Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 (บทความ) คืนคลื่นวิทยุ 1 ปณ. สะท้อนผลงาน "กสทช." // ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง กสทช. เพื่อให้เป็นผู้จัดสรรคลื่น ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติ ไม่ใช่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถดึงคลื่นใดกลับมาได้เลย แม้แต่คลื่นของตัวเอง"

ประเด็นหลัก






"เวลาผ่านมา 45 เดือนแล้ว กสทช. ยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่แน่ชัดในการคืนคลื่นความถี่ใดเลย สะท้อนความล้มเหลวในการทำงานตามตัวชี้วัด ซึ่งการประวิงเวลาในการคืนคลื่นสำหรับกิจการกระจายเสียงที่อยู่ในมือของหน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจที่ตามแผนแม่บทกำหนดให้ต้องคืนภายใน 5 ปี หรือภายใน เม.ย. 2560 ทำให้ทรัพยากรที่ใช้ไปสำหรับกระบวนการพิจารณาความจำเป็น และเหตุผลในการถือครองคลื่น ทั้งการตั้งคณะอนุกรรมการ เบี้ยประชุม เวลาปฏิบัติงาน ถูกใช้ไปอย่างไร้ความหมาย ทั้งที่ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง กสทช. เพื่อให้เป็นผู้จัดสรรคลื่น ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติ ไม่ใช่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถดึงคลื่นใดกลับมาได้เลย แม้แต่คลื่นของตัวเอง"

การที่ กสทช. ถือครองคลื่นวิทยุ 1 ปณ.ไว้ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในฐานะที่เป็นองค์กรกำกับดูแล และตามอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ก็ไม่ได้กำหนดให้ต้องเป็นผู้ประกอบกิจการวิทยุด้วย แม้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยตีความในประเด็นนี้ว่า แม้จะขัดกับอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย แต่เมื่อได้รับโอนกิจการดังกล่าวมาด้วยผลทางกฎหมาย ก็ย่อมสามารถประกอบกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ.ได้ ไม่ถือว่าขัดกับอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แต่อย่างไรก็ดี สำนักงานต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน รวมถึงคำนึงถึงการจัดสรรคลื่นความถี่และการอนุญาตให้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง

"ดังนั้น สำนักงาน กสทช.จึงควรแสดงเจตจำนงในการคืนคลื่นความถี่ของ 1 ปณ. ทั้งหมดทันที และในระหว่างเตรียมความพร้อม สำนักงานควรดำเนินกิจการ 1 ปณ. ในรูปแบบของการบริการสาธารณะ โดยจัดรายการให้มีสัดส่วนของข่าวสารสาระไม่น้อยกว่า 70% ไม่มีการหารายได้จากโฆษณา เว้นแต่เป็นการประชาสัมพันธ์หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรไม่แสวงหากำไร"

อีกประเด็นที่ต้องจับตาคือ สำนักงาน กสทช.ยังทำสัญญาอนุญาตให้เอกชนร่วมจัดรายการทางสถานีวิทยุ 1 ปณ. ซึ่งเมื่อมีการตรวจสอบแล้วว่า ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในมาตรา 80 พ.ร.บ. กสทช. แทนที่จะยกเลิกแล้วกำหนดเวลาคืนคลื่นความถี่ พ.ร.บ.กำหนด ทางสำนักงานกลับให้แก้ไขสัญญาเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายแทน

และล่าสุดในกรณีของคลื่น 98.5 FMในเขตกรุงเทพฯ ยังทำสัญญาแบ่งเวลาให้เอกชนร้อยละ 40 ของช่วงเวลาพร้อมกับทำสัญญาจ้างผลิตรายการอีกร้อยละ 60 เท่ากับเป็นการยกเวลาให้เอกชนดำเนินการแทนทั้งหมด และเป็นการอ้างประกาศ กสทช. เรื่องการแบ่งเวลาให้ผู้อื่นดำเนินรายการ โดยผิดวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดความหลากหลายของรายการและเปิดให้ผู้รับใบอนุญาตรายเล็กมีพื้นที่

"หากจะอ้างตามประกาศนี้จำเป็นต้องตอบคำถามว่า เหตุใดจึงไม่มีการแบ่งเวลาให้ผู้ผลิตรายการรายอื่น ที่ยื่นความจำนงมาก่อนหน้านี้ อาทิ เครือข่ายสื่อเพื่อเด็กหรือไทยพีบีเอส ที่สำคัญคือ กสทช. มักอ้างว่า เรียกคืนคลื่นมาก่อนโดยที่ยังไม่ได้จัดสรรใหม่ก็เท่ากับเป็นการทิ้งคลื่นให้ว่างไม่ใช้ประโยชน์ แต่ถามว่า การที่ปล่อยเวลาผ่านไปทั้งที่แผนแม่บทกำหนดให้ทำให้เสร็จภายใน 2 ปี ทำให้การจัดสรรคลื่นความถี่ล่าช้าออกไป รวมถึงคลื่นที่ไม่มีผู้ใดใช้ประโยชน์อยู่ด้วย เพราะการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ก็ทำให้รัฐเสียประโยชน์เหมือนกัน"





_____________________________________________________




คืนคลื่นวิทยุ 1 ปณ. สะท้อนผลงาน "กสทช."



ภารกิจหนึ่งของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คือ การยกร่างแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ของประเทศ และจัดสรรคลื่นความถี่ให้เป็นไปตามแผน ผ่านไป 4 ปีแล้วกับการทำงาน โครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดผลรายงานผลการวิจัยและจัดเสวนาในหัวข้อ "บทบาท กสทช. ในการปฏิรูปคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียง : 4 ปีแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลว ?"

โดยเจาะลึกในประเด็นการดำเนินกิจการของวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. ซึ่งเป็นสถานีวิทยุ 11 แห่งที่อยู่ภายใต้การบริหารของสำนักงาน กสทช. ได้แก่ FM 106.5 MHz และ FM 98.5 MHz ในกรุงเทพฯ FM 102.0 MHz อุบลราชธานี FM 99.0 MHz อุดรธานี FM 89.0 MHz ภูเก็ต

AM 765 kHz ลำปาง AM 1089 kHz อุดรธานี AM 1035 kHz และ AM 1089 kHz หลักสี่ กรุงเทพฯ AM 1593 kHz บุรีรัมย์ และ AM 1089 kHz ตาก

"วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง" นักวิจัยประจำโครงการเปิดเผยว่า การดำเนินการของวิทยุ 1 ปณ. เป็นการสะท้อนความล่าช้าในการปฏิรูปคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงในภาพรวม เพราะ กสทช. ยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการคืนคลื่นความถี่ดังกล่าวตามที่ มาตรา 82 และ 83 พ.ร.บ. กสทช. พ.ศ. 2553 ระบุให้ กสทช. ต้องพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นในการถือครองคลื่นและกำหนดระยะเวลาที่หน่วยงานที่ครองคลื่นอยู่เดิมต้องคืนคลื่นความถี่มาจัดสรรใหม่ให้มีความเป็นธรรม ทั้งตามแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่และแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ซึ่ง กสทช.ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่ เม.ย. 2555 ยังกำหนดให้ กสทช. ต้องดำเนินการกำหนดระยะเวลาคืนคลื่นของหน่วยงานต่าง ๆ ให้เสร็จภายใน 2 ปี

"เวลาผ่านมา 45 เดือนแล้ว กสทช. ยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่แน่ชัดในการคืนคลื่นความถี่ใดเลย สะท้อนความล้มเหลวในการทำงานตามตัวชี้วัด ซึ่งการประวิงเวลาในการคืนคลื่นสำหรับกิจการกระจายเสียงที่อยู่ในมือของหน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจที่ตามแผนแม่บทกำหนดให้ต้องคืนภายใน 5 ปี หรือภายใน เม.ย. 2560 ทำให้ทรัพยากรที่ใช้ไปสำหรับกระบวนการพิจารณาความจำเป็น และเหตุผลในการถือครองคลื่น ทั้งการตั้งคณะอนุกรรมการ เบี้ยประชุม เวลาปฏิบัติงาน ถูกใช้ไปอย่างไร้ความหมาย ทั้งที่ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง กสทช. เพื่อให้เป็นผู้จัดสรรคลื่น ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติ ไม่ใช่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถดึงคลื่นใดกลับมาได้เลย แม้แต่คลื่นของตัวเอง"

การที่ กสทช. ถือครองคลื่นวิทยุ 1 ปณ.ไว้ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในฐานะที่เป็นองค์กรกำกับดูแล และตามอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ก็ไม่ได้กำหนดให้ต้องเป็นผู้ประกอบกิจการวิทยุด้วย แม้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยตีความในประเด็นนี้ว่า แม้จะขัดกับอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย แต่เมื่อได้รับโอนกิจการดังกล่าวมาด้วยผลทางกฎหมาย ก็ย่อมสามารถประกอบกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ.ได้ ไม่ถือว่าขัดกับอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แต่อย่างไรก็ดี สำนักงานต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน รวมถึงคำนึงถึงการจัดสรรคลื่นความถี่และการอนุญาตให้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง

"ดังนั้น สำนักงาน กสทช.จึงควรแสดงเจตจำนงในการคืนคลื่นความถี่ของ 1 ปณ. ทั้งหมดทันที และในระหว่างเตรียมความพร้อม สำนักงานควรดำเนินกิจการ 1 ปณ. ในรูปแบบของการบริการสาธารณะ โดยจัดรายการให้มีสัดส่วนของข่าวสารสาระไม่น้อยกว่า 70% ไม่มีการหารายได้จากโฆษณา เว้นแต่เป็นการประชาสัมพันธ์หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรไม่แสวงหากำไร"

อีกประเด็นที่ต้องจับตาคือ สำนักงาน กสทช.ยังทำสัญญาอนุญาตให้เอกชนร่วมจัดรายการทางสถานีวิทยุ 1 ปณ. ซึ่งเมื่อมีการตรวจสอบแล้วว่า ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในมาตรา 80 พ.ร.บ. กสทช. แทนที่จะยกเลิกแล้วกำหนดเวลาคืนคลื่นความถี่ พ.ร.บ.กำหนด ทางสำนักงานกลับให้แก้ไขสัญญาเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายแทน

และล่าสุดในกรณีของคลื่น 98.5 FMในเขตกรุงเทพฯ ยังทำสัญญาแบ่งเวลาให้เอกชนร้อยละ 40 ของช่วงเวลาพร้อมกับทำสัญญาจ้างผลิตรายการอีกร้อยละ 60 เท่ากับเป็นการยกเวลาให้เอกชนดำเนินการแทนทั้งหมด และเป็นการอ้างประกาศ กสทช. เรื่องการแบ่งเวลาให้ผู้อื่นดำเนินรายการ โดยผิดวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดความหลากหลายของรายการและเปิดให้ผู้รับใบอนุญาตรายเล็กมีพื้นที่

"หากจะอ้างตามประกาศนี้จำเป็นต้องตอบคำถามว่า เหตุใดจึงไม่มีการแบ่งเวลาให้ผู้ผลิตรายการรายอื่น ที่ยื่นความจำนงมาก่อนหน้านี้ อาทิ เครือข่ายสื่อเพื่อเด็กหรือไทยพีบีเอส ที่สำคัญคือ กสทช. มักอ้างว่า เรียกคืนคลื่นมาก่อนโดยที่ยังไม่ได้จัดสรรใหม่ก็เท่ากับเป็นการทิ้งคลื่นให้ว่างไม่ใช้ประโยชน์ แต่ถามว่า การที่ปล่อยเวลาผ่านไปทั้งที่แผนแม่บทกำหนดให้ทำให้เสร็จภายใน 2 ปี ทำให้การจัดสรรคลื่นความถี่ล่าช้าออกไป รวมถึงคลื่นที่ไม่มีผู้ใดใช้ประโยชน์อยู่ด้วย เพราะการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ก็ทำให้รัฐเสียประโยชน์เหมือนกัน"

ที่สำคัญคือ การดำเนินการกับวิทยุ 1 ปณ. ของ กสทช. กำลังจะทำให้หน่วยงานรัฐอื่น ๆ ที่ถือครองคลื่นอยู่โดยไม่ได้มีหน้าที่ต้องใช้คลื่นตามกฎหมาย หรือดึงคลื่นไว้เพื่อทำสัญญาให้เอกชนดำเนินการแทนทั้งหมด รวมถึงใช้คลื่นเพื่อให้บริการเชิงพาณิชย์ ทั้ง ๆ ที่หน่วยงานรัฐจะสามารถประกอบกิจการประเภทให้บริการสาธารณะได้เท่านั้น ยกขึ้นอ้างเป็นแบบอย่างได้ เพราะ กสทช.ก็ทำทั้งนั้น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1454573784

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.