Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มกราคม 2559 TRUE ปัจจุบันลูกค้าที่ใช้บริการระบบ 4 จีอยู่ที่ 2.2 ล้านราย จากฐานลูกค้ารวมกว่า 20 ล้านราย และคาดว่าภายในปี 2559 ลูกค้า 4จีจะเพิ่มเป็นเท่าตัว หรือคิดเป็น 4 ล้านราย และมีลูกค้าที่อยู่ในระบบ 2จี 1 ล้านราย และมีแผนจะย้ายลูกค้าในระบบ 2จีที่มีอยู่ 1 ล้านรายไประบบ 4จีภายในปี 2559

ประเด็นหลัก




ขณะที่ นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหารกลุ่มทรูฯกล่าวถึงการชนะประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ หลังที่ก่อนหน้านี้ชนะการประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ไปแล้ว โดยยืนยันว่าจะสามารถให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4จีได้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ภายใต้คลี่นความถี่ย่าน 1800 และ 2100 จำนวน 30 เมกะเฮิรตซ์ โดยจะลงทุน 4จีในสถานีฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จีบนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะเป็นการใช้เสาเดียวกัน โดยการลงทุนคลื่น 1800 จะเป็นการลงทุนเพียงอุปกรณ์รับส่งสัญญาณหรือเสาอากาศ ซึ่งคาดว่าสิ้นปีจะติดตั้งเสาอากาศรับส่งสัญญาณคลื่น 1800 ประมาณ 5,000 แห่ง และครบ 10,000 แห่งใน 3 เดือนโดยปัจจุบันมีสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จีบนคลื่น 2.1 จำนวน 10,000 แห่ง

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันลูกค้าที่ใช้บริการระบบ 4 จีอยู่ที่ 2.2 ล้านราย จากฐานลูกค้ารวมกว่า 20 ล้านราย และคาดว่าภายในปี 2559 ลูกค้า 4จีจะเพิ่มเป็นเท่าตัว หรือคิดเป็น 4 ล้านราย และมีลูกค้าที่อยู่ในระบบ 2จี 1 ล้านราย และมีแผนจะย้ายลูกค้าในระบบ 2จีที่มีอยู่ 1 ล้านรายไประบบ 4จีภายในปี 2559



“สภาพการตลาดหลังจากนี้ เชื่อว่าจะมีการแข่งขันด้านราคาอย่างหนัก เพื่อหนีน้องใหม่ที่เข้าตลาดอย่างแจส โมบาย พร้อมขยายฐานลูกค้า 3จีและ4จีให้ได้มากที่สุด ด้วยการโหมโปรโมตว่าเป็นผู้นำด้านการให้บริการ 4จีรายแรกในไทย เพื่อหวังขึ้นเป็นเบอร์2 ในตลาดแทนที่รายเดิมให้ได้ ซึ่งเชื่อว่าภายในกลางปี2559 จะเริ่มเห็นการทำราคาเรื่องแพคเก็จที่ดุเดือดอีกครั้ง”นายศุภชัยกล่าว




__________________________________________________________






4 จีไม่เกินตัว

‘บิ๊กจัสมิน’เปิดแผนสู้

จนท.-อุปกรณ์พร้อม

ตั้งเป้าลูกค้าปีแรก2ล.

‘ทรู’ลุยชิงขยับเบอร์2

มีความเห็นจากหลายฝ่ายกรณีการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ใช้เวลากว่า 4 วัน 66 ชั่วโมง ถึงได้ข้อยุติ รวมมูลค่า 151,952 ล้านบาท โดยผู้ชนะการประมูลครั้งนี้ ในชุดที่ 1 คือ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ภายใต้กลุ่มบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และชุดที่ 2 คือ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด

โดย นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพล)เห็นว่า ผลการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้บริษัท ทรูมูฟ เอชฯเปลี่ยนจากผู้ให้บริการที่ความถี่ให้บริการ 2 ย่านความถี่มาเป็นคนที่มีแบนด์วิชให้บริการมากที่สุด ขณะที่บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่แม้ปัจจุบันอาจมีคลื่นความถี่ให้บริการมากเป็นลำดับต้นๆ แต่เมื่อพลาดการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ที่ผ่านมา จะเหลือคลื่นให้บริการหลังปี 2561 น้อยที่สุด จึงเป็นไปได้ที่ทรูมูฟจะมีศักยภาพให้บริการที่ดีกว่า และอาจแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดเปลี่ยนจากอันดับสามขึ้นมาเป็นอันดับสองแทนดีแทค ปัจจัยที่จะแปรผันในปีหน้าคือ การมี 3 ย่านความถี่ของทรูมูฟ เอช จะทำให้ทรูมูฟก้าวกระโดดไปสู่ผู้ให้บริการ LTE Advanced ที่หลอมรวมคลื่นหลายย่านความถี่มาให้บริการด้วยประสิทธิภาพสูงระดับความเร็ว 300 เมกกะบิตต์ต่อวินาที

นายสืบศักดิ์กล่าวต่อว่า ส่วนบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ต จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น (AWN) ในเครือเอไอเอส ที่เคยประกาศจะเป็นผู้ให้บริการ 4 จี ที่ดีที่สุดและเร็วที่สุด เมื่อไม่ได้คลื่นความถี่ เอดับบลิวเอ็นจะสามารถให้บริการ LTE Advanced ได้ในระดับความเร็ว 150 เมกะบิตต่อวินาที เอดับบลิวเอ็นอาจหาพันธมิตร ซึ่งเป็นไปได้ทั้ง ทีโอที จำกัด (มหาชน) และหรือผู้ให้บริการโทรคมรายใหม่

สำหรับดีแทค หลายฝ่ายอาจมองว่าดีแทคอยู่ในสถานะที่ลำบาก แต่ไม่มีใครรู้ได้ว่าเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 850 เมกะเฮิรตซ์ ในปี 2561 ดีแทคจะเหลือคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น ใน 3 ปีจากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้น สามปีจากนี้ไปดีแทคจะยังไม่ได้ไรับผลกระทบในทันที แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้ผู้ใช้งานบางส่วนกังวล ในส่วนนี้ดีแทคจึงต้องสร้างความมั่นใจและรักษาฐานลูกค้าไว้ให้ได้ ส่วนแจส โมบาย ที่เพิ่งได้ใบอนุญาตคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ตนเห็นว่าแจสมีจุดแข็งในการให้บริการ Fixed Broadband จึงน่าจะใช้จุดแข็งและฐานลูกค้าขยายบริการใหม่เป็น Moblie Boardband

นายสืบศักดิ์กล่าวอีกว่า การแข่งขันในปี 2559 จะได้เห็นการแข่งขันเพื่อรักษาการเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดของเอดับบลิวเอ็น และการแข่งขันเพื่อขึ้นมาเป็นเบอร์สองในตลาดของทรูมูฟ การรักษาฐานลูกค้าของดีแทค และการวางรากฐานของแจส โมบาย หากมองเผินๆผ่านจำนวนย่านความถี่ที่ผู้ให้บริการแต่ละรายถืออยู่ อาจเห็นข้อไปเปรียบเสียเปรียบด้วยตัวเลขรวมคลื่นความถี่ที่แต่ละคนมี แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไปแล้ว ไม่มีรายใดสบายเลย ทั้งรายใหญ่ที่ครองตลาดอย่างเอดับบลิวเอ็น ที่ต้องรักษาความเป็นหมายเลขหนึ่งต่อไป คนที่มีคลื่นความถี่หลายแบนด์อย่างทรูมูฟ ที่มีภาระทางการเงินที่ต้องดูแลมหาศาล รายใหม่อย่างแจสโมบายที่มีคลื่นในมือแล้ว แต่ต้องลงทุนอีกมาก เพื่อรองรับการให้บริการและรับมือกับต้นทุนที่ต้องจ่าย ขณะที่ดีแทคต้องรักษาฐานที่มั่นความเชื่อมั่นใจและฐานลูกค้า

“โอกาสยังเป็นของทรูมูฟที่จะเอาคลื่นในมือมาใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน จะแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากเบอร์หนึ่งได้หรือไม่ จะขึ้นมาเป็นเบอร์สองได้หรือไม่ ถ้าจะเห็นคนแข่งขันหนักๆ น่าจะเห็นเอดับบลิวเอ็นแข่งกับทรู ขณะที่ดีแทคต้องแข่งกับตัวเองรักษาฐานผู้ใช้ของตัวเองให้ได้ ส่วนแจสถึงไม่ได้ไปแข่งกับรายใหญ่แต่ต้องสร้างแบรนด์ของตัวเองให้บริการสถานีฐาน สร้างคุณภาพการให้บริการที่ต้องนับหนึ่งใหม่ สร้างความเชื่อถือให้ได้” นายสืบศักดิ์กล่าว

ด้าน นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า บริษัทพร้อมเปิดตัวธุรกิจโทรศัพท์มือถือในชื่อ โมบาย บรอดแบนด์ 4จี หรือ “เอ็มบีบี” โดยมองว่าบริษัทมีจุดแข็งคือ 1.ต้นทุนการบริหารงานที่ดีกว่าคนอื่น หมายความว่า กำไรก่อนหักภาษีค่าเสื่อม (อีบิทด้า มาร์จิ้น) อยู่ที่ 57% ถือว่าสูงที่สุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั้งหมด บริษัทสามารถรักษาอัตราค่าใช้จ่ายได้ดีหากเปิด 4จี ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ เนื่องจากบริษัทมีบุคลากรอยู่แล้ว 6,000 คน มีศูนย์บริการ 350 แห่งทั่วประเทศ

ส่วนการเช่าเสา สถานีฐาน ซึ่งถือเป็นต้นทุนใหญ่ นายพิชญ์กล่าวว่า บริษัทเริ่มคุยกับกองทุนทรูจีไอเอฟ และ ทีโอที ยังมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต (แจสไอเอฟ) ดังนั้น ยืนยันว่า 4จีไม่ใช่เรื่องเกินตัว แต่กลับมองว่าขณะนี้เราพร้อมมาก ค่าใช้จ่ายเราลดลงมาก ไม่เหมือนกับการลงทุนของรายอื่นๆ ในอดีตที่ให้บริการ 2จีอัพเกรดมาเป็น 3จี การที่เราเข้ามาไม่ได้เกินตัว เรามีเงินสดเหลืออยู่ มีวอร์แลนซ์ และเงินที่จะมาจากพันธมิตรในอนาคต และการมีเครดิตสามารถเปิดวงเงินกู้

นอกจากนี้ บริษัทมีเน็ตเวิร์ค โครงข่ายไฟเบอร์ออพติกยาว 1 คอร์กิโลเมตร รองรับการใช้งาน 4จีในอนาคต มีไว-ไฟฮอตสปอตประมาณ 100,000 จุดทั่วประเทศ ในจุดนี้ถือว่าเป็นบริการแบบไร้รอยต่อของเทคโนโลยี โดยตั้งเป้าปีแรกหลังเปิด 4จี น่าจะมีลูกค้าประมาณ 2 ล้านราย ทั้งนี้ ปัจจุบันธุรกิจฟิกซ์ บรอดแบนด์ภายใต้ 3บีบีมีอัตราเติบโตต่อเนื่อง และสิ้นปีนี้น่าจะทำได้ถึง 2 ล้านรายเช่นกัน

“การประมูล 4จีครั้งนี้ บริษัทมองว่าในอนาคตอีก 3-5 ปี รูปแบบการแข่งขันจะไม่ได้ให้บริการเพียงธุรกิจเดียว แต่ผู้เล่นหนึ่งรายจะขยายธุรกิจต่อยอดไปเรื่อยๆ เริ่มจากธุรกิจที่ตัวเองชำนาญ คนอื่นเริ่มจากโมบายแล้วขยายมาฟิกซ์ แต่เราเดินเกมสวนทางแบบทฤษฎีกลับหัว จากฟิกซ์ไปสู่ 4จีที่เป็นโมบาย”นายพิชญ์กล่าว

ขณะที่ นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหารกลุ่มทรูฯกล่าวถึงการชนะประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ หลังที่ก่อนหน้านี้ชนะการประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ไปแล้ว โดยยืนยันว่าจะสามารถให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4จีได้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ภายใต้คลี่นความถี่ย่าน 1800 และ 2100 จำนวน 30 เมกะเฮิรตซ์ โดยจะลงทุน 4จีในสถานีฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จีบนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะเป็นการใช้เสาเดียวกัน โดยการลงทุนคลื่น 1800 จะเป็นการลงทุนเพียงอุปกรณ์รับส่งสัญญาณหรือเสาอากาศ ซึ่งคาดว่าสิ้นปีจะติดตั้งเสาอากาศรับส่งสัญญาณคลื่น 1800 ประมาณ 5,000 แห่ง และครบ 10,000 แห่งใน 3 เดือนโดยปัจจุบันมีสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จีบนคลื่น 2.1 จำนวน 10,000 แห่ง

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันลูกค้าที่ใช้บริการระบบ 4 จีอยู่ที่ 2.2 ล้านราย จากฐานลูกค้ารวมกว่า 20 ล้านราย และคาดว่าภายในปี 2559 ลูกค้า 4จีจะเพิ่มเป็นเท่าตัว หรือคิดเป็น 4 ล้านราย และมีลูกค้าที่อยู่ในระบบ 2จี 1 ล้านราย และมีแผนจะย้ายลูกค้าในระบบ 2จีที่มีอยู่ 1 ล้านรายไประบบ 4จีภายในปี 2559



“สภาพการตลาดหลังจากนี้ เชื่อว่าจะมีการแข่งขันด้านราคาอย่างหนัก เพื่อหนีน้องใหม่ที่เข้าตลาดอย่างแจส โมบาย พร้อมขยายฐานลูกค้า 3จีและ4จีให้ได้มากที่สุด ด้วยการโหมโปรโมตว่าเป็นผู้นำด้านการให้บริการ 4จีรายแรกในไทย เพื่อหวังขึ้นเป็นเบอร์2 ในตลาดแทนที่รายเดิมให้ได้ ซึ่งเชื่อว่าภายในกลางปี2559 จะเริ่มเห็นการทำราคาเรื่องแพคเก็จที่ดุเดือดอีกครั้ง”นายศุภชัยกล่าว


http://www.naewna.com/business/193953

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.