Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มกราคม 2559 TOT วืดโครงการ USO กสทช. โครงการนี้ทีโอทีได้รับการปลดล็อกแล้วโดยเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2558 ที่ผ่านมา มีการนำเรื่องแผนงานเข้าที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ และคณะกรรมการบริษัททีโอที และเตรียมแต่งตั้งโครงสร้าง USO เพื่อดำเนินโครงการแล้ว แต่ติดปัญหาผู้บริหารในทีโอทีไม่มีความชัดเจนในการจัดตั้งสายงานดังกล่าว

ประเด็นหลัก


       แหล่งข่าวระดับสูงจากทีโอที กล่าวว่า โครงการนี้ทีโอทีได้รับการปลดล็อกแล้วโดยเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2558 ที่ผ่านมา มีการนำเรื่องแผนงานเข้าที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ และคณะกรรมการบริษัททีโอที และเตรียมแต่งตั้งโครงสร้าง USO เพื่อดำเนินโครงการแล้ว แต่ติดปัญหาผู้บริหารในทีโอทีไม่มีความชัดเจนในการจัดตั้งสายงานดังกล่าว จึงยังไม่มีการเสนอแผนงานต่อ กสทช.จนเรื่องเงียบไปในที่สุด ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการทีโอที เคยให้ข้อมูลว่า หลังจากคณะกรรมการทีโอทีอนุมัติการจัดตั้งโครงสร้างการทำงานก่อน จากนั้นจะต้องส่งเรื่องให้บอร์ดดีอีชั่วคราวพิจารณา หลังจากนั้น บอร์ดดังกล่าวจะต้องนำเสนอต่อ ครม.เพื่อพิจารณาต่อไป คาดว่าภายในเดือนมิถุนายน 2558 ทีโอทีจะสามารถลงนามได้ แต่สุดท้ายก็เงียบไปตามสายลม แสงแดด
     
       “เมื่อเกิดการเปลี่ยนตัวรองนายกฯ และ รมว.ไอซีที ทุกอย่างก็ต้องกลับมานับหนึ่งใหม่เท่ากับที่ผ่านมา เสียเวลาไปเปล่าๆ เป็นปี คงมีอีกหลายโครงการที่เกี่ยวข้องต่อดิจิตอล อีโคโนมี ที่ทีมเจ้าภาพถูกปรับออกไปเกือบหมดแล้วไม่รู้จะเดินหน้าได้หรือไม่ ทำงานทำนองนี้ก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเกียร์ว่างได้ไหม”






_________________________________________________




ทีโอทีวืดโครงการ USO กสทช.


        “อุตตม” เผยตั้งคณะทำงานร่วมกัน กสทช.ลดความซ้ำซ้อนวางโครงข่ายเน็ตทุกหมู่บ้าน ส่วนโครงการที่ทีโอทีชนะการประมูลอาจจะวืด หลัง กสทช.บอกโครงการยังไม่ปลดล็อกจาก คสช.
     
       เมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 13 ม.ค. นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที )ได้เข้าพบ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหารือเกี่ยวกับการติดตั้งโครงข่ายอินเทอร์เน็ตร่วมกันเพื่อให้แผนการทำงานสอดคล้องต่อแผนงาน โครงการติดตั้งโครงข่ายเพื่อให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ในโครงการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) ของ กสทช.
     
       นายอุตตม กล่าวว่า กระทรวงไอซีที มีโครงการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อให้สอดคล้องต่อนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของรัฐบาล ให้เข้าถึงทุกหมู่บ้าน ประมาณ 70,000 หมู่บ้าน ดังนั้น เพื่อไม่ให้การทำงานทับซ้อนกันกับ กสทช. ซึ่ง กสทช.เองก็มีแผนทำโครงการ USO อยู่แล้ว จึงต้องตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงไอซีที กับ กสทช.เพื่อทำงานร่วมกัน ส่วนโครงการ USO ที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ชนะการประมูลไปเมื่อปี 2557 มูลค่า 429 ล้านบาท เพื่อนำร่องในการติดตั้งอินเทอร์เน็ตใน 2 จังหวัด คือ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดหนองคาย โดยที่สมัยอดีต รมว.ไอซีที นายพรชัย รุจิประภา ได้นำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการเตรียมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอีชั่วคราว) เพื่อปลดล็อกคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่สั่งระงับโครงการให้ดำเนินการต่อได้นั้น ตนรับทราบข้อมูลจากทาง กสทช.ว่า เรื่องดังกล่าวยังไม่ได้รับการปลดล็อกเพราะยังไม่มีการเสนอต่อบอร์ดดีอีชั่วคราว เรื่องจึงยังค้างอยู่ และไม่มีการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังนั้น ตนเองจะเป็นผู้นำเรื่องเข้าสู่การประชุมบอร์ดดีอีชั่วคราว ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการประชุมได้ประมาณปลายเดือนมกราคม หรือประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2559
     
       พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กสทช.เปิดเผยว่า โครงการ USO ของ กสทช.จะต้องมีการปรับแผนแม่บทให้สอดคล้องต่อนโยบายของรัฐบาล ซึ่งแผนของ กสทช.จะต้องสอดคล้องต่อแผนของรัฐบาล โดยโครงการ USO เดิมของ กสทช.ที่ ทีโอที ชนะการประมูลแต่ถูกชะลอโครงการจาก คสช. ทำให้โครงการหยุดชะงักลง ดังนั้น เมื่อมีการปรับแผนให้สอดคล้องต่อนโยบายรัฐบาล กสทช.จึงจะต้องมีแนวทางปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการดำเนินงาน (ทีโออาร์) เนื่องจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา วงเงินประมูลจะต้องมีการปรับ หรือเพิ่มเป้าหมายจากเดิม
     
       ดังนั้น มีความเป็นไปได้ที่ กสทช.อาจจะต้องล้มโครงการเดิมเพื่อจัดประมูลใหม่ และต้องหารือกับทีโอทีว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทีโออาร์ แล้วลดจำนวนเงินลง และเพิ่มเป้าหมายการให้บริการมากขึ้นได้หรือไม่ หากทำไม่ได้ก็จะต้องทำการประมูลใหม่ และอาจจะไม่ดำเนินตาม 2 จังหวัดนำร่องเดิมก็เป็นไปได้
     
       ด้าน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า โครงการที่ทีโอทีชนะการประมูลก็ต้องมาดูกันใหม่ รวมถึงแผนที่ทีโอทีจะนำคลื่น 2300 MHz มาใช้ก็ยังต้องชะลอไปก่อน ซึ่งขณะนี้เงินในกองทุนฯ USO มีอยู่ประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการ USO มีแผนแม่บทที่ชัดเจน กสทช.จะใช้เงินในกองทุนฯ ที่กล่าวมานี้ แต่หากไม่เพียงพอก็จำเป็นที่จะต้องนำเงินที่มาจากการประมูลเพื่อดำเนินโครงการ USO ต่อไป
     
       แหล่งข่าวระดับสูงจากทีโอที กล่าวว่า โครงการนี้ทีโอทีได้รับการปลดล็อกแล้วโดยเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2558 ที่ผ่านมา มีการนำเรื่องแผนงานเข้าที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ และคณะกรรมการบริษัททีโอที และเตรียมแต่งตั้งโครงสร้าง USO เพื่อดำเนินโครงการแล้ว แต่ติดปัญหาผู้บริหารในทีโอทีไม่มีความชัดเจนในการจัดตั้งสายงานดังกล่าว จึงยังไม่มีการเสนอแผนงานต่อ กสทช.จนเรื่องเงียบไปในที่สุด ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการทีโอที เคยให้ข้อมูลว่า หลังจากคณะกรรมการทีโอทีอนุมัติการจัดตั้งโครงสร้างการทำงานก่อน จากนั้นจะต้องส่งเรื่องให้บอร์ดดีอีชั่วคราวพิจารณา หลังจากนั้น บอร์ดดังกล่าวจะต้องนำเสนอต่อ ครม.เพื่อพิจารณาต่อไป คาดว่าภายในเดือนมิถุนายน 2558 ทีโอทีจะสามารถลงนามได้ แต่สุดท้ายก็เงียบไปตามสายลม แสงแดด
     
       “เมื่อเกิดการเปลี่ยนตัวรองนายกฯ และ รมว.ไอซีที ทุกอย่างก็ต้องกลับมานับหนึ่งใหม่เท่ากับที่ผ่านมา เสียเวลาไปเปล่าๆ เป็นปี คงมีอีกหลายโครงการที่เกี่ยวข้องต่อดิจิตอล อีโคโนมี ที่ทีมเจ้าภาพถูกปรับออกไปเกือบหมดแล้วไม่รู้จะเดินหน้าได้หรือไม่ ทำงานทำนองนี้ก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเกียร์ว่างได้ไหม”


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000004764&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+15-1-59&utm_campaign=20160114_m129291304_MGR+Morning+Brief+15-1-59&utm_term=_E0_B8_97_E0_B8_B5_E0_B9_82_E0_B8_AD_E0_B8_97_E0_B8_B5_E0_B8_A7_E0_B8_B7_E0_B8_94_E0_B9_82_E0_B8_84_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.