Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 กสทช. ชี้ ช่วงแรกจะเห็นการกำกับคอนเทนต์ด้านความมั่นคง แต่จากนี้จะกำกับเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้มงวดมากขึ้น และพยายามวางหลัก วางระบบไว้ เพื่อไม่ให้บอร์ดต้องตัดสินทุกเรื่องร้องเรียน

ประเด็นหลัก



ช่วงแรกจะเห็นการกำกับคอนเทนต์ด้านความมั่นคง แต่จากนี้จะกำกับเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้มงวดมากขึ้น และพยายามวางหลัก วางระบบไว้ เพื่อไม่ให้บอร์ดต้องตัดสินทุกเรื่องร้องเรียน แต่ให้มีกระบวนการในระดับสำนักงานจัดการได้ ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกระยะ เพราะช่องดาวเทียมเคเบิล มี 400 ช่องจากเดิม 7-800 ช่อง ก็ถือว่ายังเยอะ"




________________________________


"กสทช." ย้ำภารกิจปีลิงเข้มกำกับดูแล "สื่อสาร-บรอดแคสต์"


ภารกิจปีลิง "กสทช." เดินหน้าคุมเข้มกิจการบรอดแคสต์-โทรคมนาคม "กสท." นำร่องกำกับ MUX ขยายโครงข่ายดิจิทัลทีวีให้ครบ 90% มิ.ย.นี้ และเน้นบทบาทคุ้มครองผู้บริโภคทั้งเนื้อหารายการ และป้องกันการหลอกลวงประชาชนผ่านสื่อทีวีและวิทยุ ฝั่ง "กทค." ต่อยอดลงทะเบียนซิม ผุดแอปพลิเคชั่น "ตรวจ-แจ้ง-ล็อก" คุมเงินค้างในพรีเพด และพัฒนาระบบยืนยันตัวผู้ใช้ "ไวไฟ" ผ่านเบอร์มือถือ

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่างานสำคัญในกำกับดูแลกิจการบรอดแคสต์สำหรับปีนี้จะมีด้วยกัน 3 เรื่อง คือ 1.กำกับการขยายโครงข่ายทีวีดิจิทัล (MUX) ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดว่าจะต้องครอบคลุม 90% ของประชากรให้ได้ภายใน เดือน มิ.ย.นี้

2.เดินหน้าให้การเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลมีประโยชน์จริงกับประชาชน ทั้งการไหลของข้อมูลข่าวสาร และการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ส่วนการช่วยเหลือผู้ประกอบการช่องดิจิทัลทีวีจะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบ และ 3. การป้องกันการรบกวนวิทยุการบิน และวิทยุทดลองประกอบกิจการทั้ง 4,000 สถานี โดยต้องมีการตรวจสอบเครื่องส่งให้เป็นไปตามเกณฑ์ และมีการออกกติกาเพิ่มเพื่อให้กำกับทางเทคนิคได้ดีขึ้น เช่น มีการตรวจสอบเพิ่มในสถานีในเขตการบิน ได้แก่ บริเวณ 5 กิโลเมตรจากสนามบินมี 150-200 สถานี รวมถึงการสร้างกระบวนการพัฒนาช่างเทคนิคเพื่อตรวจสอบเครื่องส่งของแต่ละสถานีในขั้นตอนของการต่ออายุใบอนุญาต ซึ่งต้องทำทุกปี



"ปีนี้จะกำกับให้แต่ละด้านเดินตามกติกาเข้มข้นขึ้น อย่างปีที่ 2 ของทีวีดิจิทัลเริ่มเห็นปัญหาว่าเมื่อลงทุนคอนเทนต์ที่ดีไม่ได้ก็จะสร้างคอนเทนต์ที่ลงทุนน้อย แต่คนสนใจมาก เช่น พวกที่เปิดหน้าเปิดหลังเว้านั่นนี่ หรือการโฆษณาหารายได้ด้วยวิธีแปลก ๆ กสทช.ต้องกำกับคอนเทนต์ให้เหมาะสม และไม่ใช่แค่ทีวีดิจิทัล แต่รวมไปถึงวิทยุ และทีวีทั้งหมดด้วย ซึ่งเมื่อ 5 ปีก่อนถือว่า อลหม่านมาก ทุกคนจะทำอะไรก็ได้ เปิดช่องไว้ด่าคนก็มี แต่ปัจจุบันลดลงมาก

ช่วงแรกจะเห็นการกำกับคอนเทนต์ด้านความมั่นคง แต่จากนี้จะกำกับเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้มงวดมากขึ้น และพยายามวางหลัก วางระบบไว้ เพื่อไม่ให้บอร์ดต้องตัดสินทุกเรื่องร้องเรียน แต่ให้มีกระบวนการในระดับสำนักงานจัดการได้ ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกระยะ เพราะช่องดาวเทียมเคเบิล มี 400 ช่องจากเดิม 7-800 ช่อง ก็ถือว่ายังเยอะ"

ส่วนการออกใบอนุญาตประกอบกิจการช่องทีวีดิจิทัลใหม่ที่ยังไม่ได้จัดสรร ทั้งในหมวดบริการสาธารณะและบริการชุมชน คงต้องรออีกระยะเพื่อให้ช่องที่เปิดให้บริการเข้าที่เข้าทางก่อน และกรณีช่องบริการชุมชนต้องรอให้ยุติระบบทีวีแอนะล็อกทั้งหมดก่อน เพื่อนำคลื่นความถี่มาใช้ได้

"2 ช่องของบริษัทไทยทีวีที่จอดำอยู่ คาดว่าจะเข้าสู่กระบวนการเพิกถอนใบอนุญาตราวเดือน ก.พ.นี้ จากนั้นคงไม่มีการนำ 2 ช่องที่ว่างไปประมูลใหม่อย่างน้อย 1 ปี แต่อาจนำไปใช้ส่งเสริมโมบายทีวีก็ได้ จุดยืนของผมในฐานะ กสทช.คือต้องเข้าใจว่าหน้าที่ของ กสทช. คือทำให้ทุกคนมีโอกาสในการเข้าสู่ธุรกิจ แต่ไม่ได้การันตีว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ เพราะส่วนนี้เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการเอง ซึ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย"

หากบริษัทไทยทีวีต้องการขายกิจการโดยเปลี่ยนเจ้าของบริษัทที่เป็นผู้รับใบอนุญาตก็สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามกติกา และถูกต้องตามคุณสมบัติผู้ถือใบอนุญาตที่ระบุไว้ในกฎหมาย ซึ่งในกิจการบรอดแคสต์ระบุว่าต้องมีผู้หุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 และไม่ขัดกับหลักเกณฑ์การครอบงำกิจการ แต่เกณฑ์ครองสิทธิข้ามสื่อยังต้องใช้เวลาอีกระยะถึงจะมีประกาศออกมาชัดเจน เพราะเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาให้รอบด้าน ซึ่งปัจจุบันมองว่ายังไม่จำเป็น ทั้งเป็นกติกาที่ออกย้อนหลังได้ หากเห็นว่าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว เช่น มีคนไปกว้านซื้อช่อง 4-5 ช่อง แต่ถ้าตลาดยังเป็นแบบนี้ ทุกรายยังแข่งขันกันได้ไม่ได้ใครครอบงำใครก็ไม่จำเป็นต้องเอากฎครองสิทธิข้ามสื่อมา และตอนนี้เปิดช่องให้ขนาดนี้ก็ยังขายไม่ได้"

นายนทีกล่าวถึงปัญหาเรื่องเรียงลำดับช่องรายการโทรทัศน์ในทุกแพลตฟอร์มว่าแม้จะมีปัญหาฟ้องร้องแต่จำเป็นต้องดำเนินการ เพราะเป็นกติกาที่ออกมาตั้งแต่ปี 2555 และการลำดับช่องรายการไม่ใช่ทรัพยากรของผู้ประกอบการ แต่เป็นทรัพยากรของประชาชนทั้งการเปลี่ยนช่องไปมากระทบสิทธิของผู้บริโภคจึงจำเป็นต้องให้ทุกแพลตฟอร์มเรียงเลขให้เหมือนกัน

ขณะที่ฟรีทีวีทั้ง 24 ช่องได้สิทธิจากการประมูล คือสิทธิเลขช่อง ซึ่ง กสทช. ต้องการันตีสิทธินี้ให้ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า งานที่เร่งผลักดันให้สำเร็จในปีนี้ มี 4 เรื่อง คือ 1. ความร่วมมือกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดให้มี "ซิมการ์ด" โทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับคนพิการที่ต้องมีค่าบริการถูกกว่าปกติ และเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ผู้รับใบอนุญาตคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ที่เพิ่งประมูลไปเมื่อปลายปีที่แล้วต้องดำเนินการ

"คนพิการตามฐานข้อมูลของ พม. มีราว 2 ล้านคนทั่วประเทศ กสทช. กำลังทำระบบเพื่อให้เชื่อมต่อกันระหว่างฐานข้อมูลของ พม. กับโอเปอเรเตอร์ที่จะเช็กสิทธิได้ทันที ตามแนวคิดที่วางกรอบไว้คือ คนพิการที่อยู่ในระบบของ พม. จะเปลี่ยนแพ็กเกจมาใช้ราคาพิเศษที่กำหนดไว้ได้ทันที โดยค่ายมือถือต้องจัดให้มีทั้งค่าโทร. และโมบายดาต้าราคาถูก แต่ต้องมีระบบควบคุมให้ 1 คนใช้ได้ 1 สิทธิ์เท่านั้น คาดว่าจะเสร็จราว พ.ค.นี้"

และ 2.การพัฒนาแอปพลิเคชั่นต่อยอดจาก "2 แชะ" ระบบลงทะเบียนซิมให้เป็น "3 ชั้น" คือ ให้บริการ "ตรวจ-แจ้ง-ล็อก" เพื่อให้ประชาชนแต่ละคนใช้บัตรประชาชนตรวจสอบว่าบัตรดังกล่าวมีการลงทะเบียนยืนยันเป็นผู้ใช้เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่เบอร์ใดบ้าง หากพบว่ามีเบอร์ที่ตนไม่ได้ลงทะเบียนไว้ก็แจ้งยกเลิก และให้ล็อกว่า เลขบัตรนี้เป็นผู้ใช้เบอร์โทรศัพท์กี่เลขหมาย คาดว่าจะยกร่างข้อกำหนดทางเทคนิครวมถึงกำหนดวงเงินเพื่อให้เริ่มจัดซื้อจัดจ้างพัฒนาระบบได้ราว มิ.ย.นี้

3.หารือร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับการกำกับดูแล และออกใบอนุญาตดาวเทียมดวงใหม่ รวมถึงการดูแลการให้บริการอินเทอร์เน็ตให้มีความชัดเจน โดย กสทช. มีแนวคิดจะพัฒนาระบบลงทะเบียนยืนยันตัวบุคคลผู้ใช้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFi) ให้เป็นแบบ "single sign on" โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ยืนยันตัวบุคคลผู้ใช้งานแล้วสำหรับการเข้าใช้ระบบ WiFi ทุกที่ เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม

และ 4.ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำกับดูแลเงินค่าบริการที่ลูกค้าจ่ายล่วงหน้า (พรีเพด) เนื่องจากต่อไปจะมีผู้ให้บริการแบบเช่าโครงข่ายผู้อื่นมาให้บริการ หรือ MVNO มากขึ้น และมีแนวโน้มเป็นบริษัทขนาดเล็กจึงอาจมีผู้ใช้โอกาสนี้หลอกล่อให้ลูกค้าเติมเงินค่าบริการล่วงหน้ามาไว้ในระบบเป็นจำนวนมากแล้วนำเงินส่วนนี้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ จึงจำเป็นต้องเร่งกำกับดูแล

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1453349429

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.