Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กุมภาพันธ์ 2559 (บทความ) ทีโอที โผล่พ้นน้ำ ปี 61กำไร // สำหรับโครงการบรอดแบนด์ 3 หมื่นหมู่บ้าน งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทนั้นกระทรวงไอซีทีต้องการให้ลงเป็นไฟเบอร์ออปติกทั้งหมด ไม่ต้องการใช้คลื่น 2300 MHz เนื่องจากอนาคตจะนำโครงการนี้เข้าอินฟรา สตรัคเจอร์ ฟันด์

ประเด็นหลัก


*** บรอดแบนด์ทุกหมู่บ้าน
นอกจากนี้ทีโอทีจะมีรายได้ที่สำคัญมาจากธุรกิจบรอดแบนด์ โดยคาดว่าในปี 2559 จะมีลูกค้าบรอดแบนด์ 1.5-1.6 ล้านราย คิดเป็นรายได้มากกว่า 17,000 ล้านบาท โดยทีโอที มีแผนลงทุนบรอดแบนด์อีก 3 แสนพอร์ต ด้วยเงินลงทุนประมาณ 2,700 ล้านบาท และจะใช้คลื่น 2300 MHz ช่วยส่งสัญญาณไปยังพื้นที่ที่เข้าไปไม่ถึงและไม่คุ้มค่าหากจะลงทุนลากสายไฟเบอร์ออปติก ซึ่งโครงการนี้เป็นแผนของทีโอทีที่จะสร้างเองให้เสร็จภายในครึ่งปีแรก ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการบรอดแบนด์ 3 หมื่นหมู่บ้าน ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มอบหมายให้ทำ เนื่องจากอยู่ระหว่างการเจรจาร่วมกันกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ปัจจุบัน ทีโอที มีรายได้จากธุรกิจบรอดแบนด์เป็นสัดส่วนสูงสุดของรายได้ทั้งหมดของ ทีโอที โดยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 30%
สำหรับโครงการบรอดแบนด์ 3 หมื่นหมู่บ้าน งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทนั้นกระทรวงไอซีทีต้องการให้ลงเป็นไฟเบอร์ออปติกทั้งหมด ไม่ต้องการใช้คลื่น 2300 MHz เนื่องจากอนาคตจะนำโครงการนี้เข้าอินฟรา สตรัคเจอร์ ฟันด์ โดยเบื้องต้นทีโอที ต้องรีบทำในส่วนของตนเองให้เสร็จสิ้นโดยเร็วก่อนเพื่อไม่ให้งานโหลดเกินไป และพร้อมที่จะรับงานของกระทรวงไอซีที โดยโครงการทั้งหมดที่ทีโอทีจะทำในปี 2559 จะต้องมีการดำเนินการที่รวดเร็วและรอบคอบเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ โดยเชื่อว่าการดำเนินงานที่เป็นไปตามกรอบที่วางไว้จะทำให้ผลประกอบการของ ทีโอทีในปีถัดๆไป สามารถลดการขาดทุนและมีกำไรสุทธิในที่สุด





__________________________________________





ทีโอที โผล่พ้นน้ำ ปี 61กำไร(Cyber Weekend)


หลังสิ้นสุดสัญญาร่วมการงานคลื่นความถี่ 900 MHz ระหว่างทีโอที กับ เอไอเอส รายได้ก้อนโตที่มาจากส่วนแบ่งตามสัญญาที่หายไป รวมทั้งการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ที่ทำให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G ของทีโอที ล้มไม่เป็นท่า ทำให้หลายคนต่างจับตามองว่า ทางรอดของทีโอที คืออะไร จะสามารถพยุงบริษัทให้อยู่รอดได้หรือไม่ กับองค์กรที่มีบุคลากรจำนวนมาก ด้วยต้นทุนที่มากโข เรื่องนี้ 'มนต์ชัย หนูสง' กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที มีคำตอบที่พอจะลุ้นได้ว่าทีโอทีกำลังจะโผล่พ้นน้ำและมีกำไรได้ในปี 2561
'ปีนี้คงไม่ใช่ปีที่หวือหวาของทีโอที แต่เป็นปีที่เราต้องเอาตัวรอดทั้งในแง่ของการให้บริการของทีโอทีเอง และความรับผิดชอบที่ต้องทำงานให้กับภาครัฐ แต่เราเชื่อว่าทีโอทีต้องโผล่พ้นน้ำและพลิกกลับมามีกำไรภายในปี 2561 อย่างแน่นอน'
แล้วอะไรทำให้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที มั่นใจได้ขนาดนั้น !!!
*** ธุรกิจโมบายแสนล้าน
มนต์ชัย กล่าวว่า เริ่มจากยุทธศาสตร์ปีนี้ที่รายได้ในส่วนโมบายของทีโอทีจะเพิ่มจาก 400 ล้านบาท เป็นขั้นต่ำ 10,000 ล้านบาท จากการเป็นพันธมิตรกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส โดยทีโอทีคาดว่าจะเซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับ เอไอเอส ได้ภายไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้สุทธิให้ทีโอทีกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ใน 5 ปีแรกจากอายุสัญญา 10 ปีที่คาดว่าจะได้รับรายได้ตลอดอายุสัญญาจำนวนแสนล้านบาท โดยในวันที่ 3 ก.พ.ทีโอที ได้นำตัวสัญญาที่จะลงนามร่วมกับเอไอเอสเข้าสู่กรรมการพิจารณาด้านสัญญาเพื่อจะส่งเข้าสู่สำนักงานอัยการสูงสุดต่อไป
สำหรับรายได้ที่จะได้จากการเป็นพันธมิตรกับเอไอเอส ประกอบด้วย 1.การให้เช่าเสาโทรคมนาคมจำนวนประมาณ 12,000 กว่าแห่ง และโครงข่าย 2G คลื่น 900 MHz ซึ่งทีโอทีจะสามารถสร้างรายได้สุทธิปีละกว่า 5,000 ล้านบาทใน 5 ปีแรก และ 3,000 กว่าล้านบาทต่อปี ใน 10 ปีหลัง โดยเอไอเอสจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และ 2.การเป็นพันธมิตรธุรกิจโทรศัพท์มือถือคลื่น 2100 MHz โดยพันธมิตรจะลงทุนขยายโครงข่ายและเสนอซื้อความจุที่ 80% ซึ่งทีโอที จะสามารถสร้างรายได้สุทธิปีละเกือบ 4,000 ล้านบาทต่อปี และพันธมิตรเป็นผู้รับผิดชอบค่าบำรุงรักษาโครงข่ายประมาณ 600 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ในธุรกิจโทรศัพท์มือถือคลื่น 2100 MHz ความจุที่เหลือ 20% ทีโอที จะทำตลาดเองโดยคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ปีละกว่า 1,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ในส่วนของการเช่าเสาโทรคมนาคมอยู่ในขั้นตอนการทำสัญญา ซึ่งเอไอเอสจะถอนข้อพิพาทที่อยู่ในการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการเมื่อมีการลงนามในสัญญาแล้ว ดังนั้นจะทำให้รายได้ธุรกิจโมบายของทีโอทีจากเดิมที่มีรายได้ 400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นขั้นต่ำ 10,000 ล้านบาท
*** บรอดแบนด์ทุกหมู่บ้าน
นอกจากนี้ทีโอทีจะมีรายได้ที่สำคัญมาจากธุรกิจบรอดแบนด์ โดยคาดว่าในปี 2559 จะมีลูกค้าบรอดแบนด์ 1.5-1.6 ล้านราย คิดเป็นรายได้มากกว่า 17,000 ล้านบาท โดยทีโอที มีแผนลงทุนบรอดแบนด์อีก 3 แสนพอร์ต ด้วยเงินลงทุนประมาณ 2,700 ล้านบาท และจะใช้คลื่น 2300 MHz ช่วยส่งสัญญาณไปยังพื้นที่ที่เข้าไปไม่ถึงและไม่คุ้มค่าหากจะลงทุนลากสายไฟเบอร์ออปติก ซึ่งโครงการนี้เป็นแผนของทีโอทีที่จะสร้างเองให้เสร็จภายในครึ่งปีแรก ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการบรอดแบนด์ 3 หมื่นหมู่บ้าน ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มอบหมายให้ทำ เนื่องจากอยู่ระหว่างการเจรจาร่วมกันกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ปัจจุบัน ทีโอที มีรายได้จากธุรกิจบรอดแบนด์เป็นสัดส่วนสูงสุดของรายได้ทั้งหมดของ ทีโอที โดยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 30%
สำหรับโครงการบรอดแบนด์ 3 หมื่นหมู่บ้าน งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทนั้นกระทรวงไอซีทีต้องการให้ลงเป็นไฟเบอร์ออปติกทั้งหมด ไม่ต้องการใช้คลื่น 2300 MHz เนื่องจากอนาคตจะนำโครงการนี้เข้าอินฟรา สตรัคเจอร์ ฟันด์ โดยเบื้องต้นทีโอที ต้องรีบทำในส่วนของตนเองให้เสร็จสิ้นโดยเร็วก่อนเพื่อไม่ให้งานโหลดเกินไป และพร้อมที่จะรับงานของกระทรวงไอซีที โดยโครงการทั้งหมดที่ทีโอทีจะทำในปี 2559 จะต้องมีการดำเนินการที่รวดเร็วและรอบคอบเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ โดยเชื่อว่าการดำเนินงานที่เป็นไปตามกรอบที่วางไว้จะทำให้ผลประกอบการของ ทีโอทีในปีถัดๆไป สามารถลดการขาดทุนและมีกำไรสุทธิในที่สุด
*** ปรับโครงสร้างใหม่ มี.ค.นี้
มนต์ชัย กล่าวว่า จากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรไปเมื่อเดือน ม.ค. 2558 ตาม 6 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย 1.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม 2.โครงสร้างเสาโทรคมนาคม 3.บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำ 4.ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 5.ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่ และ 6.บริการไอที ,ไอดีซี และคลาวด์ นั้น ทำให้ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานได้ แต่ด้วยยุทธศาสตร์ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้ทีโอทีต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างอีกครั้งหนึ่งเป็น 3 กลุ่มงาน ได้แก่ 1.โครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที ประกอบด้วย ไฟเบอร์ออปติก ท่อร้อยสาย เสาโทรคมนาคม อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ และดาต้า เซ็นเตอร์ 2.บรอดแบนด์ และ 3.ไวร์เลส โมบาย ซึ่งทั้ง 6 กลุ่มธุรกิจก็ยังอยู่ในโครงสร้างใหม่นี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงรายละเอียดในการปรับโครงสร้างเล็กน้อย เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) คาดว่าจะสามารถใช้โครงสร้างใหม่ได้ภายในเดือนมี.ค.นี้
*** ปี 2558 ยังขาดทุน
สำหรับผลประกอบการปี 2558 ทีโอทีมีรายได้ 32,000 ล้านบาท ขาดทุนเบื้องต้น 5,000 กว่าล้านบาท น้อยกว่าเป้าหมายที่ประมาณไว้ถึง 52% หรือจากเดิมที่คาดว่าจะขาดทุน 11,000 ล้านบาท โดยผลประกอบการของทีโอที มี EBITDA (กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ,ภาษี ,ค่าเสื่อมราคา,ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย) ขาดทุนประมาณ 1,400 ล้านบาท ซึ่งติดลบน้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้เดิมที่คาดว่าจะขาดทุน 3,800 ล้านบาท หรือคิดเป็นติดลบน้อยกว่าคาดการณ์ 64% นอกจากนี้ ทีโอที ยังสามารถปรับลดค่าใช้จ่ายได้จากงบอนุมัติลงได้ประมาณ 17,000 ล้านบาท โดยปรับลดได้ถึง 26%
สำหรับเป้าหมายรายได้ปี 2559 คาดว่าจะอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท แต่จะยังคงมีรายจ่ายอยู่ประมาณ 60,000 ล้านบาท โดยต้นทุนส่วนใหญ่ของทีโอทีมาจากเงินเดือนพนักงาน ค่าเสื่อมโครงข่าย การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ทั่วไป ซึ่งบางตัวไม่มีอะไหล่แล้ว ทำให้ค่าซ่อมบำรุงสูงมาก ดังนั้นจึงทำให้ทีโอทีน่าจะขาดทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท แต่ในปี 2559 นี้ EBITDA ของทีโอทีจะพลิกมาเป็นบวกที่ 4,000 ล้านบาท ทำให้สถานะทางการเงินทางบัญชีดีขึ้นและในปี 2561 ที่จะถึง ทีโอทีจะพลิกผลประกอบการมีกำไรได้

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000012610&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+8-2-59&utm_campaign=20160207_m129684526_MGR+Morning+Brief+8-2-59&utm_term=_E0_B8_97_E0_B8_B5_E0_B9_82_E0_B8_AD_E0_B8_97_E0_B8_B5+_E0_B9_82_E0_B8_9C_E0_B8_A5_E0_B9_88_E0_B8_9E

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.