Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 อมรภัทร ชมรัตน์ ชี้ คาดว่าปี 2560 ทุกอย่างจะเริ่มคลี่คลายขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากราคาโฆษณาของทีวีดิจิทัลจะขยับขึ้นเป็น 50,000-200,000 บาทต่อนาที ขณะที่ทีวีดาวเทียมอยู่ที่ 5,000 ถึง 20,000 บาทต่อนาที ขณะที่จำนวนช่องลดลง

ประเด็นหลัก




ขณะที่ "อมรภัทร ชมรัตน์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนกซ์สเตป จำกัด ผู้บริหารช่องสำรวจโลก มายไซน์ ของดี ประเทศไทย มิวสิคไลฟ์สไตล์ เรียลเมโทร และบุษบาคาเฟ่ ให้มุมมองว่า ช่องทีวีดาวเทียมมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากข้อมูลคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า มีกว่า 100 ช่องที่ไม่ต่อใบอนุญาต มาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ต้นทุนที่สูงขึ้น ราคาโฆษณาของทีวีดิจิทัลที่ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าช่องทีวีดาวเทียม ขณะที่การเข้าถึงผู้ชมก็ใกล้เคียงกับช่องทีวีดาวเทียม สุดท้าย คือ ปัจจัยจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ไม่เติบโต

อย่างไรก็ตาม คาดว่าปี 2560 ทุกอย่างจะเริ่มคลี่คลายขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากราคาโฆษณาของทีวีดิจิทัลจะขยับขึ้นเป็น 50,000-200,000 บาทต่อนาที ขณะที่ทีวีดาวเทียมอยู่ที่ 5,000 ถึง 20,000 บาทต่อนาที ขณะที่จำนวนช่องลดลง จึงเป็นโอกาสของทีวีดาวเทียม ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมทำได้ คือ การประคองตัว รักษาการเติบโตไว้ และรอโอกาส



สำหรับเนกซ์สเตป ปีนี้จะอยู่โฟกัสเฉพาะช่องเดิมที่มีอยู่ ควบคู่กับการลงทุนสร้างแพลตฟอร์มกล่องรับสัญญาณ"ฟรีวิว" และจะนำช่องของเนกซ์สเตปทั้งหมดมาออกอากาศเฉพาะที่กล่องฟรีวิวเท่านั้น เพื่อสร้างให้เป็นกล่องรับชมฟรีช่องคุณภาพ เน้นเจาะกลุ่มคนเมือง และตั้งเป้าจะขยายกล่องให้ได้ 500,000 กล่อง






_____________________________________________________




ทีวีดิจิทัลหั่นเรตโฆษณา ทุบช่องทีวีดาวเทียม

ลดจำนวนลงต่อเนื่อง สำหรับช่องทีวีดาวเทียม ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เมื่อจุดแข็ง คือ การเข้าถึงง่าย ถูกแทนที่ด้วยจำนวนช่อง "ทีวีดิจิทัล" ที่เกิดขึ้น ยังไม่นับการเข้าถึงคอนเทนต์ที่ง่ายขึ้นในปัจจุบันทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเลต ไม่ได้จำกัดอยู่แค่หน้าจอทีวีอีกต่อไป

ส่งผลให้ช่องทีวีดาวเทียมจำนวนหนึ่งต้องทยอยโบกมือลาวงการไป ส่วนช่องยังอยู่ได้และไม่ยอมแพ้ก็ต้องเร่งปรับตัว เพื่อสร้างแคแร็กเตอร์และจุดเด่นให้กับช่อง

ความเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้ภาพของ"ทีวีดาวเทียม" เริ่มอยู่ยาก โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว สินค้าลดงบฯ ขณะเดียวกัน "ทีวีดิจิทัล" หั่นราคาโฆษณาชนช่องดาวเทียม

"สยามรัศมิ์ เลาหสุขเกษม" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง จำกัด ผู้บริหารช่องเอ็ม ชาแนล, ทูนามิ และบูมเมอแรง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภาพรวมธุรกิจทีวีดาวเทียมจากนี้ไปจะเหนื่อยมากขึ้น โดยเฉพาะช่องขนาดกลาง หรือช่องที่เรตติ้งไม่ติด 1 ใน 10 ของทีวีดาวเทียม เนื่องจากต้นทุนของผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมสูงขึ้น ขณะที่ภาพรวมงบฯโฆษณาลดลง ประกอบกับราคาโฆษณาของช่องทีวีดิจิทัลก็มีอัตราที่ใกล้กับช่องดาวเทียม

สิ่งที่จะเกิดขึ้นปีนี้ คือ การปิดตัวของช่องที่ไม่แข็งแรง และช่องที่จะอยู่รอดได้ต้องเป็นช่องที่มีพันธมิตรด้านคอนเทนต์ที่แข็งแกร่ง หรือช่องที่ขายสินค้า เช่น ขายตรง โฮมช็อปปิ้ง เป็นต้น ซึ่งจะมีรายได้จากการขายสินค้า ไม่ได้มาจากโฆษณา อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมต้องปรับกลยุทธ์ ด้วยการเสริมทีมขายโฆษณาที่แข็งแกร่ง การหาลูกค้า (สินค้า) ประจำเพิ่มขึ้น รวมถึงบริหารจัดการต้นทุนภายใน ทั้งผลิตคอนเทนต์ ทีมงาน เพื่อลดต้นทุนให้มากที่สุดท่ามกลางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อ

"ช่วง 2-3 ปีก่อน ช่องทีวีดาวเทียมได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ปัจจุบันช่องดาวเทียมอยู่ในช่วงต่ำสุด ปัจจุบันมีทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้น จำนวนช่องมากขึ้น แต่อีก 3 ปีจากนี้ไป ผู้บริโภคอาจจะไม่รับชมทีวีแล้วก็ได้ แต่เสพคอนเทนต์ผ่านช่องทางอื่น ๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเลต เป็นต้น ดังนั้น ช่องทีวีดาวเทียมก็ต้องปรับตัวต่อเนื่อง และเร่งสร้างคอนเทนต์ให้โดดเด่น เพื่อแย่งชิงความสนใจผู้ชม"

ทิศทางปีนี้ บริษัทจะโฟกัส 3 ช่องที่มีเรตติ้งดี โดยช่องบูมเมอแรงมีเรตติ้งอันดับ 1 ของช่องทีวีดาวเทียม ช่องเอ็มชาแนลมีเรตติ้งอันดับ 2 และช่องทูนามิที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปลายปีก่อน มีเรตติ้งอันดับ 4 ส่วนช่องที่มีแผนจะเปิดเพิ่ม 1 ช่องในปีนี้ จะชะลอไปก่อน เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและอุตฯไม่เอื้อ

ขณะที่ "อมรภัทร ชมรัตน์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนกซ์สเตป จำกัด ผู้บริหารช่องสำรวจโลก มายไซน์ ของดี ประเทศไทย มิวสิคไลฟ์สไตล์ เรียลเมโทร และบุษบาคาเฟ่ ให้มุมมองว่า ช่องทีวีดาวเทียมมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากข้อมูลคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า มีกว่า 100 ช่องที่ไม่ต่อใบอนุญาต มาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ต้นทุนที่สูงขึ้น ราคาโฆษณาของทีวีดิจิทัลที่ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าช่องทีวีดาวเทียม ขณะที่การเข้าถึงผู้ชมก็ใกล้เคียงกับช่องทีวีดาวเทียม สุดท้าย คือ ปัจจัยจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ไม่เติบโต

อย่างไรก็ตาม คาดว่าปี 2560 ทุกอย่างจะเริ่มคลี่คลายขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากราคาโฆษณาของทีวีดิจิทัลจะขยับขึ้นเป็น 50,000-200,000 บาทต่อนาที ขณะที่ทีวีดาวเทียมอยู่ที่ 5,000 ถึง 20,000 บาทต่อนาที ขณะที่จำนวนช่องลดลง จึงเป็นโอกาสของทีวีดาวเทียม ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมทำได้ คือ การประคองตัว รักษาการเติบโตไว้ และรอโอกาส

สำหรับเนกซ์สเตป ปีนี้จะอยู่โฟกัสเฉพาะช่องเดิมที่มีอยู่ ควบคู่กับการลงทุนสร้างแพลตฟอร์มกล่องรับสัญญาณ"ฟรีวิว" และจะนำช่องของเนกซ์สเตปทั้งหมดมาออกอากาศเฉพาะที่กล่องฟรีวิวเท่านั้น เพื่อสร้างให้เป็นกล่องรับชมฟรีช่องคุณภาพ เน้นเจาะกลุ่มคนเมือง และตั้งเป้าจะขยายกล่องให้ได้ 500,000 กล่อง

สอดรับกับ "สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ล่าสุดตัดสินใจยุติการออกอากาศช่องเพลินทีวีลงชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เนื่องจากมองว่าเป็นช่วงที่ไม่เหมาะสม แม้ว่าโฆษณาและผู้ชมจะให้ผลการตอบรับเป็นอย่างดี แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจและปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ไม่เอื้อ ทำให้ปัจจุบันอาร์เอสเหลือช่องทีวีดาวเทียม 3 ช่อง คือ ช่องสบายดีทีวี ยูชาแนล และช่อง 2 ที่อยู่ระหว่างการปรับละครและกลยุทธ์ให้เหมาะกับสภาพตลาด

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการช่องทีวีดาวเทียมหลายช่องมีการประคองธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น ช่องมิราเคิล (กันตนา) ที่ใช้คอนเทนต์เก่าที่ผลิตให้ฟรีทีวีมาออกอากาศ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ขณะที่บริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด ได้ยุบทีวีดาวเทียมลง 1 ช่อง คือ มีเดียแชนแนล จากเดิมที่มี 2 ช่อง และสร้างช่องมีเดีย 84 ให้เป็นที่รู้จัก ภายใต้แนวคิด "คิดถึงละครดัง หนังเด็ดจากช่อง 7 ดูมีเดีย 84"

จากรายงานใช้งบฯโฆษณาปี 2558 จากบริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า การใช้งบฯโฆษณาผ่านสื่อทีวีมีทั้งสิ้น 84,511 ล้านบาท ประกอบด้วย ทีวีแอนะล็อก (ช่องเก่า) 57,526 ล้านบาท ลดลง 9.80% จากปีก่อน ทีวีดาวเทียม/เคเบิลทีวี 6,055 ล้านบาท ลดลง 16.27% จากปีก่อน และทีวีดิจิทัล (ช่องใหม่) 20,930 ล้านบาท โตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่า 8,581 ล้านบาท

การแข่งขันที่ร้อนแรงในสมรภูมิที่ดุเดือด...เพื่อช่วงชิงตลาดฐานคนดูและเม็ดเงินโฆษณาจึงระอุในทุกพื้นที่

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1453701187

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.