Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 กสทช. ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินมีกว่า 80 ล้านเบอร์ หากเติมเงินซิมละ 50 บาท เท่ากับจะมีเงินที่เข้าไปอยู่ในซิมรวมทั้งสิ้นวันละ 400 ล้านบาท

ประเด็นหลัก


นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลระบบการชำระเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Payment) เนื่องจากการทำธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่าหน่วยงานใดจะเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคหากเกิดความเสียหายจากการใช้เงินที่อยู่ในซิมและชำระค่าสินค้าและบริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

และปัจจุบัน Mobile Payment ในประเทศไทยอยู่ภายในกรอบการดูแลของ ธปท. ภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 ซึ่งอยู่ในส่วนของบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด

โดยเน้นธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเงินของธนาคารพาณิชย์เป็นหลักแต่นวัตกรรมทางการเงินและการใช้ช่องทางของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการให้บริการมีรูปแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น เติมเงินในซิมโทรศัพท์เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ รวมทั้งเปลี่ยนจากเงินในซิมเป็นแต้มเพื่อแลกซื้อสินค้า ซึ่งแต่ละวันจะมีประชาชนเติมเงินในซิมโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนมาก

นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินมีกว่า 80 ล้านเบอร์ หากเติมเงินซิมละ 50 บาท เท่ากับจะมีเงินที่เข้าไปอยู่ในซิมรวมทั้งสิ้นวันละ 400 ล้านบาท ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคต จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปกับการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ธปท. และสำนักงาน กสทช. จึงหารือร่วมกันมาตลอด เพื่อเตรียมพร้อมในการออกกฎเกณฑ์กำกับดูแลร่วมกันของทั้งสองฝ่ายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นได้ในเร็ว ๆ นี้





________________________________


"กสทช."หารือแบงก์ชาติตั้งคณะทำงานดูแล"โมบายเปย์เม้นท์"

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลระบบการชำระเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Payment) เนื่องจากการทำธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่าหน่วยงานใดจะเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคหากเกิดความเสียหายจากการใช้เงินที่อยู่ในซิมและชำระค่าสินค้าและบริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

และปัจจุบัน Mobile Payment ในประเทศไทยอยู่ภายในกรอบการดูแลของ ธปท. ภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 ซึ่งอยู่ในส่วนของบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด

โดยเน้นธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเงินของธนาคารพาณิชย์เป็นหลักแต่นวัตกรรมทางการเงินและการใช้ช่องทางของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการให้บริการมีรูปแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น เติมเงินในซิมโทรศัพท์เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ รวมทั้งเปลี่ยนจากเงินในซิมเป็นแต้มเพื่อแลกซื้อสินค้า ซึ่งแต่ละวันจะมีประชาชนเติมเงินในซิมโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนมาก

นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินมีกว่า 80 ล้านเบอร์ หากเติมเงินซิมละ 50 บาท เท่ากับจะมีเงินที่เข้าไปอยู่ในซิมรวมทั้งสิ้นวันละ 400 ล้านบาท ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคต จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปกับการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ธปท. และสำนักงาน กสทช. จึงหารือร่วมกันมาตลอด เพื่อเตรียมพร้อมในการออกกฎเกณฑ์กำกับดูแลร่วมกันของทั้งสองฝ่ายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นได้ในเร็ว ๆ นี้

“ในอนาคตก็มีความเป็นได้ที่จะเห็นธนาคารพาณิชย์ และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แข่งขันให้บริการ Mobile Payment เพราะคนไม่ได้เติมเงินในมือถือเพื่อใช้โทรศัพท์อย่างเดียวอีกต่อไป การเติมเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจำนวนและความถี่ในการเติมเงินจะมีนัยยะสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันเข้ามาดูแลเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคนี่คือความปลอดภัยของผู้บริโภคที่สำนักงาน กสทช. กำลังสร้างขึ้น โดยเป็นการต่อยอดจากงานลงทะเบียนซิมซึ่งสามารถระบุตัวตนของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้แล้ว”

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1453439699

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.