลาด ซึ่งจะมาจากความต้องการของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) ทั้ง 4 ราย ที่ได้เสนอที่ทำการหยุดเคาะราคาที่ประมาณ 70,000 ล้านบาท โดยหากนำราคาที่ แจส มาเป็นราคาเริ่มต้นการประมูลจะมีความสุ่มเสี่ยงมาก เพราะอาจราคาที่โอเปอเรเตอร์ไม่มีความต้องการ และทำให้เกิดความไม่ต้องการคลื่นดังกล่าวได้
สำหรับผลกระทบต่อการไม่ชำระค่าประมูล 4G ดังกล่าว จะส่งผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งหาก กสทช.จะต้องจัดการประมูลใหม่ และทำให้การประมูลใหม่นั้นได้มูลค่าคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่าการประมูลในครั้งแรก สิ่งที่ กสทช.จะต้องดำเนินการคือ การฟ้องร้องต่อผู้ชนะการประมูลที่ไม่มาจ่ายค่าประมูลเพื่อชำระส่วนต่างที่รัฐสูญเสียไป รวมไปถึงค่าจัดการประมูลเช่นกัน ซึ่งหากจะต้องมีการจัดการประมูล และเกิดความล่าช้า จะยิ่งทำให้มูลค่าคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตกไป ขณะที่การนำคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ไปเปิดประมูลในปีเดียวกับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 2600 MHz ยิ่งจะส่งผลให้ราคาคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตกลงอย่างแน่นอน
“เราจะต้องยิ่งทำการประมูลให้เร็วขึ้น ซึ่งหากทำการประมูลล่าช้าจะทำให้เราไม่สามารถฟ้องร้องค่าเสียหายทางการประมูลได้ และทำให้ราคาคลื่น 900 MHz ยิ่งราคาตกไป เพราะความต้องการทางการตลาดมีคลื่นความถี่ย่านอื่นๆ ที่ กสทช.จะเปิดประมูลทำให้มีคลื่นความถี่ให้เลือกมากกว่า” นายแพทย์ประวิทย์ กล่าว


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000014183&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+10-2-59&utm_campaign=20160209_m129719119_MGR+Morning+Brief+10-2-59&utm_term=_E0_B8_81_E0_B8_97_E0_B8_84__E0_B8_8A_E0_B8_B5_E0_B9_89_E0_B9_84_E0_B8_A1_E0_B9_88_E0_B8_A1_E0_B8_B2

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.