Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 ธันวาคม 2558 'กฤษฎีกา'ชี้ขาดข้อกม. 'ทีโอที' ต้องคืนคลื่น 900 MHz หลังหมดสัญญา AIS ในวันที่ 30 ก.ย.2558 สิทธิตามกฎหมายของ บมจ.ทีโอที ในการใช้คลื่นความถี่สิ้นสุดลงตามข้อ 8.2.1 ของแผ่นแม่บทการบริหารคลื่ความถี่ฯ บมจ.ทีโอที จึงต้องคืนคลื่นความถี่ดังกล่าวให้แก่ กสทช.

ประเด็นหลัก




สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้เผยแพร่ความเห็นทางกฎหมายกรณีบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (บมจ.ทีโอที) ต้องการรับทราบความชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายในการถือครองคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz  หลังจากที่สัญญาอนุญาตระหว่าง บมจ.ทีโอที กับ เอเอสไอ สิ้นสุดลงในวันที่ 30 ก.ย.2558 และปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)อยู่ระหว่างการนำคลื่นความถี่ดังกล่าวออกประมูล เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2558 ที่ผ่านมา


ดังนั้น เมื่อสัญญาอนุญาต ระหว่างบมจ.ทีโอที กับเอไอเอส สิ้นสุดลง ในวันที่ 30 ก.ย.2558 สิทธิตามกฎหมายของ บมจ.ทีโอที ในการใช้คลื่นความถี่สิ้นสุดลงตามข้อ 8.2.1 ของแผ่นแม่บทการบริหารคลื่ความถี่ฯ บมจ.ทีโอที จึงต้องคืนคลื่นความถี่ดังกล่าวให้แก่ กสทช.เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผ่นแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ฯ นับแต่วันที่สัญญาอนุญาตสิ้นสุดลง



_____________________________________________________________________




'ทีโอที' ต้องคืนคลื่นหลังสัญญา AIS สิ้นสุด! กฤษฎีกาไฟเขียว กสทช.เปิดประมูลใหม่


'กฤษฎีกา'ชี้ขาดข้อกม. 'ทีโอที' ต้องคืนคลื่น 900 MHz หลังหมดสัญญาเอไอเอส  -ไฟเขียว กสทช.มีอำนาจเต็มเปิดประมูลจัดหาเอกชนรายใหม่ได้

pictot17 12 15

ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้เผยแพร่ความเห็นทางกฎหมายกรณีบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (บมจ.ทีโอที) ต้องการรับทราบความชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายในการถือครองคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz  หลังจากที่สัญญาอนุญาตระหว่าง บมจ.ทีโอที กับ เอเอสไอ สิ้นสุดลงในวันที่ 30 ก.ย.2558 และปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)อยู่ระหว่างการนำคลื่นความถี่ดังกล่าวออกประมูล เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2558 ที่ผ่านมา

โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 5 ) ได้มีความเห็นชี้ขาดว่า หลังจากสัญญาระหว่าง บมจ.ทีโอที กับ เอไอเอสสิ้นสุดลง  กสทช.มีอำนาจตามกฎหมายที่จะนำคลื่นความถี่ไปจัดสรรใหม่ได้

ทั้งนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 5 ) ได้พิจารณาข้อหารือดังกล่าว ของ บมจ.ทีโอที และมีความเห็นว่า การที่ กสทช. ออกประกาศ เรื่อง แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. 2555) แผ่นแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555-2559) และแผนแม่บทกิจการโคมนาคม ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555-2559) ลงวันที่ 3 เม.ย.2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารคลื่นความถี่ การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และการอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนการกำกับดูแลการประกอบกิจการดังกล่าว

ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ฯ ข้อ 8.2 มีการกำหนดยุทธศาสตร์การคืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ใว้ในข้อ 8.2.1 ว่า กรณีส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐที่นำคลื่นความถี่ไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดย กสทช.แล้ว ให้คืนคลื่นความถี่เมื่อสิ้นสุดอาุยการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้น

กรณีนี้จึงถือได้ว่า กสทช.ได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐที่ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่ และนำคลื่นความถี่ไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ทราบแล้วว่าจะต้องคืนคลื่นความถี่ดังกล่าวให้แก่กสทช. เมื่ออายุการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญานั้นสิ้นสุดลง

ดังนั้น เมื่อสัญญาอนุญาต ระหว่างบมจ.ทีโอที กับเอไอเอส สิ้นสุดลง ในวันที่ 30 ก.ย.2558 สิทธิตามกฎหมายของ บมจ.ทีโอที ในการใช้คลื่นความถี่สิ้นสุดลงตามข้อ 8.2.1 ของแผ่นแม่บทการบริหารคลื่ความถี่ฯ บมจ.ทีโอที จึงต้องคืนคลื่นความถี่ดังกล่าวให้แก่ กสทช.เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผ่นแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ฯ นับแต่วันที่สัญญาอนุญาตสิ้นสุดลง

(อ่านความเห็นทางกฎหมาย ฉบับเต็มที่นี่ http://web.krisdika.go.th/data/comment/comment2/2558/c2_1974_2558.tif)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อยู่ระหว่างการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2558 ที่ผ่านมา จนถึงเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2558 ก็ยังไม่แล้วเสร็จ

ล่าสุดมีผู้เข้าร่วมประมูลเคาะราคาถึง 90 รอบ ราคาประมูลรวม 2 ล็อตอยู่ที่ 85,298 ล้านบาท

http://www.isranews.org/เรื่องเด่น-สำนักข่าวอิศรา/item/43442-ืnews02_43442.html#.VnI36gDq98M.facebook

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.