Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มกราคม 2559 (บทความ) จากใจ ‘ซิคเว่’เบอร์หนึ่ง‘เทเลนอร์’ ย้ำชัดไม่มีทางถอนการลงทุนในไทย // DTAC ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเติบโตมากที่สุด มีอัตราการใช้มือถือ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่มีที่ไหนเป็นแบบนี้ ซึ่งจะนำประสบการณ์การใช้มือถือสูง ๆ ของเมืองไทยไปใช้ในประเทศอื่นด้วย ทั้งนี้สมัยก่อนทวีปยุโรปถือเป็นอันดับ 1 ในการพัฒนาเทคโนโลยี

ประเด็นหลัก



นายซิคเว่ บอกว่า จากที่ไปเยี่ยมบริษัทลูกในหลาย ๆ ประเทศนั้น มีหลายกระแสถามว่าจะเป็นการถอนตัวออกจากประเทศนั้นหรือไม่ และประเทศไทยก็เช่นกัน เพราะดีแทคแพ้การประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เทเลนอร์ ยืนยันว่าจะยังคงสนับสนุนดีแทคต่อไป อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของเทเลนอร์นั้น ทำตลาดมา 15 ปี มีลูกค้า 200 ล้านราย โดย 185 ล้าน มาจากบริษัทในเอเชีย ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเติบโตมากที่สุด มีอัตราการใช้มือถือ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่มีที่ไหนเป็นแบบนี้ ซึ่งจะนำประสบการณ์การใช้มือถือสูง ๆ ของเมืองไทยไปใช้ในประเทศอื่นด้วย ทั้งนี้สมัยก่อนทวีปยุโรปถือเป็นอันดับ 1 ในการพัฒนาเทคโนโลยี แต่ปัจจุบันเป็นเอเชียแทน โดยจะเห็นว่าบริษัทที่ผลิตเครื่องรองรับอย่างสมาร์ทโฟนมาจากฝั่งเอเชีย บริการที่ใช้ในมือถือที่คนนิยมคือการแชต เช่น แอพพลิเคชั่นไลน์ก็มาจากเอเชีย ดังนั้น เทเลนอร์จึงมองเอเชียเป็นอันดับต้นในการพัฒนาในเชิงดิจิตอล และอยากเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาดิจิตอล โดยกำลังติดตั้ง ดิจิตอลเซ็นเตอร์ที่สิงคโปร์ เพื่อให้บริการทางการแพทย์ สุขภาพ การศึกษา การเงิน เป็นต้น นายซิคเว่ กล่าวย้ำว่า ในส่วนของตลาดในไทยนั้น ไม่มีทางที่จะถอนการลงทุนอย่างแน่นอน เทเลนอร์จะสนับสนุนดีแทคเต็มที่ตามที่ดีแทคต้องการ ในส่วนของการที่ดีแทคไม่ชนะการประมูลคลื่นความถี่นั้น ตนรู้สึกประหลาดใจแต่ประหลาดใจในเรื่องของราคาที่สูง แต่ดีแทคก็คำนวณราคามูลค่าความถี่แล้ว และมองว่าในอนาคตประเทศไทยต้องเปิดประมูลคลื่นความถี่อีก สำหรับคลื่นความถี่ที่รัฐบาลจะเปิดประมูลประกอบด้วย คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ คลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะหมดสัญญาสัมปทาน คลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ 2300 เมกะเฮิรตซ์ และ 700 เมกะเฮิรตซ์ ที่ไม่ได้ใช้งาน ซึ่งเทเลนอร์จะสนับสนุนดีแทคให้เข้าประมูล และอยากให้รัฐบาลออกแผนที่ชัดเจนว่าจะนำคลื่นไหนออกมาจัดสรรได้อีกบ้าง นายซิคเว่ กล่าวว่า สำหรับการเรียกความมั่นใจลูกค้าหลังจากที่ดีแทคแพ้การประมูล 4จี นั้น เทเลนอร์จะให้เงินดีแทคขยายเน็ตเวิร์กเป็น ซูเปอร์สปีด 4จี ในหัวเมืองและจังหวัดใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ และขยาย 4จี คลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ครอบคลุมทั่วประเทศ





_________________________________________________




จากใจ ‘ซิคเว่’เบอร์หนึ่ง‘เทเลนอร์’ ย้ำชัดไม่มีทางถอนการลงทุนในไทย


„จากใจ ‘ซิคเว่’เบอร์หนึ่ง‘เทเลนอร์’ ย้ำชัดไม่มีทางถอนการลงทุนในไทย จากที่ไปเยี่ยมบริษัทลูกในหลาย ๆ ประเทศนั้น มีหลายกระแสถามว่าจะเป็นการถอนตัวออกจากประเทศนั้นหรือไม่ และประเทศไทยก็เช่นกัน เพราะดีแทคแพ้การประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ วันอังคารที่ 12 มกราคม 2559 เวลา 2:44 น. หลังคว้าน้ำเหลว แพ้การประมูลใบอนุญาต 4จี ทั้ง 2 คลื่น ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค จนก่อให้เกิดกระแสมองว่าจะทำให้ เทเลนอร์กรุ๊ป บริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายสำคัญจะถอนการลงทุนในไทยหรือไม่ เพื่อหันไปบุกเบิกตลาดใหม่ในพม่าหรือเมียนมา แทน เพื่อสยบข่าวลือดังกล่าว เบอร์ 1 ของกลุ่มเทเลนอร์ คือ นายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์กรุ๊ป ซึ่งเป็นอดีตซีอีโอของดีแทค และปั้นดีแทคมากับมือ จนรั้งเบอร์สองของตลาดโทรคมนาคมไทย ต้องบินด่วนออกมาเปิดใจกับสื่อมวลชนไทยถึงทิศทางต่อจากนี้ไปของเทเลนอร์และดีแทค บนถนนสายโทรคมนาคมของไทย นายซิคเว่ บอกว่า จากที่ไปเยี่ยมบริษัทลูกในหลาย ๆ ประเทศนั้น มีหลายกระแสถามว่าจะเป็นการถอนตัวออกจากประเทศนั้นหรือไม่ และประเทศไทยก็เช่นกัน เพราะดีแทคแพ้การประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เทเลนอร์ ยืนยันว่าจะยังคงสนับสนุนดีแทคต่อไป อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของเทเลนอร์นั้น ทำตลาดมา 15 ปี มีลูกค้า 200 ล้านราย โดย 185 ล้าน มาจากบริษัทในเอเชีย ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเติบโตมากที่สุด มีอัตราการใช้มือถือ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่มีที่ไหนเป็นแบบนี้ ซึ่งจะนำประสบการณ์การใช้มือถือสูง ๆ ของเมืองไทยไปใช้ในประเทศอื่นด้วย ทั้งนี้สมัยก่อนทวีปยุโรปถือเป็นอันดับ 1 ในการพัฒนาเทคโนโลยี แต่ปัจจุบันเป็นเอเชียแทน โดยจะเห็นว่าบริษัทที่ผลิตเครื่องรองรับอย่างสมาร์ทโฟนมาจากฝั่งเอเชีย บริการที่ใช้ในมือถือที่คนนิยมคือการแชต เช่น แอพพลิเคชั่นไลน์ก็มาจากเอเชีย ดังนั้น เทเลนอร์จึงมองเอเชียเป็นอันดับต้นในการพัฒนาในเชิงดิจิตอล และอยากเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาดิจิตอล โดยกำลังติดตั้ง ดิจิตอลเซ็นเตอร์ที่สิงคโปร์ เพื่อให้บริการทางการแพทย์ สุขภาพ การศึกษา การเงิน เป็นต้น นายซิคเว่ กล่าวย้ำว่า ในส่วนของตลาดในไทยนั้น ไม่มีทางที่จะถอนการลงทุนอย่างแน่นอน เทเลนอร์จะสนับสนุนดีแทคเต็มที่ตามที่ดีแทคต้องการ ในส่วนของการที่ดีแทคไม่ชนะการประมูลคลื่นความถี่นั้น ตนรู้สึกประหลาดใจแต่ประหลาดใจในเรื่องของราคาที่สูง แต่ดีแทคก็คำนวณราคามูลค่าความถี่แล้ว และมองว่าในอนาคตประเทศไทยต้องเปิดประมูลคลื่นความถี่อีก สำหรับคลื่นความถี่ที่รัฐบาลจะเปิดประมูลประกอบด้วย คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ คลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะหมดสัญญาสัมปทาน คลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ 2300 เมกะเฮิรตซ์ และ 700 เมกะเฮิรตซ์ ที่ไม่ได้ใช้งาน ซึ่งเทเลนอร์จะสนับสนุนดีแทคให้เข้าประมูล และอยากให้รัฐบาลออกแผนที่ชัดเจนว่าจะนำคลื่นไหนออกมาจัดสรรได้อีกบ้าง นายซิคเว่ กล่าวว่า สำหรับการเรียกความมั่นใจลูกค้าหลังจากที่ดีแทคแพ้การประมูล 4จี นั้น เทเลนอร์จะให้เงินดีแทคขยายเน็ตเวิร์กเป็น ซูเปอร์สปีด 4จี ในหัวเมืองและจังหวัดใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ และขยาย 4จี คลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าจำนวนลูกค้าสิ้นปีนี้ที่ 4.5 ล้านราย ด้วยงบลงทุนปีนี้หลายหมื่นล้านบาท สำหรับความชัดเจนในการนำคลื่นความถี่ที่ใกล้หมดสัมปทานและไม่ใช้งานมาจัดสรรใหม่นั้น ดีแทคค่อนข้างมั่นใจว่ารัฐบาลจะนำคลื่นมาจัดสรรใหม่ เพราะจากการจัดประมูล 4จี เมื่อปลายปีที่ผ่านมา เป็นการประมูลที่ยุติธรรม โปร่งใส และสามารถสร้างมูลค่าให้กับรัฐบาลมหาศาล นอกจากนี้ เทเลนอร์มองว่า หากรัฐบาลจัดประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะหมดสัมปทานปี 2561 จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ใบอนุญาต ซึ่งผู้ให้บริการบางรายอาจมีจำนวนคลื่นที่เพียงพอแล้ว และอาจติดในเรื่องของไฟแนนเชียล ซึ่งต่างจากดีแทคที่ไม่มีหนี้สินเพิ่มเติม ซึ่งโอกาสที่ดีแทคจะชนะการประมูลมีมาก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการแข่งขัน 4จี ต่อจากนี้นั้น มองว่าจะเกิดการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งดีแทคยังไม่มีนโยบายในเรื่องของการทำการตลาดด้านราคา แต่จะเน้นการลงทุนเน็ตเวิร์กเป็นหลัก ส่วนที่หลายคนมองว่าดีแทคเกรงกลัวคู่แข่งขันรายใหม่อย่าง บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ หรือไม่นั้น เทเลนอร์ยืนยันว่า ยินดีให้มีการแข่งขันในตลาด แต่ตลาดโทรคมนาคมไม่ใช่ตลาดที่ง่าย การเข้ามาใหม่ต้องสร้างแบรนด์ สร้างเน็ตเวิร์ก ไม่ใช่ว่าจะชนะกันง่าย ๆ สำหรับทิศทางโทรคมนาคมในไทยต่อจากนี้ มี 3 อย่าง คือ ปริมาณการใช้งานดาต้ามาก เพราะที่ผ่านมามีการเติบโตเกือบ 100% ต่อปีในทุกปี โดยเติบโตมาจากวิดีโอสตรีมมิ่งที่ใช้แบนด์วิดท์มาก 2. การพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ เพราะอายุการใช้งานของบริการที่อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตระยะสั้น อนาคตจะเกิดแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ และจะมาจากประเทศในเอเชีย เพราะเมืองไทยมีการใช้งานดาต้าสูง และไทยมีความคิดสร้างสรรค์ จึงจะได้เห็นคอนเทนต์จากสตาร์ตอัพไทย เช่น สุขภาพ การศึกษา จะเห็นดิจิตอลเซอร์วิสใน 3-4 ปีข้างหน้า 3.อินเทอร์เน็ตออฟติง จะเป็นการสื่อสารเครื่องคุยกับเครื่อง เราจะใช้อินเทอร์เน็ตคุยกันเอง เช่นการเปิด-ปิดประตู การเปิด-ปิดไฟ ให้ร้านค้าส่งของมายังตู้เย็น สัญญาณไฟจราจรอาจจะควบคุมโดยอินเทอร์เน็ต เพราะการเกิดขึ้นของการใช้บริการ 4จี ที่เพิ่มขึ้น การรับส่งสัญญาณที่เพิ่มขึ้นด้วย “ผู้ให้บริการทุกรายตอนนี้พูดถึงแต่ 4 จี การแข่งขัน 4 จี ต้องรุนแรงแน่ เราเห็นการเติบโตของลูกค้าที่ใช้เครื่อง 2 จี มาใช้ 4 จี จึงแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการใช้งานดาต้าเติบโตนำหน้าประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน” นายซิคเว่ กล่าว ด้านนายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคมีคลื่น 3 คลื่น ทั้ง 1800 เมกะเฮิรตซ์ 2100 เมกะเฮิรตซ์ และ 850 เมกะเฮิรตซ์ ถือว่ามากพอที่จะแข่งขันกับคู่แข่งแน่นอน และการที่ดีแทคไม่ต้องจ่ายเงินประมูลคลื่นความถี่ ถือว่าสามารถนำเงินมาทำตลาดในส่วนอื่นและใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย นับว่าเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในประเทศไทยได้มากขึ้นที่ เทเลนอร์กรุ๊ป ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ดีแทค เดินทางมาไทยเพื่อตอกย้ำและยังคงเดินหน้าการลงทุนเพื่อให้บริการในประเทศไทยต่อไป. กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/372407


http://www.dailynews.co.th/it/372407

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.