Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มกราคม 2559 กทค. มีมติ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2558 ให้สิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการหรือมาตรการเยียวยาฯ เมื่อมีการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ให้แก่ผู้ชนะการประมูลรายใดรายหนึ่งแล้วเสร็จ ซึ่งหมายความว่าหากมีผู้ชนะการประมูลรายใดชำระเงินประมูลและปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการก่อนรับใบอนุญาตอย่างครบถ้วนแล้วเสร็จ ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 90 วัน

ประเด็นหลัก



ก่อนหน้านี้ กทค. มีมติ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2558 ให้สิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการหรือมาตรการเยียวยาฯ เมื่อมีการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ให้แก่ผู้ชนะการประมูลรายใดรายหนึ่งแล้วเสร็จ ซึ่งหมายความว่าหากมีผู้ชนะการประมูลรายใดชำระเงินประมูลและปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการก่อนรับใบอนุญาตอย่างครบถ้วนแล้วเสร็จ ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 90 วัน นับจากวันที่ผู้ชนะการประมูลรับได้แจ้งผลการประมูล การคุ้มครองผู้ใช้บริการตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ก็จะถือเป็นอันสิ้นสุด และ เอไอเอส ไม่มีสิทธิใช้คลื่นย่านนี้เพื่อให้บริการอีกต่อไป





_________________________________________________




มือถือ “2G คลื่น 900” เตรียมชัตดาวน์ระบบหลังสัญญาสัญญาสัมปทานระหว่าง “เอไอเอส” กับ ทีโอที”สิ้นสุดไปเมื่อปีที่ผ่านมา เผยผู้ใช้ 12 ล้านเลขหมายมีสิทธิ์ “ซิมดับ” หากไม่รีบย้ายค่าย ด้าน “ทรูมูฟเอช-แจส โมบาย”จ่ายค่าไลเซ่นส์ให้กสทช.ก้อนแรก 15 ม.ค.นี้หลังคว้าใบอนุญาต 4G

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า หลังจาก กสทช.ประสบผลสำเร็จในการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เพื่อออกใบอนุญาต(ไลเซ่นส์) 4G โดยได้เงินจากการประมูล 2 ใบอนุญาตนี้กว่า 151,952 ล้านบาทนั้น ล่าสุดกสทช.ได้รับแจ้งจากบริษัท ทรูมูฟเอช และบริษัทแจส โมบาย บรอดแบรนด์ฯ จะเข้ามาจ่ายเงินค่าธรรมเนียมก้อนแรกจำนวน 8,080 ล้านบาท ในวันที่ 15 มกราคมนี้ พร้อมวางแบงก์การันตีเงินค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้กสทช.หนักใจก็คือ ตามเงื่อนไขประมูล 4G บนคลื่น 900 MHzครั้งนี้ กสทช.ได้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวผู้ใช้บริการบนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ (มาตรการเยียวยา) ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ซึ่งตามเงื่อนไขนั้นมาตรการเยียวดังกล่าวจะสิ้นสุดลงเมื่อได้ผู้ชนะประมูล และผู้ประมูลได้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมงวดแรกพร้อมวางแบงก์การันตีตามเงื่อนไขแนบท้ายเรียบร้อยแล้ว

“ปัญหาที่จะตามมาก็คือในขณะนี้ยังคงมีผู้ใช้บริการ 2G คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) อยู่อีกกว่า 12 ล้านเลขหมายที่อยู่ระหว่างการโอนย้ายไปยังเครือข่ายผู้ให้บริการอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการเหล่านี้จะอยู่ในชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลที่เครือข่ายอื่นๆ ยังเข้าไม่ถึง หากกสทช.ต้องดำเนินการไปตามเงื่อนไขการประมูล เมื่อผู้ชนะประมูลได้เข้ามาจ่ายเงินงวดก้อนแรกและวางแบงก์การันตีตามเงื่อนไขใบอนุญาตแล้ว กสทช.จะต้องยุติมาตรการเยียวยา หรือต้องปิดระบบ 2G ลงทันที (ชัตดาวน์) ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการ 12 ล้านเลขหมายเหล่านี้ได้รับความเดือดร้อนทันที เพราะจะไม่สามารถใช้บริการต่อไปได้หรือเกิดกรณีซิมดับนั่นเอง”

แหล่งข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ทางเอไอเอสได้ยื่นหนังสือขอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.)และกสทช.ได้พิจารณาขยายมาตรการเยียวยาตามประกาศ กสทช.ออกไปให้เป็นมาตรฐานเดียวกับมาตรการคุ้มครองชั่วคราวกรณีการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ที่มีการขยายมาตรการเยียวยามากว่า 2 ปี และเพื่อให้ผู้ใช้บริการที่ยังคงอยู่ในระบบเร่งดำเนินการโอนย้ายเครือข่ายก่อนซิมดับ หรือจนกว่าผู้ให้บริการรายใหม่จะเริ่มให้บริการได้ โดยในส่วนของบริษัทเองก็ได้จัดโปรโมชั่นแจกเครื่องฟรีให้ลูกค้าเก่าเหล่านี้ที่ประสงค์จะย้ายไปยังเครือข่ายและ 3G และ 4G แต่ขั้นตอนในการโอนย้ายเหล่านี้ก็ต้องกินเวลาไม่ต่ำกว่า 5-6 เดือนจากนี้ ซึ่งหากกสทช.ไม่พิจารณาขยายมาตรการเยียวยา ลูกค้ากลุ่มนี้ก็หมดสิทธิ์ย้ายค่ายโดยใช้เบอร์เดิมไปโดยอัตโนมัติ
เช่นกัน

จนถึงขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณใดๆ จากกสทช.ว่าจะพิจารณาขยายมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ 2G 900 ออกไปอีกหรือไม่ ซึ่งหากไม่ขยายมาตรการคุ้มครองหรือมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการทั้ง 12 ล้านเลขหมายนี้ที่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ใช้บริการที่อยู่ตามชนบท ในพื้นที่ห่างไกลที่เครือข่ายต่างๆ ยังเข้าไม่ถึง จะเกิดกรณีซิมดับทันที



http://www.naewna.com/business/196816

________________________________________________


มีรายงานจาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) แจ้งว่า บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส มีหนังสือถึงสำนักงาน กสทช. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลงวันที่ 4 ม.ค. 2559 ขอให้พิจารณากำหนดมาตรการให้การคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ให้สามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้สืบเนื่องจากสัญญาสัมปทานระบบ900MHz ที่บริษัททำไว้กับ บมจ.ทีโอทีสิ้นสุดแล้ว แต่ปัจจุบันมีลูกค้างอยู่ในระบบ หากมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลงจะส่งผลต่อผู้ใช้บริการ

“หนังสือฉบับดังกล่าวระบุว่า ปัจจุบันยังมีผู้ใช้บริการของบริษัท (End User) ที่ยังไม่ได้โอนย้ายเลขหมายออกจากระบบประมาณ 1 ล้านเลขหมาย และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่นที่ต้องใช้บริการเครือข่ายร่วม (Roaming) อีกประมาณ 10 ล้านเลขหมาย โดยผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้บริการที่อยู่ในพื้นที่ชนบทและใช้เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 2G หากประสงค์จะใช้เลขหมายเดิมก็จะต้องดำเนินการโอนย้ายเลขหมายไปยังผู้ให้บริการรายอื่น”

ก่อนหน้านี้ กทค. มีมติ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2558 ให้สิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการหรือมาตรการเยียวยาฯ เมื่อมีการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ให้แก่ผู้ชนะการประมูลรายใดรายหนึ่งแล้วเสร็จ ซึ่งหมายความว่าหากมีผู้ชนะการประมูลรายใดชำระเงินประมูลและปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการก่อนรับใบอนุญาตอย่างครบถ้วนแล้วเสร็จ ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 90 วัน นับจากวันที่ผู้ชนะการประมูลรับได้แจ้งผลการประมูล การคุ้มครองผู้ใช้บริการตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ก็จะถือเป็นอันสิ้นสุด และ เอไอเอส ไม่มีสิทธิใช้คลื่นย่านนี้เพื่อให้บริการอีกต่อไป

http://www.naewna.com/business/196991

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.