Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 เบื้องต้น AIS คาดว่าลูกค้าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบนมือถือ หรือราว 10 ล้านราย จะใช้งาน 4G ภายในปีนี้ แต่ก็ถือเป็นจำนวนที่ไม่ได้คาดหวังมาก เพราะต้องขึ้นอยู่กับการเติบโตของดีไวซ์ด้วย เพราะปัจจุบันมีดีไวซ์ที่รองรับ 4G อยู่ในระบบราว 4 ล้านราย

ประเด็นหลัก


'เบื้องต้นเอไอเอสคาดว่าลูกค้าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบนมือถือ หรือราว 10 ล้านราย จะใช้งาน 4G ภายในปีนี้ แต่ก็ถือเป็นจำนวนที่ไม่ได้คาดหวังมาก เพราะต้องขึ้นอยู่กับการเติบโตของดีไวซ์ด้วย เพราะปัจจุบันมีดีไวซ์ที่รองรับ 4G อยู่ในระบบราว 4 ล้านราย'
ทั้งนี้ในส่วนของลูกค้าอีก 12 ล้านราย ที่ยังใช้งานเครือข่าย 900 MHz ปัจจุบันยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่ามีลูกค้าเหลืออยู่ในระบบเท่าไหร่ เพราะจะมีการประกาศผลประกอบการในปีที่ผ่านมากับทางตลาดหลักทรัพย์ฯในช่วงสิ้นเดือนมกราคม แต่เชื่อว่าเมื่อลูกค้าเกิดใช้งานไม่ได้ ส่วนใหญ่ก็จะมาติดต่อที่ศูนย์บริการ เพื่อเปลี่ยนเครื่องและใช้งานเครือข่ายต่อไป
ในส่วนของแพกเกจที่เป็น 4G ทางเอไอเอสได้เปลี่ยนรูปแบบจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไม่จำกัด (Unlimited) ออกไป และเปลี่ยนเป็นการให้ปริมาณความเร็วสูงสุดในการใช้งานที่ต่อเนื่องแทน และคาดว่าจะเป็นรูปแบบแพกเกจที่ได้รับความนิยมต่อไปในอนาคต และด้วยพฤติกรรมลูกค้าส่วนใหญ่ เมื่อใช้งานแพกเกจหลักหมดก็จะมีการสมัครแพกเกจเสริมต่อเพื่อให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างต่อเนื่อง





__________________________________________________









เปิดเกมรบ 'AIS 4G ADVANCED'(Cyber Weekend)



สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส
เปิดสนามรบโอเปอเรเตอร์ให้บริการ 4G LTE Advanced 'เอไอเอส' ประเดิมรายแรก คลุม 42 จังหวัด พร้อมขยายให้บริการทั่วประเทศภายในเดือนพฤษภาคม 2559 ชู 4 จุดเด่นหลักในแง่ของเครือข่าย แอปพลิเคชัน บริการ และบุคลากร ตอกย้ำการเป็นผู้ให้บริการรายแรกภายใต้การกำกับดูแลของกสทช. พร้อมเปิดตัวพาร์ทเนอร์หลักอย่างทีโอที ที่จะช่วยขยายบริการให้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
เอไอเอสพูดได้เต็มปากว่าเป็นผู้ให้บริการรายแรกภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เนื่องมาจากคลื่นที่เอไอเอสให้บริการในมือคือคลื่น 2100 MHz และ 1800 MHz ที่ประมูลได้ใบอนุญาตมาจากทางกสทช.
ขณะที่การให้บริการบนสัมปทานกับทางทีโอที บนคลื่น 900 MHz ก็ได้หมดสัญญาลงไปเมื่อเดือนกันยายน 2558 ที่ผ่านมา และทางเอไอเอสได้ดำเนินการโอนทรัพย์สินคืนให้แก่ทางทีโอทีแล้วเป็นมูลค่า 1.86 แสนล้านบาท ส่งผลให้ทีโอที สามารถนำอุปกรณ์ไปหารายได้เพิ่มเติมได้ ไม่นับรวมกับการนำจ่ายส่วนแบ่งรายได้ไม่ต่ำกว่า 2.2 แสนล้านบาท ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 25 ปีก่อนจะกลายมาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ
เมื่อสัญญาระหว่างเอไอเอส กับทีโอที ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนของการส่งให้ทางอัยการเข้ามาดูรายละเอียดสัญญา ที่เป็นไปตามขั้นตอนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ แต่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 แน่นอน ทำให้เอไอเอสสามารถนำคลื่น 2100 MHz ของทีโอทีมาให้บริการ 3G เสริมไปกับการให้บริการ 3G และ 4G บนใบอนุญาตจากทางกสทช.
สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ความสำเร็จตลอด 25 ปี และก้าวเข้าสู่ปีที่ 26 ของเอไอเอส จะไม่เกิดขึ้นถ้าปราศจากพันธมิตรที่ยิ่งใหญ่ อย่าง ทีโอที ทำให้กล้าพูดได้อย่างเต็มปาก และภาคภูมิใจว่าเอไอเอสเป็นพันธมิตรที่ดีของทีโอที

เปิดเกมรบ 'AIS 4G ADVANCED'(Cyber Weekend)
'หลังจากนี้เชื่อว่าความร่วมมือในการพัฒนาโครงข่ายบนคลื่น 2100 MHz ของทีโอทีจะช่วยให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการใช้งานโมบาย อินเทอร์เน็ตในยุค 4G ได้อย่างแน่นอน ขณะที่ลูกค้าของเอไอเอสก็จะได้ประสบการณ์ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้นด้วย'
ย้อนไปถึงการลงทุนตลอดช่วง 25 ปีที่ผ่านมาเอไอเอสได้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นเงินไม่น้อยกว่า 2.5 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ได้ส่งมอบต่อให้กับทางทีโอที เพื่อเป็นทรัพย์สินของหน่วยงานรัฐบาล ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างระบบโทรคมนาคมของประเทศชาติ
โดยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาเอไอเอส เพิ่งเริ่มให้บริการ 3G ซึ่งช้ากว่าคู่แข่ง แต่เมื่อได้ใบอนุญาตการให้บริการบนคลื่นความถี่ 2100 MHz ก็เริ่มติดตั้งสถานีฐาน 3G จนให้บริการได้ดีที่สุด และเร็วที่สุด จากกว่า 27,000 สถานีฐาน ซึ่งถือว่าครอบคลุมเทียบเท่า 13,000 สถานีฐาน บนคลื่น 900 MHz ไม่นับรวมงบลงทุน 3G เพิ่มอีก 2 หมื่นล้านบาทในปีนี้
ส่วนการเปิดให้บริการ 4G LTE บนเทคโนโลยี LTE Advanced ของเอไอเอส ก็ถือว่าเป็นการสร้างสถิติในการติดตั้ง และขยายพื้นที่ให้บริการครอบคลุมได้เร็วที่สุดอีกครั้ง เพราะนับจากวันที่ได้รับใบอนุญาตในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 จนถึงปัจจุบันได้ติดตั้งสถานีฐานไปแล้ว 7,000 สถานีฐาน ภายในระยะเวลา 60 วัน จากงบลงทุน 14,520 ล้านบาท
พร้อมกับวางเป้าหมายในการให้บริการ 4G LTE ครอบคลุมทั่วประเทศด้วยจำนวนสถานีฐาน 14,000 สถานีฐาน ภายในเดือนพฤษภาคม 2559 จากงบประมาณในการลงทุนเพิ่มอีก 2 หมื่นล้านบาท ที่กำลังจะเข้าเสนอคณะกรรมการในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในการนำมาลงทุนเครือข่ายเพิ่มเติม ไม่นับรวมกับการลงทุนด้านอื่นๆอีก ซึ่งจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
'เอไอเอสได้มีการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน หลังจากเปิดให้ทดลองใช้ 4G ในช่วงที่ผ่านมาพบว่าผู้บริโภคใช้ โมบาย อินเทอร์เน็ต เฉลี่ย 5 ชั่วโมงต่อวัน มีการรับชมคอนเทนต์วิดีโอไม่ต่ำ 10 ล้านวิดีโอ และอัปโหลดรูปไม่ต่ำกว่า 18 ล้านรูปต่อวัน ขณะที่ในเชิงธุรกิจมีการใช้งานเชื่อมต่อกว่า 9 แสนครั้งต่อวัน'
ถ้ามองถึงปริมาณการใช้งานเฉลี่ยของลูกค้าเอไอเอสที่ใช้งานโมบายดาต้าราว 20 ล้านรายในปัจจุบันทั้ง 3G และ 4G จะอยู่ที่ราว 1.2 GB ต่อเดือน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 2 GB ในช่วงปลายปี แต่ถ้านับเฉลี่ยเฉพาะลูกค้าที่ใช้งาน 4G ราว 4 ล้านราย จะอยู่ที่ 3-4 GB ต่อเดือน

เปิดเกมรบ 'AIS 4G ADVANCED'(Cyber Weekend)
'เบื้องต้นเอไอเอสคาดว่าลูกค้าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบนมือถือ หรือราว 10 ล้านราย จะใช้งาน 4G ภายในปีนี้ แต่ก็ถือเป็นจำนวนที่ไม่ได้คาดหวังมาก เพราะต้องขึ้นอยู่กับการเติบโตของดีไวซ์ด้วย เพราะปัจจุบันมีดีไวซ์ที่รองรับ 4G อยู่ในระบบราว 4 ล้านราย'
ทั้งนี้ในส่วนของลูกค้าอีก 12 ล้านราย ที่ยังใช้งานเครือข่าย 900 MHz ปัจจุบันยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่ามีลูกค้าเหลืออยู่ในระบบเท่าไหร่ เพราะจะมีการประกาศผลประกอบการในปีที่ผ่านมากับทางตลาดหลักทรัพย์ฯในช่วงสิ้นเดือนมกราคม แต่เชื่อว่าเมื่อลูกค้าเกิดใช้งานไม่ได้ ส่วนใหญ่ก็จะมาติดต่อที่ศูนย์บริการ เพื่อเปลี่ยนเครื่องและใช้งานเครือข่ายต่อไป
ในส่วนของแพกเกจที่เป็น 4G ทางเอไอเอสได้เปลี่ยนรูปแบบจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไม่จำกัด (Unlimited) ออกไป และเปลี่ยนเป็นการให้ปริมาณความเร็วสูงสุดในการใช้งานที่ต่อเนื่องแทน และคาดว่าจะเป็นรูปแบบแพกเกจที่ได้รับความนิยมต่อไปในอนาคต และด้วยพฤติกรรมลูกค้าส่วนใหญ่ เมื่อใช้งานแพกเกจหลักหมดก็จะมีการสมัครแพกเกจเสริมต่อเพื่อให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างต่อเนื่อง
'ลูกค้ามีสิทธิที่จะเลือกใช้งานแพกเกจเดิม หรือจะเปลี่ยนเป็นแพกเกจรูปแบบใหม่ก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งานเป็นหลัก ทางเอไอเอสจึงเน้นไปที่การนำเสนอแพกเกจที่หลากหลาย และครอบคลุมแทน เพราะในกลุ่มแพกเกจใหม่ก็จะมีรูปแบบของการใช้งานคนเดียว การใช้งานหลายอุปกรณ์ รวมถึงการใช้งานแบบแชร์แพกเกจในครอบครัวให้เลือกใช้ด้วย'
อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้หลังจากการเปิดให้บริการ 4G ก็คือในแง่ของคอนเทนต์ ทางเอไอเอส ได้มีการนำแอปพลิเคชันคอนเทนต์วิดีโอเดิม มารวมกันกลายเป็น AIS Play ขึ้นมาแทน เพื่อให้สิทธิพิเศษแก่ลูกค้าที่ใช้งาน 4G สามารถเข้าถึงคอนเทนต์ที่หลากหลายมากขึ้น จากการร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย ที่เข้ามาช่วยตอบโจทย์ในการใช้งาน
นอกจากนี้ ในแง่ของการให้บริการ และบุคลากรที่ถือเป็นจุดเด่นหลักของเอไอเอสตลอดมา ก็จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และต่อไปในอนาคตจะพัฒนาแอปพลิเคชันที่รวบรวมบริการต่างๆของเอไอเอสเข้าด้วยกัน ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการหลังการขายได้สะดวกมากขึ้นจากสมาร์ทโฟน
สิ่งต่างๆเหล่านี้คือแนวโน้มการให้บริการของพี่ใหญ่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอย่างเอไอเอส ที่นอกจากเน้นในเรื่องของเครือข่ายแล้ว ก็ไม่ทิ้งในแง่ของคอนเทนต์ บริการ และบุคลากรที่จะมาช่วยพัฒนาให้เครือข่ายโดยรวมมีประสิทธิภาพด้วย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาอันใกล้เชื่อว่าผู้ให้บริการอีก 2 ราย ต่างก็พร้อมเปิดให้บริการ LTE Advanced เช่นเดียวกัน เพราะต่างมีการถือคลื่นอยู่ในมือ เมื่อมีการแข่งขันเกิดขึ้นผู้บริโภคก็จะได้ประโยชน์สูงที่สุด
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000009663&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+1-2-59&utm_campaign=20160131_m129569642_MGR+Morning+Brief+1-2-59&utm_term=_E0_B9_80_E0_B8_9B_E0_B8_B4_E0_B8_94_E0_B9_80_E0_B8_81_E0_B8_A1_E0_B8_A3_E0_B8_9A+_27AIS+4G+ADVANCED

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.