Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 CAT เซ็ง!! “ศาลปกครอง” ชี้ไม่มีอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตฯ กรณีขอส่วนแบ่งดีแทคเพิ่ม และสิ่งที่ฟ้องมา CAT ทำถูกต้องแล้วตามมติครม.ฉบับเก่า

ประเด็นหลัก







________________________________


แคทวืด! “ศาลปกครอง” ชี้ไม่มีอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตฯ กรณีขอส่วนแบ่งดีแทคเพิ่ม

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2559 ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษายกฟ้อง ในคดีที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 4/2551 หมายเลขแดงที่ 51/2555 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 เนื่องจากศาลปกครองกลางเห็นว่า คำชี้ขาดดังกล่าวไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ศาลจะมีคำพิพากษาให้เพิกถอนได้
สำหรับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่ถูกนำมาร้องในคดีนี้เป็นกรณีที่แคทต้องการให้บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค) ชำระส่วนแบ่งรายได้ตามสัมปทานให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเติมจากที่ขาดหายไป ตามมติคณะรัฐมนตรี 28 ม.ค. 2546 และ 11 ก.พ. 2546 ที่อนุญาตให้คู่สัญญาสัมปทานหักภาษีสรรพสามิตออกจากผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาสัมปทานที่ต้องส่งให้แคทได้ จึงได้ยื่นเป็นข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการตามที่สัมปทานระบุวิธีการแก้ไขข้อพิพาทไว้
แต่เมื่อ 28 พฤษภาคม 2555 คณะอนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากมีคำวินิจฉัยโดยสรุปว่า แคท เป็นรัฐวิสาหกิจต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี แม้ว่าเมื่อ 23 ม.ค. 2550 ที่ประชุม ครม. มีมติให้ยกเลิกมติเดิมเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2546 และ 11 ก.พ. 2546 แล้ว แต่ก็หาได้มีผลทำให้การปฏิบัติตามมติครั้งก่อนกลายเป็นไม่ชอบได้ การปฎิบัติตามมติที่ผ่านมาของดีแทคย่อมถูกต้องมีผลผูกพันคู่สัญญาภาครัฐและ เอกชน จึงชี้ขาดให้ยกคำเสนอข้อพิพาทหรือคำเรียกร้องเสียทั้งหมด
ขณะ ที่ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 บัญญัติให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้ในกรณีดังนี้ 1. คู่พิพาทที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า (ก.) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถตามกฎหมาย (ข.) สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายแห่งประเทศที่คู่พิพาทได้ตกลงกัน ไว้ (ค.) ไม่มีการแจ้งให้คู่พิพาทฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนรู้ล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่ง ตั้งหรือพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ หรือไม่สามารถเข้าต่อสู้คดีได้ (ง.) คำชี้ขาดข้อพิพาทไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือเกินขอบเขตของ ข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาท (จ.)องค์ประกอบหรือกระบวนการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการไม่เป็นตามที่ตกลง
2. มีกรณีปรากฏต่อศาลว่า (ก.) คำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยการอนุญาโตตุลาการได้ ตามกฎหมาย (ข.) การยอมรับตามคำชี้ขาดจะขัดกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
โดย เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องของแคทในครั้งนี้แล้วศาลปกครองเห็นว่าไม่ เข้าข่ายที่ศาลจะมีคำพิพากษาให้ยกคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการได้

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1454074541

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.